พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลงข้อความเท็จในเอกสารบริษัท, ผู้สนับสนุน, การนับโทษต่อคดีอื่น, และการใช้ดุลพินิจศาล
จำเลยที่ 2 นำหุ้นที่โจทก์เป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งไปเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ร่วมมือกับจำเลยที่ 3 โดยให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากจำเลยที่ 2 เป็นชื่อจำเลยที่ 3 ทั้งหมดจำนวน 255,000 หุ้น ซึ่งมีส่วนของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยไม่ปรากฏว่ามีการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง อันเป็นการทำเอกสารเท็จ จำเลยที่ 3 ซึ่งรับว่าเป็นสามีใหม่ของจำเลยที่ 2 เบิกความเจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ว่าเป็นผู้ดำเนินการจัดทำเอกสารเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทนำไปให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อที่เรือนจำ ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในวิสัยดำเนินการเองได้ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 ร่วมมือกับจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าว จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่โดยฐานะจำเลยที่ 3 มิใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ฐานลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัท ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 86
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้...(2) ลงข้อความเท็จหรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของ ฯ บริษัท" แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิดไว้ว่าต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท จึงจะลงโทษเป็นตัวการกระทำผิดได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้จะร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการได้ คงลงโทษจำเลยที่ 3 ได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานลงข้อความเท็จของบริษัท
พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท กระทำ หรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้...(2) ลงข้อความเท็จหรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของ ฯ บริษัท" แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิดไว้ว่าต้องเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท จึงจะลงโทษเป็นตัวการกระทำผิดได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้จะร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการได้ คงลงโทษจำเลยที่ 3 ได้เพียงฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานลงข้อความเท็จของบริษัท