พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาตฎีกาข้อเท็จจริงเฉพาะผู้พิพากษาคดี – ศาลชั้นต้นมิมีอำนาจ
คดีอาญาที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นป.วิ.อ.มาตรา221ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่อำนาจอนุญาตให้ฎีกาเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษามิใช่อำนาจของศาลศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งมิได้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งจึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาตฎีกาข้อเท็จจริง: ต้องเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีโดยตรงเท่านั้น
คดีอาญาที่ต้องห้ามมิให้คู่ความาฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอายามาตรา221ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์.อนุญาตให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่อำนาจอนุญาตให้ฎีกาเป็นอำนาจเฉพาะตัวของผู้พิพากษามิใช่อำนาจของศาลศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งมิได้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งจึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิวาททำร้ายร่างกาย: การสมัครใจวิวาททำให้ไม่อ้างป้องกันตนเองได้ และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริง
การที่จำเลยทั้งสองทำร้ายกันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากจำเลยที่2มีเรื่องโต้เถียงกันกับย. ซึ่งเดินมากับจำเลยที่1ก่อนต่อมาจำเลยทั้งสองได้มาพบกันอีกและโต้เถียงกันก่อนที่จะลงมือทำร้ายกันตามพฤติการณ์ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจวิวาททำร้ายแม้ฝ่ายใดจะลงมือทำร้ายก่อนก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะเมื่อสมัครใจวิวาทกันแล้วจะอ้างว่าตนทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันสิทธิของตนไม่ได้ คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลฎีกาจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงได้เพราะผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้รับรองว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ข้อเท็จจริงที่คู่ความฎีกานั้นจะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ยกปัญหาที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย จำเลยเพียงแต่ชกต่อยกอดปล้ำกันมิได้ใช้อาวุธทำร้ายและเหตุที่ทำร้ายกันก็เกิดจากการวิวาทโต้เถียงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเคยรับโทษจำคุกมาก่อนพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีสิ่งแวดล้อมของจำเลยทั้งสองและสภาพความผิดแล้วศาลรอการลงโทษจำเลยไว้ตามป.อ.มาตรา56ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิวาททำร้ายร่างกาย: การสมัครใจวิวาททำให้ไม่สามารถอ้างป้องกันตนเองได้ และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงใหม่
การที่จำเลยทั้งสองทำร้ายกันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากจำเลยที่2มีเรื่องโต้เถียงกันกับย.ซึ่งเดินมากับจำเลยที่1ก่อนต่อมาจำเลยทั้งสองได้มาพบกันอีกและโต้เถียงกันก่อนที่จะลงมือทำร้ายกันตามพฤติการณ์ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจวิวาททำร้ายแม้ฝ่ายใดจะลงมือทำร้ายก่อนก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะเมื่อสมัครใจวิวาทกันแล้วจะอ้างว่าตนทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันสิทธิของตนไม่ได้. คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลฎีกาจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงได้เพราะผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้รับรองว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ข้อเท็จจริงที่คู่ความฎีกานั้นจะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ยกปัญหาที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย. จำเลยเพียงแต่ชกต่อยกอดปล้ำกันมิได้ใช้อาวุธทำร้ายและเหตุที่ทำร้ายกันก็เกิดจากการวิวาทโต้เถียงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเคยรับโทษจำคุกมาก่อนพิเคราะห์ถึงพฤติกาณณ์แห่งคดีสิ่งแวดล้อมของจำเลยทั้งสองและสภาพความผิดแล้วศาลรอการลงโทษจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อใด และผลของการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม
ปัญหาที่ว่าอายุความเริ่มนับเมื่อใด เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทราบมูลเหตุแห่งคดีนี้และรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เมื่อใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ดังนั้น ย่อมไม่มีข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหาได้ไม่ แม้จะมีผู้พิพากษาที่ลงชื่อในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม
เมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ดังนั้น ย่อมไม่มีข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหาได้ไม่ แม้จะมีผู้พิพากษาที่ลงชื่อในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม
เมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีการฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจอนุญาตได้
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาในกำหนดระยะเวลาฎีกาและการระงับสิทธิเรียกร้อง
ในคดีอาญาแม้จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็มิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย และอาจมีการอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ คดีจึงถึงที่สุดเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยมิต้องคำนึงว่ามีการยื่นฎีกาแล้วหรือไม่
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนฟ้องก่อนที่คดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง แล้วเมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีได้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)อันมีผลให้คำพิพากษาของศาลล่างระงับไปด้วยในตัว ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยและการปฏิบัติตามมาตรา 218
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาเกี่ยวกับผู้เสียหายบางคนและแก้จำนวนเงินที่ให้จำเลยใช้ คืน แต่ข้อหาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง เป็นกรรมเดียวกับข้อหาของผู้เสียหายอื่น ที่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และศาลอุทธรณ์ ยังคง พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเท่าเดิมจึงเป็นการแก้ไข เล็กน้อย เมื่อไม่มีคำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาหรือลงชื่อ ในคำพิพากษาให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยจะฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา หากไม่มี จะฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้ไขคำพิพากษาเพียงเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาเกี่ยวกับผู้เสียหายบางคนและแก้จำนวนเงินที่ให้จำเลยใช้คืน แต่ข้อหาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง เป็นกรรมเดียวกับข้อหาของผู้เสียหายอื่น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และศาลอุทธรณ์ ยังคง พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเท่าเดิมจึงเป็นการแก้ไข เล็กน้อย เมื่อไม่มีคำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาหรือลงชื่อ ในคำพิพากษาให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยจะฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาตฎีกาต้องมีเหตุตามกฎหมาย
การที่จะรับฎีกาที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 นั้น จะต้องปรากฏว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา ฉะนั้นคำสั่งที่ว่า 'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้ฎีกาได้ รับฎีกาของจำเลย' จึงเป็นเพียงข้อความอนุญาตให้ฎีกาได้เท่านั้น มิได้ยกเหตุตามบทกฎหมายดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบ