พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: เมื่อไม่เคยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมดสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง หมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาต้องระบุเหตุผลปัญหาสำคัญ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากคำสั่งอนุญาตไม่ชัดเจน
ผู้พิพากษาซึ่ง พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องซึ่ง จำเลยที่ 3 ขอให้รับรองให้จำเลยที่ 3 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดย มีคำสั่งในฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า"พิเคราะห์แล้ว จำเลยที่ 3 เป็นหญิงหม้ายต้อง เลี้ยงดูบุตร จึงเห็นสมควรให้ศาลสูงสุดได้ วินิจฉัยอีกชั้น หนึ่ง จึงอนุญาตให้ฎีกาได้ สำเนาให้โจทก์" ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวมิได้มีข้อความใด ที่แสดงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกากรณีจึงถือ ไม่ได้ว่าผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษานั้นได้ อนุญาตให้จำเลยที่ 3 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีสุราเนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์มีพิรุธและขัดแย้งกัน
เมื่อความผิดฐานมีสุรากลั่นไว้ในครอบครอง ฐานมีสุราแช่ไว้ในครอบครอง และฐานทำสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาดังกล่าว แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยข้อหาความผิดฐานมีภาชนะเครื่องต้มกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองและฐานทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งจำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้แล้วเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีสุรากลั่นไว้ในครอบครองฐานมีสุราแช่ไว้ในครอบครอง และฐานทำสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคดีอาญาโดยอัยการพิเศษประจำเขต, การสอบสวนเพิ่มเติม, และเจตนาใส่ร้าย - ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า"การที่อัยการเขต8(หมายถึงตัวโจทก์)สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่าจำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญและเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่และว่าจำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้นเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณแต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการและจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่าการที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจเมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความเห็นของตนแม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้างแต่ก็เห็นได้ว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งฟ้องคดีอาญา, การสอบสวนเพิ่มเติม, อำนาจสั่งคดีของอัยการ, และการวินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับพฤติการณ์น่าสงสัย
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึงตัวโจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณ แต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลย จำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่าได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใจและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา 218,219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เสรีภาพแสดงความคิดเห็นของรัฐมนตรี – การวิจารณ์การสั่งคดีของอัยการ
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "การที่อัยการเขต 8(หมายถึง ตัว โจทก์) สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนาย โสภณกิจประสาน เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้ จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่า จำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่ง ทุก วันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต 8 สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ ไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญ และเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสาง ทั้งตัว เล็กตัว ใหญ่ และว่า จำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้น เป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนาย โสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนาย โสภณ แต่ การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการ และจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่า การที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจ เมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตาม ความคิดเห็นของตน แม้ถ้อยคำที่ใช้ จะรุนแรงอยู่บ้าง แต่ก็เห็นได้ว่า ได้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติ ชมด้วย ความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะ ที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงไม่เป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และต้องห้ามฎีกาโดย มาตรา 218219 และ 220 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถ้า อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้ วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายกัญชาโดยจำเลยรับสารภาพ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพ โดยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ทราบถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่ปรากฏว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 จริงหรือไม่และจำเลยไม่สามารถทราบประกาศดังกล่าวได้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาใตศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น และการไม่รอการลงโทษคดียาเสพติด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพ โดยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ทราบถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่ปรากฏว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 จริงหรือไม่และจำเลยไม่สามารถทราบประกาศดังกล่าวได้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องประกาศกระทรวงสาธารณสุขและข้อจำกัดในการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ทราบถึงประกาศของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใดที่จำเลยฎีกาว่า ไม่ปรากฏว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 จริงหรือไม่ และจำเลยไม่สามารถทราบประกาศดังกล่าวได้นั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ แม้จะได้รับอนุญาตให้ฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่โทษจำคุกรอการลงโทษโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวอุทธรณ์ไม่ให้รอการลงโทษ และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษ จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิด การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันและโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย ล้วนเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้าน เพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้