พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงดอกเบี้ยบัตรเครดิตไม่เข้าข่ายเบี้ยปรับ - ดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศ ธปท. ชอบด้วยกฎหมาย
คำขอสินเชื่อบัตรเครดิตมีข้อสัญญาว่าโจทก์ยอมผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนทั้งที่เงินฝากในบัญชีมีไม่พอจ่ายโดยไม่มีกำหนดเวลาชำระคืนเป็นแต่เพียงจำเลยตกลงชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่ต้นจึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ซึ่งห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่การกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ข้อตกลงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, จำนอง, ค้ำประกัน: ศาลยืนยึดสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองตามสัญญา
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินจำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้โดยจำเลยที่1ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ปัญหาที่ว่าม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ม.มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงินพ.ศ.2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษโดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ร้อยละ15ต่อปีจำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไรและเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและประเด็นดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่า หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ จำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ปัญหาที่ว่า ม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ ม. มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 728 เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ โดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249
ปัญหาที่ว่า ม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ ม. มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 728 เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ โดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิพระภิกษุให้กู้ยืมเงิน และการพิจารณาคดีสัญญาที่ถูกกล่าวอ้างว่าเกิดจากข่มขู่
การที่โจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุนำเงินส่วนตัวออกให้บุคคลกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยนั้น ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดห้ามไว้ พระภิกษุก็เป็นบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย การให้กู้ยืมเงินก็เป็นการสงเคราะห์ผู้ที่เดือดร้อนได้ทางหนึ่งอีกทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 224 บัญญัติว่า หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์มีสิทธินำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อคดียังมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลยทั้งสองและพิพากษาคดีในวันเดียวกัน ข้อเท็จจริงในคำฟ้องคำให้การและเอกสารที่ศาลชั้นต้นรับไว้จึงไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) และมาตรา 247
เมื่อคดียังมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลยทั้งสองและพิพากษาคดีในวันเดียวกัน ข้อเท็จจริงในคำฟ้องคำให้การและเอกสารที่ศาลชั้นต้นรับไว้จึงไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้, สัญญาค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นไปตามสิทธิที่ธนาคารโจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2524ข้อ2 ฉะนั้นแม้จะถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนและจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระคืนแก่โจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น หนังสือค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบในจำนวนเงินที่กู้ 3,220,000 บาท แทนกัน แต่สัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับได้ระบุจำนวนเงินกู้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 3,220,000 บาทเช่นนี้เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่แบ่งส่วนความรับผิดกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของผู้ให้กู้เป็นโมฆะหากอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดและฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจำนวนนั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินกู้อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยจากการเล่นแชร์ไม่ขัดกฎหมายดอกเบี้ยเกินอัตรา และอายุความฟ้องเรียกค่าแชร์ 10 ปี
โจทก์คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้การเล่นแชร์อัตราร้อยละ 18 ต่อปีได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2475 เพราะไม่ใช่มูลหนี้การกู้ยืมเงินตามความหมายของกฎหมายดังกล่าว อายุความฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์, ผลของการอุทธรณ์เกินกำหนด, และข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง
++ เรื่อง ++++
++ คดีแดงที่ 1968-1969/2537 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน 2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้
เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้
++ คดีแดงที่ 1968-1969/2537 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน 2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น
แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้
เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์นอกกรอบ, การคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, และการพิจารณาข้อตกลงดอกเบี้ยใหม่หลังผิดนัด
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้