คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9383/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้า CIF Bangkok และภาระค่าบริการท่าเรือเมื่อผู้ซื้อไม่รับมอบสินค้า
การส่งมอบและรับการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายและผู้ซื้ออยู่ห่างกันโดยระยะทางต้องมีการขนส่งจากต้นทางมายังปลายทางโดยใช้บริการของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งโดยลักษณะการขนส่งประเภทนี้จะต้องมีการใช้ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือเดินทะเลตามแต่ลักษณะทางกายภาพของสินค้า มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถดำเนินการส่งมอบและรับมอบสินค้ากันให้เสร็จสิ้นตามสัญญาซื้อขายได้ และในขณะเดียวกันการที่สินค้าได้รับการขนส่งจากนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ยังเกี่ยวพันกับกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากผู้นำเข้าสินค้านั้นมาถึงปลายทาง การที่เรือเดินทางมาถึงท่าเทียบเรือที่โจทก์เป็นผู้บริหารและให้บริการ โดยมีการจัดเตรียมอาคารสถานที่ พื้นที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรไว้รองรับตั้งแต่การเข้าเทียบท่าของเรือ การบรรทุก การขนถ่าย การเคลื่อนย้ายสินค้ามายัง ไปจาก ขึ้น หรือลงจากเรือเดินทะเล จึงเป็นการจัดเตรียมไว้เพื่อให้การดำเนินการส่งมอบและรับการส่งมอบสินค้าที่ต่อเนื่องจากการบริการของเรือเดินทะเลตามสัญญารับขนของทางทะเล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศให้ดำเนินไปและเสร็จสิ้นลงได้ และขณะเดียวกันก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่เข้ามาอยู่ในอารักขาของตน โดยที่ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายเป็น CIF Bangkok ผู้ขายจึงมีหน้าที่จัดหาผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลและชำระค่าระวางล่วงหน้า ดังนั้นจากข้อตกลงและพฤติการณ์ในทางปฏิบัติดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า การที่เรือที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ขนส่งได้บรรทุกสินค้ามาส่งมอบขึ้นที่ท่าเรือที่โจทก์ให้บริการ เป็นการนำมาส่งมอบไว้แก่โจทก์เพื่อให้จำเลยในฐานะผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายหรือผู้นำเข้าตามความหมายของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มารับการส่งมอบไปจากโจทก์ ซึ่งเมื่อพิจารณา ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 41 และมาตรา 10 ทวิ แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าจำเลยจะเป็นผู้รับมอบสินค้า และเมื่อจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยนำเอกสารเกี่ยวกับการรับสินค้ามาติดต่อขอรับสินค้าจากโจทก์พร้อมชำระค่าภาระต่าง ๆ แล้วเท่านั้น โจทก์จึงจะส่งมอบสินค้าทั้งหมดให้แก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับคำสั่งโดยชอบให้คืนสินค้าแก่ผู้ใดก็จะคืนให้แก่ผู้นั้น พร้อมกันนั้นผู้นั้นก็จะต้องชำระค่าภาระต่าง ๆ แก่โจทก์ด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงสินค้าเหล่านั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระภาระต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 670 อันสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 61 และ 63 ซึ่งหมายถึงเมื่อของที่นำเข้ามากลายเป็นของตกค้างเพราะเหตุที่ไม่มีผู้ติดต่อขอรับและเสียค่าภาษี อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจสั่งให้จัดการกับของนั้นได้ เมื่อคำนึงถึงสิทธิหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศที่ผู้ซื้ออาจมีเหตุที่จะปฏิเสธการรับมอบสินค้าได้แล้ว ที่จำเลยยังมิได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อขอรับสินค้าที่โจทก์เก็บรักษาไว้ไปจากการดูแลจากอารักขาของศุลกากร จำเลยจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาระการให้บริการท่าเรือตามที่โจทก์เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7261/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้ายุทธภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญาและการยกเลิกการยกเว้นอากร ภาษีอากรยังคงต้องชำระ
โจทก์นำเครื่องเอกซเรย์เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อที่จะส่งมอบให้แก่กรมตำรวจตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ได้ทำกับสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังแม้จะเป็นยุทธภัณฑ์แต่เมื่อกรมตำรวจมิได้รับเครื่องเอกซเรย์ไว้ในราชการและโจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์กลับคืนไปให้บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วเครื่องเอกซเรย์จึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการซึ่งได้ยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2530ภาค4ประเภท13 การที่กรมศุลกากรจำเลยได้อนุมัติให้ยกเว้นอากรสำหรับเครื่องเอกซเรย์ที่จำเลยนำเข้าเนื่องจากจำเลยได้รับหนังสือขอยกเว้นภาษีอากรขาเข้าจากกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมาจำเลยได้รับแจ้งจากกรมตำรวจผู้ที่จะรับเครื่องเอกซเรย์ไว้ใช้จากสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังผู้ซื้อจากโจทก์ว่าเครื่องเอกซเรย์ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายและโจทก์ได้ส่งคืนบริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศแล้วจำเลยชอบที่จะมีคำสั่งยกเลิกการยกเว้นอากรได้เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรขาเข้าให้จำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา41,10ทวิวรรคหนึ่งการที่โจทก์ได้ส่งเครื่องเอกซเรย์คืนให้แก่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ใช้ประโยชน์อย่างใดในราชอาณาจักรไม่ทำให้ความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องเสียภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการนำเข้าสำเร็จซึ่งโจทก์มีสิทธิจะจัดการกับสินค้าของโจทก์อย่างไรก็ได้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีอากรให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันภาษีอากรและการคืนเงินเมื่อส่งของออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้ทำใบขนให้สมบูรณ์
การที่โจทก์นำน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานเข้าเป็นอันสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก เมื่อโจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยแล้ว โจทก์ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติตามพิธีการเสียภาษีได้ทันที น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจึงยังคงเก็บอยู่ในเรือและอยู่ในอารักขาของศุลกากร โจทก์ขอวางเงินไว้เป็นประกันและจำเลยอนุญาตแล้ว เงินประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้าและไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และมาตรา 112 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 กำหนดว่า ในการวางเงินเป็นประกันเช่นนี้พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน ดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป และเมื่อกรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของมาตรา 19 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรที่ 26/2528 ข้อ 9 และ ประกาศกรมศุลกากรที่ 27/2523เรื่องการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จเมื่อเรือเข้าท่า แม้สินค้าเสียหายก่อนตรวจปล่อย และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องเหตุใหม่
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็น อันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่าย ของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้นเมื่อเรือนำของที่ โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อ ส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับ ของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมาย ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ(1)แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร)ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้วจึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จก่อนสินค้าเสียหาย ไฟไหม้เรือไม่ใช่เหตุคืนภาษี
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก บัญญัติว่า ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ และมาตรา 41 บัญญัติว่า การนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จ แต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจาก เรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเรือ ล. นำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2531ซึ่งเป็น ท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงและจะถ่ายของจากเรือ ความรับผิดในอัน จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่โจทก์นำเข้าจึงเกิดขึ้นในวันที่17 กรกฎาคม 2531 เมื่อโจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่ นำเข้าสำเร็จแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ล. ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าอากรขาเข้าที่ได้ชำระ ไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) ข้อ 2กำหนดให้ผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการค้าพร้อมกับการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และชำระภาษีในวันนำเข้าและ ป.รัษฎากรมาตรา 78 เบญจ(1) บัญญัติว่า วันนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าตามมาตรา 78 ตรี และมาตรา 78 จัตวา หมายความว่าวันที่ ชำระอากรขาเข้าพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคแรก บัญญัติว่า การเสียภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ(1)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยในวันดังกล่าว แม้ของ ที่โจทก์นำเข้านั้นจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ซึ่ง โจทก์ยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของดังกล่าวไปก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิ แก่โจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ได้ชำระ ไปแล้วคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้า, หน้าที่ชำระภาษีอากร, การประเมินราคา, และข้อยกเว้นการเรียกดอกเบี้ย
การนำสินค้าเข้าเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเมื่อจำเลยนำสินค้าเข้ามาในอาณาจักรสำเร็จ จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้โจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้คืนสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายและผู้ขายได้คืนเงินค่าสินค้าให้จำเลยแล้ว ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้า, ความรับผิดทางภาษีอากร, การประเมินราคา, และดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
การนำสินค้าเข้าเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเมื่อจำเลยนำสินค้าเข้ามาในอาณาจักรสำเร็จ จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้โจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้คืนสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายและผู้ขายได้คืนเงินค่าสินค้าให้จำเลยแล้ว ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราต่างประเทศเข้าไทย ความผิดเกิดขึ้นเมื่อผ่านด่านศุลกากร
จำเลยนำเงินตราต่างประเทศติดตัวมาประเทศไทยเกินกว่าจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดไว้แต่ปรากษว่าจำเลยยังมิทันนำเงินนั้นล่วงพ้นผ่านด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรดังนี้ จำเลยยังไม่มีความผิดตาม พรบ ว่าด้วยการนำเงินตราเข้ามาในราชอาณาจักร