พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้รวมดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
คดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายว่า ที่จำเลยทั้งสามออกเช็คเอกสารหมาย จ.4 และ จ.6 ชำระหนี้แก่โจทก์จะเป็นความผิดหรือไม่ แม้ในชั้นฎีกาผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ฎีกาก็ตามโจทก์ก็ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วเท่านั้นส่วนปัญหานอกนั้นถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำนวนเงินกู้ตามสัญญากู้ มีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย โดยตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้แยกบรรยายว่าจำนวนเงินต้นเท่าใด และส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่าใดจำนวนเงินกู้ดังกล่าวจึงไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เช็คที่จำเลยออกชำระหนี้ให้ทั้งสามฉบับซึ่งมีเช็คเอกสารหมาย จ.4 และ จ.6 รวมอยู่ด้วยก็มิได้แยกว่าเช็คฉบับใดชำระเงินต้นและเช็คฉบับใดชำระดอกเบี้ย จึงต้องถือว่าเช็คทุกฉบับเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เมื่อปรากฏว่าจำนวนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับได้ การที่จำเลยออกเช็คเอกสารหมาย จ.4 และ จ.6 เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดระยะเวลาและการพิจารณาคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ย้ายไปแล้วยังคงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้ฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาและย้ายไปรับราชการอยู่ที่ศาลอื่นแล้ว ก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยื่นหลังหมดระยะเวลา แต่มีคำสั่งอนุญาตถูกต้อง และการลดโทษรอการลงโทษ
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาไปแล้วก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาและการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องดำเนินการภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยจำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาภายใน15วันนับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา224แต่ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยกลับขอให้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อเป็นองค์คณะในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาผลคือคดีย่อมยุติลงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องทำภายใน 15 วัน และต้องเป็นคำร้องอุทธรณ์ ไม่ใช่คำขออนุญาตฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา224 แต่ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย กลับขอให้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อเป็นองค์คณะในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาผลคือคดีย่อมยุติลงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และการกระทำความผิดหลายบทเป็นกรรมเดียว
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา230จะให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิมแต่ก็จำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้นส่วนมาตรา221ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็เฉพาะแก่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่จะรับประเด็นอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่าการที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงโดยละเว้นการตรวจสอบไม้ดังกล่าวตามระเบียบของทางราชการกับกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ในวันเดียวกันเพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7074/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขอรอลงอาญาในคดีอาญาของผู้เยาว์: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357วรรคหนึ่ง, 83 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 15 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามป.อ. มาตรา 75 แล้ว จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่าให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74 (5) โดยส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนด 1 ปี จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จำเลยฎีกาขอให้ศาลรอลงอาญาให้จำเลยหรือให้ศาลมอบตัวจำเลยให้แก่มารดาเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลย เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ถึงแม้ว่าจำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้รับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7074/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับโทษ จำเลยอุทธรณ์ขอรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคหนึ่ง,83 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 15 ปีลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75แล้ว จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่าให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74(5) โดยส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนด 1 ปี จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จำเลยฎีกาขอให้ศาลรอลงอาญาให้จำเลยหรือให้ศาลมอบตัวจำเลยให้แก่มารดาเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลยเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งถึงแม้ว่าจำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้รับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขัดกับกรอบเวลา: การขออนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงหลังพ้นกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยยื่นเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาตามกฎหมายแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำร้อง