พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายเมื่อมีการโต้แย้งเรื่องการซื้อขายและการเข้าครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครอง การซื้อขายย่อมกระทำได้โดยส่งมอบการครอบครองให้ เมื่อมีข้อโต้เถียงว่าการที่จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยโจทก์หรือโดยการซื้อแล้วเข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ จำเลยย่อมได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1369 โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงที่เกินกรอบประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และประเด็นที่จำเลยมิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา
ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 และที่ 2ออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของตน แต่อ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบิดาจึงมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าในขณะยื่นคำฟ้องที่พิพาทอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ5,000 บาท หรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ ราคา ที่ตั้งและสภาพทั่ว ๆ ไปของที่พิพาทแล้ว อาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา ตามคำร้องสอดของจำเลยที่ 3 มิได้กล่าวอ้างหรือยกประเด็นในเรื่ององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตไว้ ทั้ง ๆ ที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายตนที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่โจทก์ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและโจทก์รับโอนที่พิพาทไว้โดยสุจริตหรือไม่ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อใช้ประโยชน์ไม่ได้, บทสันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหัก เสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้นหมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น แต่การที่อาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง ย่อมเป็นความเสียหายร้ายแรง จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าต้องซ่อมแซมตาม ป.พ.พ. มาตรา 547 โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลยจำเลยไม่สามารถแสดงได้ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้วกรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกว่าฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อทรัพย์สินชำรุด, สันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญา ว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึง การซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคาร โรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้อง ซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สิน ที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณี ต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซม ทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมา ถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ว่าในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็น ระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดย มิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มี น้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบท สันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่า ในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะ เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อเจ้าของไม่ปฏิบัติตามสัญญา, และผลของการรับเงินค่าเช่า
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สินที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4649/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การรับรองเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นความเท็จ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีมีหน้าที่ทำเอกสารรับเอกสาร รับรองเอกสารแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้าน เมื่อได้รับอนุมัติให้มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านแล้วจึงลงนามรับรองเป็นหลักฐานในเอกสารแบบใบขอเบิกเงินค่าเช่าบ้านของจำเลยเองว่า ตรวจสอบถูกต้องแล้ว ขอจ่ายถูกตามระเบียบเห็นควรอนุมัติ การที่จำเลยรับรองตามที่ขออนุมัติและได้รับอนุมัติแล้วเช่นนี้ จะถือว่าเป็นการรับรองข้อความอันเป็นเท็จที่เอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงมิได้ ส่วนการที่ผู้อนุมัติได้อนุมัติไปแล้วนั้นจะถูกต้องหรือไม่เป็นเรื่องของการแปลความในกฎหมาย การแปลความไปในทางใดนั้นจะถือว่าเท็จมิได้อีกเช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับทะเบียนบ้านว่าจำเลยมีทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน เป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้นเมื่อพยานหลักฐานอันเป็นข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นขัดแย้งกับคำพยานบุคคลที่รู้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เช่นนี้จะนำข้อสันนิษฐานในทางที่เป็นผลร้ายมาฟังเป็นความจริงไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีบ้านของตนเองและได้เช่าบ้านนาง ส. อยู่จริง การที่จำเลยมีบ้านของบิดาอยู่แต่ไม่อยู่บ้านของบิดา กลับไปเช่าบ้านอยู่ จำเลยจะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบค่าเช่าบ้านข้าราชการ พุทธศักราช 2483 หรือไม่นั้น เป็นการแปลความตามกฎหมายดังกล่าว การแปลความไม่ตรงกันนั้นจะถือว่าเป็นการหลอกลวงไม่ได้ ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่ากรณีดังกล่าวได้มีระเบียบแบบแผนของทางราชการกำหนดไว้เป็นแน่นอนว่า จำเลยไม่มีสิทธิจะขอเบิกค่าเช่าบ้านได้ และจำเลยได้ทราบถึงระเบียบนั้นแล้ว การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองโดยสุจริตและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น: การคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอก
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินที่โจทก์นำยึดดังกล่าวผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง โดยผู้ร้องได้ครอบครองโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10ปีแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงขอให้ปล่อยการยึดที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโจทก์ให้การว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนข้ออ้างของผู้ร้องจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ ดังนี้ตามข้ออ้างของผู้ร้องเป็นเพียงการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นอันมิใช่เป็นการได้มาโดยทางนิติกรรม แต่ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ส่วนปัญหาว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ ผู้ร้องก็ไม่ได้กล่าวอ้างหรือยกเป็นประเด็นเพื่อการนำสืบไว้ในคำร้องทั้ง ๆ ที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายตนที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่โจทก์ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 คดีจึงไม่มีประเด็น ข้อพิพาทว่าโจทก์รับจำนองโดยสุจริตหรือไม่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องและคำให้การของโจทก์แล้วว่าโจทก์รับจำนองที่พิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็นที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็นที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนอง vs. สิทธิครอบครองปรปักษ์: บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนย่อมได้รับการคุ้มครอง
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่จำนองเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินที่โจทก์นำยึดดังกล่าวผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง โดยผู้ร้องได้ครอบครองโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงขอให้ปล่อยการยึดที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ให้การว่าโจทก์จับจำนองไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนข้ออ้างของผู้ร้องจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ ดังนี้ ตามข้ออ้างของผู้ร้องเป็นเพียงการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น อันมิใช่เป็นการได้มาโดยทางนิติกรรม แต่ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ส่วนปัญหาว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ ผู้ร้องก็ไม่ได้กล่าวอ้างหรือยกเป็นประเด็นเพื่อการนำสืบไว้ในคำร้อง ทั้ง ๆ ที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายตนที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณแก่โจทก์ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์รับจำนองโดยสุจริตหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องและคำให้การของโจทก์แล้วว่า โจทก์รับจำนองที่พิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสองผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็นที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ผู้ร้องฎีกาในปัญหาข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็นที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: ผู้นำเข้าต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดตามกฎหมายศุลกากร
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: จำเลยต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดสินค้าที่นำเข้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)