คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 146

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกขัดแย้ง: ต้องตามคำพิพากษาศาลสูงกว่า แม้แบ่งไปแล้วก่อนหน้า
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ. มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งเป็นทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น 7 ส่วน แล้วให้ส. ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วนไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งเป็นทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรมมีสิทธิจัดการมรดกตามพินัยกรรมได้หากมีส่วนได้เสีย
ปัญหาว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้อง แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาล ส่วนผู้ร้องที่ 1 กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วย และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้ แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วย จึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคารผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้ พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคาร ห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่า ผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วม จึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน ที่ผู้ร้องฎีกาว่า หากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามาก เพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกัน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมาก ไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอจัดการมรดกซ้ำ และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน
ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องของผู้คัดค้านต่อศาลได้หรือไม่เป็นอำนาจฟ้องแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยกขึ้นคัดค้านไว้ในคำร้องคัดค้านของตนแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้ร้องจึงยกขึ้นฎีกาได้ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมตามคำสั่งศาลส่วนผู้ร้องที่1กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องที่2และที่3ว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาผู้ตายครึ่งหนึ่งรวมอยู่ด้วยและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องที่2และที่3แบ่งเงินฝากธนาคารตามพินัยกรรมให้แก่ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งเช่นนี้แสดงว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ครึ่งหนึ่งด้วยจึงมีสิทธิที่จะมาร้องขอจัดการมรดกในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกันกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนอกเหนือจากพินัยกรรมอีกได้ไม่เป็นการยื่นคำร้องขอจัดการมรดกซ้ำแต่อย่างใด คดีก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าพินัยกรรมของผู้ตายระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับเงินของผู้ตายที่ฝากธนาคารผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกลักษณะเฉพาะจึงมีสิทธิดีกว่าผู้คัดค้านในคดีนี้พิพากษากลับให้ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิจัดการแก่เงินฝากทั้งหมดของผู้ตายที่มีอยู่ในธนาคารห้ามผู้คัดค้านขัดขวางการจัดการมรดกในส่วนนี้ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาของจำเลยคดีถึงที่สุดแล้วซึ่งจะเห็นได้ว่าในคดีดังกล่าวไม่มีปัญหาวินิจฉัยเรื่องเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งว่าเป็นของผู้คัดค้านในคดีนี้ด้วยหรือไม่แต่ในคดีนี้ข้อเท็จจริงยุติโดยได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านคดีนี้มีสิทธิในเงินฝากธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาในคดีนี้ว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งและพิพากษาให้ผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งและพิพากษาให้ผู้คัดค้านเข้าจัดการมรดกร่วมจึงไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าหากให้ผู้คัดค้านมาจัดการมรดกผู้ตายร่วมกับผู้ร้องในคดีนี้แล้วจะทำให้การจัดการมรดกเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามากเพราะผู้คัดค้านจะคอยคัดค้านอยู่เสมอทั้งผู้คัดค้านและผู้ร้องอยู่คนละประเทศการจัดการมรดกของผู้ตายแต่ละครั้งจะต้องเดินทางไปพบกันเพื่อร่วมรับมรดกซึ่งเป็นการยุ่งยากที่จะหาเวลาว่างให้ตรงกันทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางจำนวนมากไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านจัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านของผู้ร้องจึงเป็นฎีกานอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม & ศาลฎีกาปฏิเสธรับวินิจฉัยฟ้องแย้งเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่ 24 มิถุนายน 2535 แต่ปรากฏว่าหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ฝ่ายละฉบับกลับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2535 เห็นได้ว่าเป็นสัญญาคนละฉบับกับที่ฟ้อง ฟ้องจึงเคลือบคลุมนั้น เมื่อจำเลยให้การมิได้อ้างเหตุนี้ว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมจำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน 200,000 บาท และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคแรก โดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ความผิดสัญญา, ฟ้องเคลือบคลุม, ข้อจำกัดการฎีกาในฟ้องแย้ง
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ฟ้องอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทลงวันที่24มิถุนายน2535แต่ปรากฎว่าหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นคู่ฉบับเก็บไว้ฝ่ายละฉบับกลับลงวันที่21มิถุนายน2535เห็นได้ว่าเป็นสัญญาคนละฉบับกับที่ฟ้องฟ้องจึงเคลือบคลุมนั้นเมื่อจำเลยให้การมิได้อ้างเหตุนี้ว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมจำเลยเพิ่มจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญานั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งเพราะทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกิน200,000บาทและคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวขัดกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อเป็นเช่นนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคแรกโดยถือตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857-2858/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, การตีราคาชำระหนี้, อายุความ, มูลหนี้เดียวกัน, คำพิพากษาขัดแย้ง
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 2 ฉบับ เป็นเช็คลงวันที่20 กุมภาพันธ์ 2532 และเช็คลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ครั้นเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อได้ความดังกล่าวถือได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าเครื่องประดับ คือ วันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็ค 2 ฉบับ มิใช่วันที่ซื้อขายหรือวันที่ส่งมอบเครื่องประดับ เพราะโจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็คได้
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: ศาลฎีกาพิพากษากลับ โจทก์ผิดสัญญา ต้องคืนค่าเช่าล่วงหน้าให้จำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระจากจำเลยจำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเช่าล่วงหน้าคืนศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าตามฟ้องและไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าของจำเลยเงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกคืนจากโจทก์และได้ฎีกาขึ้นมาแต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาของสองศาลชั้นต้นต้องถือผลตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น: สิทธิในการเรียกค่าเช่าและคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระจากจำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเช่าล่วงหน้าคืน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าตามฟ้องและไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าของจำเลย เงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกคืนจากโจทก์และได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาของสองศาลขัดกัน ต้องถือผลตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีไม่ถือเป็นการชำระหนี้ด้วยความสมัครใจ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แม้ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยจะได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นหาได้ชำระหนี้ด้วยความสมัครใจไม่ ดังนั้นคู่ความฝ่ายใดจะต้องรับผิดต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไรในชั้นที่สุดจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาและการชำระหนี้ตามหมายบังคับคดี: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบของคู่ความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ แม้ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยจะได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้น หาได้ชำระหนี้ด้วยความสมัครใจไม่ ดังนั้นคู่ความฝ่ายใดจะต้องรับผิดต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไรในชั้นที่สุดจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า
of 7