คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 654

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ดอกเบี้ย: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องได้รับการตกลงยินยอมจากลูกหนี้
สัญญากู้เป็นสัญญาสองฝ่าย เมื่อตามสัญญากู้ไม่มีเงื่อนไขให้จำเลยคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ได้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ แม้จะมีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จำเลยจะเรียกเก็บได้เกินกว่าที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ แต่จำเลยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยตามอัตราที่เปลี่ยนแปลงใหม่โดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยหาได้ไม่ จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดไป 1 วัน คำเบิกความของช. ไม่ควรรับฟังและจำนวนวันที่คำนวณดอกเบี้ยเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าที่ถูกต้องควรคำนวณอย่างไร เป็นดอกเบี้ยเท่าใด และคำขอ ช.ไม่ควรรับฟังอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, การหักทอนบัญชี, สิทธิของธนาคารพาณิชย์
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงกันในลักษณะบัญชี เดินสะพัดและปฏิบัติการหักทอนบัญชีกันตลอดมา โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ จึง มีสิทธิคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แต่ ไม่เกิน อัตรา สูงสุด ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและคิด ดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีของธนาคาร แม้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะกำหนดให้ชำระหนี้กันหมดสิ้น ภายในวันที่ 30 มกราคม 2528 ก็ตาม แต่ปรากฏตามการ์ดบัญชี เงินฝาก กระแสรายวันว่า หลังจากวันนั้นยังมีทั้งการถอนเงินจากบัญชี และ การ นำ เงิน เข้าบัญชี แสดงว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะให้มีการเดินสะพัด ทาง บัญชี กัน ต่อไปบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และแม้ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2528แล้ว จะปรากฏตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่า มี เฉพาะ การ นำเข้าบัญชีเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีการถอนเงิน จาก บัญชี อีก เลย ก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดง เจตนา บอกเลิก สัญญา แก่ อีกฝ่าย หนึ่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่าง โจทก์จำเลยทั้งสองจึงยังไม่เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่มีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ หากแยกต้นเงินออกจากดอกเบี้ยได้
จำเลยรู้เห็นยินยอมให้โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมกับต้นเงินกรอกลงในสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยเป็นความผิดตามกฎหมายต่างหาก ซึ่งแยกออกจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ต้นเงินเป็นส่วนที่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ น.ส.3 ที่จำเลยมอบให้โจทก์ไว้เป็นประกันการกู้ยืม ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเพราะไม่ใช่เอกสารที่แสดงในตัวเองว่ามีการกู้ยืมเงินกัน การที่โจทก์คืน น.ส.3 ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการเวนคืนหลักฐานแห่งการกู้ยืม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ – การขึ้นอัตราดอกเบี้ย – การแปลงหนี้ – ผลผูกพันสัญญา
ตามสัญญากู้ มีข้อความว่า "และถ้า ต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น..." ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มให้จำเลยทราบแล้วอีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มก็ไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามข้อสัญญาดังกล่าวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย: สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงในสัญญาและการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
สัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเพียงแต่แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราที่เพิ่มมากขึ้นได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการขอเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยผู้กู้ทราบแล้ว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอเพิ่มขึ้นไปนั้นไม่เกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขข้อสัญญาดังกล่าว โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี โมฆะ
สัญญากู้ระบุให้ตกลงคิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอัตราดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475ดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดถือเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะยอมรับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000 บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ แม้จำเลยยอมรับชำระ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้ เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธสัญญากู้และการแปลงหนี้ รวมดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นต้นเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยสัญญากู้เป็นโมฆะ
จำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ โจทก์จำเลยจึงตกลงแปลงหนี้ตามสัญญากู้นั้น ซึ่งรวมดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้นมาเป็นต้นเงินกู้ด้วย ดังนี้ ส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราและคิดโดยวิธีทบต้น จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113มาตรา 654 และมาตรา 655 จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 5,080 บาท แต่หนี้ที่จำเลยชำระเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่คิดโดยวิธีทบต้น เพราะหลังจากชำระเงินจำนวนนั้นให้โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าต้นเงินกู้ได้ลดลงแต่ประการใดดังนั้น จำนวนเงินที่จำเลยชำระจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามอำเภอใจจะนำเงินจำนวนนั้นมาหักต้นเงินกู้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ไม่ได้ทั้งจะนำมาหักหนี้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดก็ไม่ได้ด้วย เพราะจำเลยมิได้ชำระดอกเบี้ยจำนวนนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, การฟ้องคดี, ดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมาย
การที่จำเลยแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมที่จังหวัดบุรีรัมย์แล้วไม่แจ้งแย้งเข้าบ้านตามที่แจ้งไว้ในกรุงเทพมหานคร จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยไปอยู่ที่ใด ทั้งยังได้ความว่า จำเลยแจ้งย้ายออกเฉพาะตัวจำเลยคนเดียว มิได้แจ้งย้ายครอบครัวไปด้วย แสดงว่าไม่มีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่ และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนา ต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาครั้งสุดท้ายอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ได้
แม้ข้อตกลงในสัญญากู้ที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจะตกเป็นโมฆะมีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญาได้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นหนี้เงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้ดอกเบี้ยตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 23