พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้ามเวลาและการไม่อนุญาตรับฎีกาของผู้พิพากษาที่ไม่พิจารณาคดี
ในวันที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมฎีกา โดยระบุขอให้ ถ.แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นลงนามรับรองฎีกาของจำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 นั้นยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ แต่ ถ.ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาคดีนี้การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 อีกครั้งหนึ่งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยอ้างว่าผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาล่าช้า: การยื่นฎีกาหลังหมดกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในวันที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมฎีกา โดยระบุขอให้ ถ. แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นลงนามรับรองฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221นั้นยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ แต่ ถ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาคดีนี้ การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 อีกครั้งหนึ่ง เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยอ้างว่าผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม: การพิจารณาความผิดหลายกรรม และบทลงโทษที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268,335,91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – ลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร – การลงโทษตามบทหนักสุด – ความผิดหลายกรรมต่างกัน
ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในข้อนี้ให้
พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไป แล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทน และนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวและเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยจะมีความผิดตาม บทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากัน และเป็นความผิดสำเร็จ แต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็น ความผิด 3 กรรมต่างกัน ซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ไปตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไป แล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทน และนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวและเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยจะมีความผิดตาม บทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากัน และเป็นความผิดสำเร็จ แต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็น ความผิด 3 กรรมต่างกัน ซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ไปตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม เป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 264, 268,335, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม 3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในคดีเยาวชนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ไม่มีอำนาจอนุญาตฎีกา
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว แม้ผู้พิพากษาอนุญาตก็ไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษในความผิดฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุรานั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องและให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจึงไม่มีผลหรือทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัย ไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีการับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย