คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 654

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: โมฆะเฉพาะส่วนดอกเบี้ย แต่เงินต้นยังใช้บังคับได้
จำนวนต้นเงินในสัญญากู้ได้รวมดอกเบี้ยที่คิดล่วงหน้าและเป็นดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25ต่อเดือนยังคงสมบูรณ์ ปัญหาว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมายจากดอกเบี้ยเกินอัตรา: จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินต้นในสัญญากู้ยืมเงิน ได้รวมดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายไม่อาจบังคับชำระได้รวมอยู่ด้วย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้จากดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย เช็คเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งค่าผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวก็คือดอกเบี้ยซึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อเช็คพิพาทมีมูลหนี้ที่เกิดจากดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3(ก) มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับแม้ส่วนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องเห็นได้ว่ามีสองส่วน คือส่วนการกู้เงินกับส่วนการเรียกดอกเบี้ย ส่วนการกู้เงินไม่ผิดกฎหมายแต่ส่วนการเรียกดอกเบี้ยโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ สองส่วนนี้แยกต่างหากจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ดังนั้น ต้นเงินจึงไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนที่สมบูรณ์แยกต่างหากจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยได้เสมอไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ดอกเบี้ยกันหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมายเมื่อสัญญากู้ถึงกำหนดชำระคืนในวันที่ 8 มีนาคม 2529 จำเลยไม่ชำระย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ต่อมาเมื่อถึงกำหนด จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่พิพาท โดยตีราคาที่พิพาทเท่ากับยอดรวมของต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ดังนี้สัญญาซื้อขายที่พิพาทจึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้ราคาบางส่วนคือเงินต้นจะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเท่ากับต้นเงินที่ค้างชำระ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 13,800 บาทเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654จึงตกเป็นโมฆะ สัญญาซื้อขายที่พิพาทกำหนดราคาเท่ากับต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ จึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้ราคาที่กำหนดในสัญญาจะรวมเอาต้นเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับไว้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาจะแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเงินต้น 10,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระอยู่ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย: บทบาทการนำสืบหลักฐานประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลังที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลสามารถรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่นำสืบความข้อนี้ให้ปรากฏต่อศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปีซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเช่าและการคิดดอกเบี้ยเบี้ยปรับในสัญญาเช่า: โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากวัตถุประสงค์บริษัทครอบคลุมการให้เช่า
หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 14 ระบุว่า ประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์และเครื่องมือช่างทุกประเภท เครื่องมือทาสีเครื่องตกแต่งอาคารทุกชนิด วัตถุประสงค์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบการค้าเพื่อหารายได้จากวัสดุก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างทั่วไป และการค้าหมายถึงการดำเนินการด้วยวิธีการต่าง ๆโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หาได้จำกัดเฉพาะการซื้อหรือขายเท่านั้นไม่ การที่โจทก์ให้เช่าแผ่นเหล็กกันดินอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างจึงเป็นการหารายได้วิธีหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค่าเสียหาย และค่าขนย้ายทรัพย์สิน หาใช่ฟ้องเรียกเงินกู้ ดอกเบี้ยตามสัญญายอมเสียให้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีจึงเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และหนังสือยินยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
of 23