คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 221

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายที่ต้องการอ้างอิงในการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกาขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 216,225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้ คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรีซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุดและการพิสูจน์ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้นแม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการสูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้ บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (ChinaNationalNativeProduceandAnimalByProductsImportandExportCorporationFujianTeaBranch) ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชาหาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาและการฟ้องร้องกรณีเครื่องหมายการค้าปลอม
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 แล้ว
ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้น แม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการ-สูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้
บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (China National Native Produce and Animal By-Products Import and Export Corporation Fujian Tea Branch)ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046 โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัมหมายเลข 1046 จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชา หาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันอ่าน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาและพิพากษาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง กับยื่นหนังสือขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539 ด้วยดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดแล้ว ส่วนการที่อัยการสูงสุดจะมีคำสั่งเมื่อใดเป็นเรื่องที่อัยการสูงสุดจะพิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดได้รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) และ (6) หรือไม่ ตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอย่างไรที่บ่งชี้ว่ามีเจตนาดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าร่วมกันกระทำผิดอย่างไรหรือแบ่งหน้าที่กันดัดแปลงอาคารอย่างไร ทั้งไม่อ้าง ป.อ.มาตรา 83 และมาตรา 72 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ได้
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าว ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยมาตรา 70 บัญญัติหมายความว่า กระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้ว ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอด หรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร และโจทก์ไม่จำต้องอ้างบทมาตรา 83 แห่ง ป.อ.หรือมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพราะมิใช่บทมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) (6)แล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดีพนัน และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องดุลพินิจโทษ
การริบทรัพย์ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 10และ ป.อ.มาตรา 33 (1) เป็นดุลพินิจของศาลจะริบหรือไม่ก็ได้ เมื่อโต๊ะสนุกเกอร์ลูกสนุกเกอร์ และไม้คิวของกลางคดีนี้มิใช่มีไว้เฉพาะการเล่นการพนันสนุกเกอร์โดยตรง แต่อาจจะนำไปใช้ในการเล่นซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในทางอื่นได้ เช่นการกีฬา หรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ จึงยังไม่สมควรริบ
การทำคำพิพากษาในคดีของศาลแขวงนั้นไม่จำต้องมีรายการครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 186 แต่ประการใด เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงได้ทำคำพิพากษาโดยได้บันทึกคำพิพากษาเป็นหนังสือไว้พอได้ใจความแล้ว ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 21 แล้ว
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 เพียงปรับ 1,000 บาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ฎีกาของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาล อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว อัยการสูงสุดมีหนังสือลงลายมือชื่อรับรองว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะในส่วนที่ศาลไม่ริบของกลางเท่านั้น มิได้รับรองให้ฎีกาในปัญหาเรื่องดุลพินิจในการลงโทษดังกล่าวนี้ด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ในปัญหานี้มาด้วยเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาการยื่นฎีกาและการปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
ป.วิ.อ.มาตรา 216 บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ทั้ง ป.พ.พ.มาตรา 193/5 บัญญัติว่า ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทิน ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น และคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2539 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16 ตุลาคม 2539 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืดออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539 ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 นั้น แม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฎีกาและการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาซึ่งยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2539 นั้นแม้จะยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา แต่ก็เป็นการยื่นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาแล้ว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาฎีกา, การขยายเวลา, และการยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาหลังหมดกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟังทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/5บัญญัติว่าถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นเดือนให้คำนวณตามปีปฏิทินถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งเดือนระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นและคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่27กันยายน2539หากจำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยจะต้องฎีกาภายในวันที่17ตุลาคม2539แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่16ตุลาคม2539ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก15วันซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเมื่อนับระยะเวลาเป็นวันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3วรรคสองบัญญัติมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแล้วจึงเป็นผลให้ระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้นั้นยืนออกไปอีกโดยจำเลยสามารถยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่31ตุลาคม2539จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นในวันที่29ตุลาคม2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ยื่นโดยชอบด้วยกฎหมายส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ซึ่งยื่นเมื่อวันที่18พฤศจิกายน2539นั้นแม้จะเป็นการยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาก็ตามแต่ก็เป็นการยื่นเพื่อปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วการยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลอุทธรณ์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยนั้นชอบแล้ว
of 29