คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 221

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาและการอนุญาตให้ฎีกา: เหตุผลของผู้พิพากษาส่วนต่างและความสำคัญของปัญหาข้อกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความเห็นแย้งบันทึกไว้ในฎีกาว่า 'สภาพที่ฝ่ายหนึ่งตายไป ฝ่ายจำเลยน่าจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการป้องกันตัว ซึ่งเป็นภาระพิสูจน์อันเป็นทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ควรส่งให้ศาลสูงพิจารณาจึงรับฎีกานี้' บันทึกนี้มิได้แสดงว่าข้อความที่ตัดสินมาเป็นปัญหาสำคัญมิได้แสดงว่าผู้พิพากษาผู้ทำความเห็นแย้งอนุญาตให้ฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 จึงรับฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาและการอนุญาตของผู้พิพากษาที่มีความเห็นแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความเห็นแย้งบันทึกไว้ในฎีกาว่า 'สภาพที่ฝ่ายหนึ่งตายไป ฝ่ายจำเลยน่าจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการป้องกันตัว ซึ่งเป็นภาระพิสูจน์อันเป็นทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ควรส่งให้ศาลสูงพิจารณา จึงรับฎีกานี้' บันทึกนี้มิได้แสดงว่าข้อความที่ตัดสินมาเป็นปัญหาสำคัญมิได้แสดงว่าผู้พิพากษาผู้ทำความเห็นแย้งอนุญาตให้ฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 จึงรับฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการรับรองอุทธรณ์และการส่งเรื่องให้อธิบดีอัยการ ผู้ต้องดำเนินการเอง
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้นผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่งแต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งจึงไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่(อ้างฎีกาที่ 1244/2503)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรองการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เองผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเองหาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการรับรองอุทธรณ์และการส่งสำนวนไปยังอธิบดีอัยการ: ผู้ต้องดำเนินการเอง
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้น ผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่ง แต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งจึงไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ (อ้างฎีกาที่ 1244/2503)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรอง การรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เอง ผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเอง หาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการส่งเรื่องขอรับรองอุทธรณ์ไปยังอธิบดีอัยการ และรูปแบบคำวินิจฉัยของศาล
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่.ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้น. ผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193. และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่ง. แต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง.จึง.ไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่(อ้างฎีกาที่ 1244/2503).
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรอง. การรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เอง. ผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเอง. หาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่.(อ้างฎีกาที่ 656/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และการพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามศาลชั้นต้นในประเด็นฉ้อโกงและจำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินที่ผู้เสียหายเสียไป และอำนาจการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้น เมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไปทรัพย์สินที่ผู้เสียหารศูนย์เสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้ศูนย์เสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้ศูนย์หายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้ มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยศูนย์ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากศาลอุทธรณ์
คดีอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งจะมีความเห็นแย้งในข้อเท็จจริงไว้ ก็ต้องมีการอนุญาตให้ฎีกาได้อีกชั้นหนึ่งจึงจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำเลยในการขอรับรองฎีกา: ศาลไม่จำเป็นต้องส่งฎีกาให้ อธิบดีกรมอัยการ
เมื่อจำเลยต้องการให้อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221จำเลยก็ควรขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการโดยตนเอง ศาลไม่มีหน้าที่ส่งฎีกาของจำเลยไปให้รับรอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จำเลยในการขอรับรองฎีกา – ศาลไม่ต้องส่งให้เอง
เมื่อจำเลยต้องการให้อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา 221 จำเลยก็ควรขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการโดยตนเอง ศาลไม่มีหน้าที่ส่งฎีกาของจำเลยไปให้รับรอง
of 29