คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 221

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจอนุญาตฎีกา: ศาลฎีกาเคารพดุลพินิจผู้พิพากษาอนุญาตฎีกา แม้ข้อเท็จจริงไม่สำคัญ
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221กฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่1/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีตำรวจ คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้รักษาการอธิบดีไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อธิบดีกรมอัยการไม่มีอำนาจรื้อฟื้นคำสั่งชี้ขาดเดิม และการกระทำของรองอธิบดีขัดขวางการบังคับใช้กฎหมาย
กรณีที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาต้องมีเหตุผลปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง
ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยว่า "คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเจ้าพนักงานขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ จำเลยก็ควักให้เจ้าพนักงานตรวจโดยดี หาได้มีการส่อพิรุธอย่างใดไม่ ใบอนุญาตของกลางตามเอกสารหมาย จ.1. ก็ปรากฏว่า แม้บุคคลธรรมดาก็หาได้รู้ไม่ว่าจะเป็นของปลอม กรณีจำเลยอาจจะไม่รู้ว่าเป็นของปลอมก็เป็นได้ เห็นสมควรอนุญาตให้ฎีกาได้เพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป สำเนาให้โจทก์แก้ " ตามคำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงหรืออนุมานได้ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในคดีอาญา: เหตุผลความสำคัญของปัญหาข้อเท็จจริงต้องชัดเจน
ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยว่า "คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเจ้าพนักงานขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ จำเลยก็ควักให้เจ้าพนักงานตรวจโดยดี หาได้มีการส่อพิรุธอย่างใดไม่ ใบอนุญาตของกลางตามเอกสารหมาย จ. 1 ก็ปรากฏว่า แม้บุคคลธรรมดาก็หาได้รู้ไม่ว่าจะเป็นของปลอมกรณีจำเลยอาจไม่รู้ว่าเป็นของปลอมก็เป็นได้ เห็นสมควรอนุญาตให้ฎีกาได้เพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป สำเนาให้โจทก์แก้" ตามคำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงหรืออนุมานได้ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญาหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะรับไว้พิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ และการอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีอาญาเรื่องเดียวกันเดิมจำเลยถูกฟ้องด้วยวาจาตามบทบัญญัติของวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงโดยศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยด้วยวาจา ซึ่งศาลยังมิได้พิจารณาเรื่องที่ได้ฟ้องแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาบันทึกว่า "มีเหตุอันควรรับรองให้ฎีกาได้" นั้นเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการฟ้องคดีซ้ำหลังศาลยกฟ้อง
คดีอาญาเรื่องเดียวกันเดิมจำเลยถูกฟ้องด้วยวาจาตามบทบัญญัติของวิธีพิจารณาความอาญาในแขวงโดยศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยด้วยวาจา ซึ่งศาลยังมิได้พิจารณาเรื่องที่ได้ฟ้องแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาบันทึกว่า "มีเหตุอันควรรับรองให้ฎีกาได้" นั้นเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสมอภาคในการพิพากษาคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษและการรอการลงโทษที่แตกต่างกันในคดีที่เกี่ยวข้อง
คดียาเสพติดคล้ายคลึงกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษารอการลงโทษคดีหนึ่ง ไม่รอการลงโทษในอีกคดีหนึ่ง เป็นปัญหาสำคัญที่ควรสู่ศาลสูงสุดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้อุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบถ้วนตามกฎหมาย มิฉะนั้นศาลสูงไม่รับพิจารณา
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี และในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "่ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2, 3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบหลักเกณฑ์ปัญหาสำคัญและอนุญาตให้สู้คดี
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีและในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู้การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
of 29