พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรวมหนี้จากสัญญากู้เบิกเกินบัญชี แม้ภาระชำระหนี้ต่างกัน โจทก์ฟ้องรวมจำเลยได้
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัดเพียงบัญชีเดียว ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์รวม 2 ฉบับ ฉบับแรกมีวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี 2,000,000 บาท ฉบับที่สองมีวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 7,000,000 บาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สอง และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าฝากและออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 2 ฉบับ จากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวซึ่งมีบัญชีเดียวตลอดมาโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าหนี้จำนวนใดเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกหรือฉบับที่สอง แต่ในที่สุดเป็นหนี้จำนวน 12,361,110.64 บาท ดังนี้เมื่อหนี้จำนวน12,361,110.64 บาท ตามฟ้อง จำเลยใช้เบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันซึ่งเป็นบัญชีเดินสะพัดบัญชีเดียวกัน จึงไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามฉบับแรกเท่าใดและตามฉบับที่สองเท่าใด จึงเป็นมูลหนี้เดียวกัน แม้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมีภาระในการชำระหนี้ไม่เท่ากัน โจทก์ก็สามารถรวมฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มาในคดีเดียวกันได้ ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดชำระหนี้เท่าใด หรือใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนกันอย่างไรก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมฟ้องหนี้จากบัญชีเดินสะพัดเดียวกันได้ แม้ภาระชำระหนี้ต่างกัน
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัดเพียงบัญชีเดียว ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ รวม 2 ฉบับ ฉบับแรกมีวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี 2,000,000 บาท ฉบับที่สองมีวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 7,000,000 บาทจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สอง และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าฝากและออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 2 ฉบับ จากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวซึ่งมีบัญชีเดียวตลอดมาโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าหนี้จำนวนใดเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกหรือฉบับที่สอง แต่ในที่สุดเป็นหนี้จำนวน 12,361,110.64 บาท ดังนี้เมื่อหนี้จำนวน 12,361,110.64 บาท ตามฟ้อง จำเลยใช้เบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันซึ่งเป็นบัญชีเดินสะพัดบัญชีเดียวกัน จึงไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามฉบับแรกเท่าใดและตามฉบับที่สองเท่าใด จึงเป็นมูลหนี้เดียวกัน แม้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมีภาระในการชำระหนี้ไม่เท่ากัน โจทก์ก็สามารถรวมฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มาในคดีเดียวกันได้ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดชำระหนี้เท่าใด หรือใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนกันอย่างไรก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหลายข้อหา: ศาลมีอำนาจแยกพิจารณาได้ แม้ฟ้องรวมกันได้แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล
ตามมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.พ.ได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้ 2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคำสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยกพิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้องพิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความรายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อมสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่า โจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน
แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยกพิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้องพิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความรายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อมสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่า โจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน
แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหลายข้อหา - อำนาจศาลในการแยกพิจารณาคดี และการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล
ตามมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคำสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง มีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยก พิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้อง พิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความ รายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อม สะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถ ขอให้ พิจารณารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่าโจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมี อำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 และการรับคำรับสารภาพของจำเลย
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง 3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลง ในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ได้ จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนตาม ป.อ.มาตรา 55 และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 55 ได้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์หลายครั้ง จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายซึ่งรายละเอียดแห่งข้อหาแต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวันต่างเวลากันทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกันการนำสืบพยานหลักฐานต่างๆย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาลและการที่รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายมิได้หมายความว่ารถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วยดังนั้นข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องจึงมิได้เกี่ยวข้องกันแม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหายมีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตามโจทก์จะนำมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4100/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้วางค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ แม้ศาลจะขยายเวลาให้แต่จำเลยมิได้ดำเนินการตามกำหนด
จำเลยที่2ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้เสียค่าขึ้นศาลและมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางพร้อมอุทธรณ์ด้วยแต่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการวางเงินออกไป7วันซึ่งศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตดังนี้จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในวันยื่นอุทธรณ์นั้น จำเลยที่2มิได้ชำระค่าขึ้นศาลและมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้หลังจากนั้นเดือนเศษศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่2ชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายใน3วันหากไม่ชำระในกำหนดจะสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อครบกำหนด3วันไปแล้วจำเลยที่2นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลกับชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้เนื่องจากพ้นกำหนดเวลาเพียงวันเดียวดังนี้เมื่อจำเลยที่2มิได้นำเงินดังกล่าวมาชำระและวางภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ในครั้งแรกแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาให้อีกแต่ก็มิได้สั่งก่อนสิ้นระยะเวลาอนุญาตให้ขยายไว้เดิมและไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งขยายระยะเวลาดังกล่าวไว้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23และไม่ใช่กรณีที่ศาลกำหนดเวลาเองโดยอาศัยอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะการที่ศาลชั้นต้นยังสั่งรับไว้ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2ยื่นอุทธรณ์โดยวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229 การยื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่2จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกคำนวณทุนทรัพย์พิพาทในคดีผิดสัญญาหลายวง
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดนั้นเกิดจากสัญญาเล่นแชร์2 วง แต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกัน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเล่นแชร์วงแรกจึงมิได้เกี่ยวข้องกับข้อหาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเล่นแชร์วงที่สอง แม้โจทก์จะได้รวมฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสองข้อหารวมกันมาเป็นคดีเดียว โดยศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณา มิได้มีคำสั่งให้แยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามฟ้อง โดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวเนื่องจากเป็นหนี้ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ในการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น ศาลต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในสัญญาต่างกัน แม้รวมฟ้องเป็นคดีเดียว ศาลต้องแยกพิจารณาตามวงเงินสัญญาแต่ละส่วน
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์นั้น ต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญา โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดจากสัญญาเล่นแชร์ 2 วง แต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกัน การผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่งด้วย โจทก์จึงสามารถแยกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ตามข้อหาของการผิดสัญญาเป็นสองคดีเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับการเล่นแชร์แต่ละวงมีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง