คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 654

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน, อาวัล, เช็คไม่ใช้เงิน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย
บริษัทจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้ออกตั๋วแล้วประทับตราของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังลงชื่อไว้ในฐานะส่วนตัวภายใต้ข้อความว่าใช้ได้เป็นอาวัล ด้วยเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1โดย ท.และส. ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนได้สั่งจ่ายเช็คและประทับตราของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและ ท.กับส. ชำระเงินให้โจทก์เพียงบางส่วน หนี้ที่ยังค้างอยู่ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ระงับไปเพราะหนี้ที่ชำระด้วยเช็คจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อเช็คนั้นได้มีการใช้เงินครบถ้วนแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินยังไม่ระงับจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันด้วยอาวัลจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุไว้แต่เพียงว่า ดอกเบี้ยร้อยละ 14จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยก็ต้องคิดเป็นอัตราร้อยละต่อปี โจทก์นำสืบว่าเป็นอัตราที่กำหนดไว้ต่อปี โดยจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ยังบัญญัติห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ฉะนั้นที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 14 จึงมีความหมายที่เข้าใจได้ว่าร้อยละ 14 ต่อปีไม่ใช่เป็นการไม่กำหนดอัตราที่จะต้องเสียดอกเบี้ยไว้ให้ชัดแจ้งอันจะต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามประเพณีการค้า: ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ แม้โจทก์ยินยอม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง เป็นข้อยกเว้นให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าได้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา จำเลยจะยกความในมาตรานี้เป็นข้ออ้างเพื่อคิดดอกเบี้ยเกินอัตราหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระเงินค่าข้าวโพดส่วนหนึ่งที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำเลยให้การว่าเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยมีสิทธิหักได้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า 'จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใด' ดังนี้การวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยมีสิทธิหักดอกเบี้ยไว้หรือไม่ปัญหาดอกเบี้ยเกินอัตราจึงเป็นเรื่องที่ได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น นอกจากนี้ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้ว่ากล่าวในศาลชั้นต้น คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายและการคิดดอกเบี้ยหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขดอกเบี้ยเป็นอัตราตามกฎหมาย
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระแล้วไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย สัญญาจำนอง และอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เกินกฎหมายกำหนด สัญญาดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิม ชื่อ บริษัท ท. จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อ เป็นบริษัทเงินทุน ท. จำกัดโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตก เป็นโมฆะ โจทก์ย่อมหมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของบริษัทเงินทุนที่ไม่ได้รับการระบุเป็นสถาบันการเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ศาลมีอำนาจปรับปรุงสัญญาและจำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: การชำระหนี้โดยสมัครใจไม่มีสิทธิเรียกคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
of 23