พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำระงับผลเนื่องจากผู้จำนำเข้าใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน สัญญาโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพปรับราคาสินทรัพย์ได้
ที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การฟ้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เนื่องจากโจทก์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายบริษัท ท. โดยที่โจทก์มิได้มีสิทธิอื่นใดเหนือหลักประกันอันเป็นเครื่องจักร เนื่องจากการจำนำระงับไปแล้ว เพราะทรัพย์จำนำตกอยู่ในครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำซึ่งเป็นผู้แทนผู้จำนำ สาระที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็ให้การเกี่ยวกับเหตุผลของการจำนำที่ระงับไปแล้วตั้งแต่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ฉะนั้น ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายล้วนเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้อง ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก และข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองสามารถนำสืบพยานหลักฐานได้ตามประเด็นข้อพิพาท เช่นนี้ การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสองย่อมไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
ตามสัญญาจำนำเครื่องจักรและสัญญารักษาทรัพย์ ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพนำเครื่องจักรมาจำนำไว้แก่โจทก์โดยตกลงให้ ศ. ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้เป็นผู้เก็บรักษาเครื่องจักรที่จำนำไว้ที่โรงงานของลูกหนี้ โดย ศ. จะได้รับค่าตอบแทนการรักษาทรัพย์จำนำเพียงเดือนละ 100 บาท และยังมีข้อตกลงว่า ตลอดเวลาที่ทรัพย์จำนำอยู่ในความครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำ แม้ผู้จำนำจะได้ใช้สอยทรัพย์สินที่จำนำ ก็ไม่ถือว่าทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองของผู้จำนำ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่ให้ถือว่าเครื่องจักรกลับคืนสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตาม แต่เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย เพราะเจตนาอันแท้จริงของสัญญาจำนำดังกล่าวประสงค์ให้ลูกหนี้ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินที่จำนำ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่จำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 769 (2) สิทธิจำนำของโจทก์จึงระงับสิ้นไป โจทก์ไม่อาจบังคับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 764 ได้
ตามสัญญาจำนำเครื่องจักรและสัญญารักษาทรัพย์ ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพนำเครื่องจักรมาจำนำไว้แก่โจทก์โดยตกลงให้ ศ. ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้เป็นผู้เก็บรักษาเครื่องจักรที่จำนำไว้ที่โรงงานของลูกหนี้ โดย ศ. จะได้รับค่าตอบแทนการรักษาทรัพย์จำนำเพียงเดือนละ 100 บาท และยังมีข้อตกลงว่า ตลอดเวลาที่ทรัพย์จำนำอยู่ในความครอบครองของผู้รักษาทรัพย์จำนำ แม้ผู้จำนำจะได้ใช้สอยทรัพย์สินที่จำนำ ก็ไม่ถือว่าทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองของผู้จำนำ ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่ให้ถือว่าเครื่องจักรกลับคืนสู่การครอบครองของผู้จำนำก็ตาม แต่เป็นการเขียนสัญญาไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย เพราะเจตนาอันแท้จริงของสัญญาจำนำดังกล่าวประสงค์ให้ลูกหนี้ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอันเป็นทรัพย์สินที่จำนำ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนำเครื่องจักรยอมให้ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่จำนำย่อมเป็นการยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนไปสู่การครอบครองของผู้จำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 769 (2) สิทธิจำนำของโจทก์จึงระงับสิ้นไป โจทก์ไม่อาจบังคับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 764 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้จำนำทรัพย์สิน: เจ้าหนี้เลือกใช้สิทธิได้ทางเดียว (96(3) หรือ 95) และจำกัดความรับผิดตามสัญญาจำนำ
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 และฉบับลงวันที่ 5 เมษายน 2549 และหนี้ค่าประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนองซึ่งบริษัท ค. เป็นผู้กู้และผู้จำนอง ส่วนลูกหนี้ที่ 2 เป็นเพียงผู้จำนำใบหุ้นเลขที่ 58 - 59 ทะเบียนผู้ถือหุ้นเลขที่ 2850001 ถึง 2950000 จำนวน 100,000 หุ้น เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวต่อเจ้าหนี้เท่านั้น มิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นที่เมื่อบังคับจำนำได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระแล้วยังจะต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 767 วรรคสอง อีกทั้งตามข้อตกลงในสัญญาจำนำ ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว หรือหากบังคับจำนำแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกันและเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ภายในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) ได้ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้าย
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำตั๋วแลกเงินก่อนกำหนด การไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนครบกำหนดชำระ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ฮ. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์โดยมีสำเนาหนังสือมอบอำนาจแนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมี ป. และ จ. ร่วมกันลงลายมือชื่อเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์ จำเลยให้การเพียงว่าขณะยื่นฟ้องคดี ป. มิได้เป็นรองประธานธนาคารโจทก์และ จ. มิได้เป็นเลขานุการผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แล้ว จึงถือว่าจำเลยทั้งสองรับว่าบุคคลทั้งสองยังมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อยู่ในขณะที่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว และเมื่อในขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ยังมิได้มีหนังสือเพิกถอนการมอบอำนาจดังกล่าว การมอบอำนาจดังกล่าวจึงยังสมบูรณ์อยู่และใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้หากจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหรือเปลี่ยนตัวผู้มีอำนาจกระทำกิจการแทนโจทก์จาก ป. และ จ. ไปเป็นบุคคลอื่นภายหลังจากที่ทั้งสองคนลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้โดยชอบแล้ว ก็หาทำให้กิจการของโจทก์ที่ได้กระทำไปแล้วโดยบุคคลทั้งสองต้องเสียไป หรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด โจทก์ไม่จำต้องนำพยานหลักฐานมาสืบว่าขณะฟ้องคดีนี้บุคคลทั้งสองยังคงมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อยู่
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นการทำสัญญาและธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของโจทก์ตามฟ้องจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือไม่ แต่จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
จำเลยจำนำตั๋วแลกเงินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้รับจำนำโดยเป็นผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังและรับมอบตั๋วแลกเงินไว้ในครอบครอง ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 และ 766 นั้น เมื่อมีการสลักหลังเพื่อจำนำตั๋วแลกเงิน ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งสิ้น และผู้รับจำนำตั๋วแลกเงินก็มีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วนั้นในวันถึงกำหนดได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ถึงกำหนดนำเงินมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำแก่จำเลยที่ 1 ก่อน
ในกรณีจำนำทรัพย์สินตามปกติทั่วไปนั้น หากผู้รับจำนำจะบังคับจำนำก็ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนำจึงชอบที่จะนำทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายทอดตลาดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยหากมีการตกลงให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 756 และแม้เฉพาะในกรณีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่ผู้จำนำนำมาจำนำเป็นประกันหนี้นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนำก่อนก็ตาม แต่ก็ต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินในวันถึงกำหนดชำระเงินด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 766 การที่โจทก์ใช้วิธีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่รับจำนำไว้ดังกล่าวโดยการนำไปไถ่ถอนก่อนครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทั้งการไถ่ถอนหรือขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วนี้ ผู้จ่ายก็ชอบที่จะไม่จ่ายเงินได้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนดชำระ แต่กรณีนี้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นยอมจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่โจทก์ โดยมีการหักลดเงินตามตั๋วไว้ ทำให้ผู้จ่ายเงินได้ประโยชน์จากส่วนลดนั้น ขณะที่โจทก์ก็ได้ประโยชน์ได้รับเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 กลับเป็นฝ่ายต้องเสียประโยชน์จากการที่มีการนำเงินที่ได้จากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดน้อยกว่าจำนวนเงินตามตั๋วซึ่งนำไปหักชำระหนี้ได้น้อยลง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำอันมิชอบของโจทก์ดังกล่าว จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินส่วนที่ขาดไปนั้น หรือคิดหักชำระหนี้เสียให้ถูกต้องได้
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นการทำสัญญาและธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของโจทก์ตามฟ้องจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตดังกล่าวหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวขัดต่อกฎหมายหรือไม่ แต่จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
จำเลยจำนำตั๋วแลกเงินเป็นประกันหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้รับจำนำโดยเป็นผู้ทรงที่ได้รับสลักหลังและรับมอบตั๋วแลกเงินไว้ในครอบครอง ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 และ 766 นั้น เมื่อมีการสลักหลังเพื่อจำนำตั๋วแลกเงิน ผู้ทรงย่อมใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋วนั้นได้ทั้งสิ้น และผู้รับจำนำตั๋วแลกเงินก็มีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วนั้นในวันถึงกำหนดได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ถึงกำหนดนำเงินมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวบังคับจำนำแก่จำเลยที่ 1 ก่อน
ในกรณีจำนำทรัพย์สินตามปกติทั่วไปนั้น หากผู้รับจำนำจะบังคับจำนำก็ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ในเวลาอันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวผู้รับจำนำจึงชอบที่จะนำทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายทอดตลาดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยหากมีการตกลงให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงเช่นนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 756 และแม้เฉพาะในกรณีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่ผู้จำนำนำมาจำนำเป็นประกันหนี้นั้น ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนำก่อนก็ตาม แต่ก็ต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินในวันถึงกำหนดชำระเงินด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 766 การที่โจทก์ใช้วิธีการบังคับชำระหนี้จากตั๋วแลกเงินที่รับจำนำไว้ดังกล่าวโดยการนำไปไถ่ถอนก่อนครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ทั้งการไถ่ถอนหรือขอรับเงินตามตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วนี้ ผู้จ่ายก็ชอบที่จะไม่จ่ายเงินได้จนกว่าจะถึงวันครบกำหนดชำระ แต่กรณีนี้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นยอมจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่โจทก์ โดยมีการหักลดเงินตามตั๋วไว้ ทำให้ผู้จ่ายเงินได้ประโยชน์จากส่วนลดนั้น ขณะที่โจทก์ก็ได้ประโยชน์ได้รับเงินมาชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 กลับเป็นฝ่ายต้องเสียประโยชน์จากการที่มีการนำเงินที่ได้จากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนวันครบกำหนดน้อยกว่าจำนวนเงินตามตั๋วซึ่งนำไปหักชำระหนี้ได้น้อยลง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำอันมิชอบของโจทก์ดังกล่าว จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ใช้เงินส่วนที่ขาดไปนั้น หรือคิดหักชำระหนี้เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9465/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนำและการใช้สิทธิโดยสุจริต กรณีจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้
การจำนำมิได้ผูกพันผู้รับจำนำให้ต้องบังคับจำนำเฉพาะแต่ทางเดียว ผู้รับจำนำอาจใช้สิทธิบังคับผู้จำนำอย่างหนี้สามัญโดยสละบุริมสิทธิที่ผู้รับจำนำมีเหนือทรัพย์สินที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ในสัญญากู้เงินกำหนดว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับการกู้ยืมเงินที่โจทก์ได้มีประกาศตามนัยแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในสัญญากู้เงินกำหนดว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับการกู้ยืมเงินที่โจทก์ได้มีประกาศตามนัยแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม/ผู้ค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันและการฟ้องร้องตามสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท โดยมี ว.เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและ ว. ได้มอบใบฝากประจำจำนวนเงิน 500,000 บาท จำนำเป็นประกันไว้ด้วย สัญญาค้ำประกัน ข้อ 9 ระบุว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด... ให้ผู้กู้มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้... โดยไม่ต้องบอกกล่าว หากไม่พอชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยอมใช้ให้จนครบ ในบันทึกสลักหลังการจำนำใบฝากของ ว. มีความว่า เมื่อครบกำหนดเวลาชำระหนี้ หากลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่เท่าไร ผู้จำนำยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้รับจำนำหักเงินฝากที่จำนำนี้ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยจนครบโดยให้ถือบันทึกสลักหลังนี้เป็นการบอกกล่าวจำนำเช่นนี้ เงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนำได้เท่านั้นตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนำ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ยังคงมีอยู่ โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้นั้นได้โดยไม่ต้องบังคับจำนำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนำและชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น
บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจำนำไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกับวันที่บริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายบริษัทลูกหนี้ย่อมทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่าฐานะทางการเงินของบริษัทลูกหนี้ไม่ดีไม่สามารถที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านและบรรดาเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทลูกหนี้แล้ว มีเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวม 51 รายเป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ได้เพียงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง1 แปลง ซึ่งมีราคาประมาณ 14 ล้านบาทเท่านั้น การที่บริษัทลูกหนี้จำนำวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไว้แก่ผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เมื่อผู้คัดค้านนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำมาหักทอนบัญชีลดยอดหนี้และนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของบริษัทลูกหนี้รวมเป็นเงิน 5,462,800 บาท อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวนั้นย่อมเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 และผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านมีบุริมสิทธิในทรัพย์จำนำนั้น
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 115.
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนำและชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้รายอื่น
บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจำนำไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกับวันที่บริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์ฟ้องให้ล้มละลายบริษัทลูกหนี้ย่อมทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่าฐานะทางการเงินของบริษัทลูกหนี้ไม่ดีไม่สามารถที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านและบรรดาเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทลูกหนี้แล้ว มีเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวม 51 รายเป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ได้เพียงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1 แปลง ซึ่งมีราคาประมาณ 14 ล้านบาทเท่านั้น การที่บริษัทลูกหนี้จำนำวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไว้แก่ผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เมื่อผู้คัดค้านนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำมาหักทอนบัญชีลดยอดหนี้และนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของบริษัทลูกหนี้รวมเป็นเงิน 5,462,800 บาท อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวนั้นย่อมเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 และผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านมีบุริมสิทธิในทรัพย์จำนำนั้น
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115.
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนำ: ผู้จำนำมีสิทธิไถ่ถอนได้เสมอจนกว่าจะมีการบังคับจำนำ แม้พ้นกำหนดตามสัญญา
โจทก์(ผู้จำนำ)ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำได้เสมอตราบใดที่จำเลย(ผู้รับจำนำ)ยังไม่บังคับจำนำ ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ถอนเพราะพ้นกำหนดตามสัญญาและไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าถ้ายังไม่บังคับจำนำ ผู้จำนำมีสิทธิไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนตามสัญญาแล้วนั้น เห็นว่าได้มีบทบัญญัติอยู่ว่า การตกลงก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำหรือจัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงนั้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 756แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นโดยตัวแทนตามสัญญา และสิทธิในการบังคับหลักประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่ทำให้การที่จำเลยนำหุ้น ของโจทก์ออกขายเป็นการไม่ชอบไว้ 2 ประการคือจำเลยบังอาจขายหุ้นของโจทก์ให้แก่บริษัทในเครือของจำเลยไปโดยพลการ ไม่ได้รับความยินยอมและอนุญาตจากโจทก์ประการหนึ่ง และนำหุ้นของโจทก์ที่จำนำไว้แก่จำเลยออกขายโดยไม่แจ้งบังคับจำนำเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 764 การขายจึงเป็นโมฆะอีกประการหนึ่ง เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์มิได้จำนำหุ้นไว้แก่จำเลย การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้อธิบายให้กระจ่างเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยนำหุ้นของโจทก์ไปจำนำไว้แก่จำเลยแล้ว จำเลยนำหุ้นของโจทก์ออกขายเป็นการไม่ชอบจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จะยกขึ้นฎีกามิได้
คำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เอกสารหมาย ล.1 ตอนต้นมีความว่าโจทก์ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ เพื่อซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อจัดการขายหลักทรัพย์แทนโจทก์ในการทำการดังกล่าวนี้ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ทางโทรศัพท์หรือทางหนังสือ ซึ่งจะแจ้งหรือส่งให้เป็นคราวๆ แต่ความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายมีว่า '............... และในกรณีที่ข้าพเจ้า / เราไม่ชำระเงินให้ท่านภายในระยะเวลาที่ท่านกำหนดหรือข้าพเจ้า / เราไม่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้ครบถึงร้อยละ 30 ตามเงื่อนไขในวรรคก่อน ข้าพเจ้า /เรายินยอมให้ท่านปิดบัญชีได้ทันทีและยอมให้ท่านนำหลักทรัพย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า / เราที่ท่านซื้อไว้แทนออกขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเอาเงินสุทธิที่ได้มาชำระหนี้ที่ค้างอยู่ ...........' ดังนี้ การขายหุ้นของโจทก์ตามข้อความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายของเอกสารหมาย ล.1 เป็นกรณีที่จำเลยกระทำได้เองตามอำนาจในสัญญาหาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ดังกรณีในหน้า 1 ตอนต้นอันเป็นเรื่องกระทำแทนไม่
แม้เมื่อจำเลยขายหุ้นของโจทก์ไปแล้วได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือมีข้อความว่าถ้าหากจำเลยไม่ได้รับการคัดค้านจากโจทก์ภายใน 3 วัน จำเลยจะถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ถูกต้องสมบูรณ์ก็ตาม แต่มิได้หมายความว่า หากโจทก์คัดค้านแล้วต้องถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ การที่โจทก์ได้แจ้งคัดค้านไปยังจำเลยภายในกำหนดว่าจำเลยไม่มีสิทธินำหุ้นของโจทก์ออกขายจึงหามีผลในการกระทำของจำเลยซึ่งชอบอยู่แล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปไม่
คำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เอกสารหมาย ล.1 ตอนต้นมีความว่าโจทก์ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ เพื่อซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อจัดการขายหลักทรัพย์แทนโจทก์ในการทำการดังกล่าวนี้ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ทางโทรศัพท์หรือทางหนังสือ ซึ่งจะแจ้งหรือส่งให้เป็นคราวๆ แต่ความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายมีว่า '............... และในกรณีที่ข้าพเจ้า / เราไม่ชำระเงินให้ท่านภายในระยะเวลาที่ท่านกำหนดหรือข้าพเจ้า / เราไม่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้ครบถึงร้อยละ 30 ตามเงื่อนไขในวรรคก่อน ข้าพเจ้า /เรายินยอมให้ท่านปิดบัญชีได้ทันทีและยอมให้ท่านนำหลักทรัพย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า / เราที่ท่านซื้อไว้แทนออกขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเอาเงินสุทธิที่ได้มาชำระหนี้ที่ค้างอยู่ ...........' ดังนี้ การขายหุ้นของโจทก์ตามข้อความในหน้า 2 วรรคสามตอนท้ายของเอกสารหมาย ล.1 เป็นกรณีที่จำเลยกระทำได้เองตามอำนาจในสัญญาหาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ดังกรณีในหน้า 1 ตอนต้นอันเป็นเรื่องกระทำแทนไม่
แม้เมื่อจำเลยขายหุ้นของโจทก์ไปแล้วได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือมีข้อความว่าถ้าหากจำเลยไม่ได้รับการคัดค้านจากโจทก์ภายใน 3 วัน จำเลยจะถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ถูกต้องสมบูรณ์ก็ตาม แต่มิได้หมายความว่า หากโจทก์คัดค้านแล้วต้องถือว่ารายการที่แจ้งไปยังโจทก์ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ การที่โจทก์ได้แจ้งคัดค้านไปยังจำเลยภายในกำหนดว่าจำเลยไม่มีสิทธินำหุ้นของโจทก์ออกขายจึงหามีผลในการกระทำของจำเลยซึ่งชอบอยู่แล้วกลับกลายเป็นไม่ชอบไปไม่