พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การพิจารณาโทษและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมิใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนกว่าจำเลยทั้งสองจะมีอายุครบ18 ปี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74(5) การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์คดีของจำเลยทั้งสองได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ตาม สิทธิในการฎีกาของจำเลยก็ยังคงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะนำเอาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อาจทำได้ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษที่ไม่เหมาะสม โดยพิจารณาจากพฤติการณ์จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ศาลรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษจำเลยที่ 1 นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณา ของศาลฎีกาแล้ว และศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดี โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดไว้ได้ เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 อายุ 20 ปี เคยเข้าศึกษาระดับวิทยาลัย ปัจจุบันมีการงาน เป็นหลักแหล่งมั่นคง ความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำมิใช่ อาชญากรรมที่เป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 ไม่เคย ต้องโทษจำคุกมาก่อน หากให้โอกาสจำเลยที่ 1 กลับตัวเป็น พลเมืองดีโดยการรอการลงโทษจำคุกให้จะได้รับผลดีกว่าการที่จะ ลงโทษกักขังแทนโดยจำคุก แต่เพื่อให้จำเลยที่ 1 หลาบ จำ และปรามมิให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดในลักษณะนี้อีก จึงเห็นควร ลงโทษปรับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชอบตาม ม.158(5) - จำเป็นต้องวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายก่อนพิจารณาข้อเท็จจริง - การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุด
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: ปัญหาความเคลือบคลุมและการจำกัดสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 8 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่โจทก์ฎีกาว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 ในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยส่วนที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 5 และที่ 8 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกต่อไป
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นถึงมูลคดีที่ต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ก็เพราะโจทก์ร่วมเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 8 ในเรื่องผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งแปดได้ร่วมกันกระทำการเพื่อมิให้โจทก์ร่วมได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวด้วยการร่วมกันนำสืบและแสดงสัญญาว่าจ้างตัวแทนระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเท็จ ทั้งนี้เพื่อแกล้งให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีแก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องถึงวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุมาด้วยที่สำคัญจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ รูปคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่างเข้าใจข้อหาทั้งหมดได้ดี กรณีต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยทั้งห้าคนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยยังมิได้พิพากษาในเนื้อหาแท้จริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นแห่งคดี แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองได้ก็ตามแต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปตามขั้นตอน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่กลับคำพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี และในกรณีนี้ ป.วิ.อ.มาตรา 221 ไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจึงไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาลงโทษกักขังแทนจำคุก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี และในกรณีนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงคำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจึงไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีปล้นทรัพย์โดยใช้มีดข่มขู่ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่างที่ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีนับแต่วันพิพากษา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกาแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจลงโทษเด็กและเยาวชน และการอนุญาตฎีกาในคดีที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 104 (2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว เห็นว่า เนื่องจากคดีนี้จำเลยที่ 2 ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกา เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้จำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจฯ และข้อจำกัดการฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่เกินสามปี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121(1) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแต่เนื่องจากมาตรา 122 กำหนดว่าในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ คดีจึงขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ แต่สำหรับการฎีกานั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 คงมีความหมายว่า คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้นย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้แล้วก็ชอบที่จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นเดียวกับการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ด้วย กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221โดยอาศัย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2ฎีกาขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6701/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว: การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ในคดีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวได้กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 ที่มิใช่การพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปีแล้ว ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนและคู่ความจะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อดังกล่าวได้เท่านั้น
คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ศาลต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้
คดีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 121 ซึ่งมีความหมายว่า คดีที่ศาลต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 นั้น ย่อมต้องห้ามฎีกาไปด้วย โดยไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 เดือน และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษแก่จำเลยโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ด้วย และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่รับวินิจฉัยให้