พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยศาล: การหยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนและการสันนิษฐานซ้อนสันนิษฐาน
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงนอกสำนวนขึ้นวินิจฉัย และทำการสันนิษฐานซ้อนสันนิษฐานหลายประการขึ้นอ้าง โดยมิได้กล่าวให้ชัดว่าได้แก่การรับฟังข้อความใดบ้างและข้อวินิจฉัยใดบ้าง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง และ มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายในอุทธรณ์ต้องทำโดยตรง การอ้างอิงเอกสารในสำนวนไม่ถือว่าเป็นการระบุตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรค 2 มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คู่ความผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ระบุไว้ในอุทธรณ์ การที่จำเลยระบุในอุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ถือเอาคำแถลงปิดสำนวนในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาวินิจฉัยมาแล้วเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์ เป็นการอ้างถึงเอกสารฉบับอื่น แม้จะอยู่ในสำนวนก็มิใช่การระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในอุทธรณ์ อุทธรณ์เช่นนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรค 2ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาอาญา: จำเลยต้องระบุรายละเอียดการขาดหลักฐาน ไม่ใช่แค่กล่าวอ้าง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยรับรถยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งเพียงแต่ระบุว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ แต่มิได้ระบุข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่านำสืบไม่ได้อย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรค 2,225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ช้าเกินไป
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
การที่จะพิจารณาว่าเจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริง. เพราะจะต้องพิจารณาข้อบังคับทั้งหลายซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของตำรวจเป็นข้อประกอบด้วย. ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 16 ได้บัญญัติไว้. ดังนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น. จำเลยจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้.ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่ออ้างปัญหาข้อกฎหมายคลุมเครือ ไม่ระบุข้อกฎหมายที่อ้างในฎีกา
คดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ชอบแล้ว ให้ยกอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์เสียนั้น หากโจทก์ฎีกาคำสั่งต่อมากล่าวเพียงคลุมๆว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยมิได้ระบุข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอิงมาในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสองแล้ว ก็เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย