คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 654

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2 ว่าผู้กู้ ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5 ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้นแต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะเพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันผิดนัด
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 บาท ต่อสัปดาห์เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ ดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยนั้นตั้งแต่วันทำสัญญาแต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่ง ยังไม่ชำระและตามสัญญากู้ได้ระบุวันชำระหนี้ไว้โจทก์ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นความสมัครใจ แต่ไม่มีสิทธิเรียกคืน และประเด็นฟ้องซ้ำ
การชำระดอกเบี้ยเงินกู้ไปร้อยละ 2 ต่อเดือน แม้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่ก็เป็นเรื่องที่ชำระหนี้ด้วยความสมัครใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องทายาทของผู้กู้(ซึ่งถึงแก่กรรม)เรียกต้นเงินและดอกเบี้ยตั้งแต่วันค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคือวันที่ 26 กรกฎาคม 2513 ทายาทยอมใช้เงินต้นที่ค้างและดอกเบี้ยตามฟ้อง ต่อมาทายาททราบว่าจำเลยได้รับชำระดอกเบี้ยไปก่อนวันที่ 26 กรกฎาคม 2513 จำนวนหนึ่งแล้ว จึงฟ้องเรียกเงินนั้นคืน ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะมิใช่เป็นคดีที่มีประเด็นอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องดอกเบี้ย การสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญา
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายได้
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864-2865/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามเช็คที่แก้ไข & ตั๋วสัญญาใช้เงิน การหักส่วนลดค่าธรรมเนียม
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 10,000 บาทเป็น 110,000 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นผู้แก้ไข แต่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้ค่าผ้าเจ้าหนี้อยู่ 10,000 บาท และได้ออกเช็คฉบับดังกล่าวให้เจ้าหนี้ไว้จริง ดังนี้ แม้เช็คฉบับดังกล่าวจะเสียไปเพราะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่อีก 10,000 บาทเช่นนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าว
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาจะจ่ายเป็นงวด ๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนมีไว้ก่อนหรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลัง ผลก็เป็นอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864-2865/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามเช็คแก้ไขและตั๋วสัญญาใช้เงิน หักส่วนลดค่าธรรมเนียม
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 10,000 บาทเป็น 110,000 บาท โดยฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นผู้แก้ไข แต่ลูกหนี้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้ค่าผ้าเจ้าหนี้อยู่ 10,000 บาท และได้ออกเช็คฉบับดังกล่าวให้เจ้าหนี้ไว้จริง ดังนี้ แม้เช็คฉบับดังกล่าวจะเสียไปเพราะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่อีก 10,000 บาทเช่นนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในเงินจำนวนดังกล่าว
การที่ลูกหนี้ได้ยืมเงินและออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ไว้จำนวนหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะจ่ายเป็นงวดๆ ทุกเดือน ถ้าผิดนัดงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และจะยอมชำระดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน แต่ลูกหนี้ได้รับเงินไปไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพราะเจ้าหนี้ได้หักเป็นค่าธรรมเนียมส่วนลดเสียก่อนร้อยละ 13 นั้น เป็นผลประโยชน์ที่ลูกหนี้ยินยอมมอบให้แก่เจ้าหนี้เพื่อตอบแทนในการที่เจ้าหนี้ยอมให้กู้ หาใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไว้ก่อนไม่ และการหักเงินผลประโยชน์จำนวนนี้ไว้ก่อน หรือมอบเงินเต็มจำนวนที่กู้ยืมให้ แล้วลูกหนี้จึงมอบกลับคืนเป็นค่าผลประโยชน์ตอบแทนในภายหลังผลก็เป็นอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินอัตราและทบต้นเป็นโมฆะ ส่วนที่สมบูรณ์บังคับได้
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกับใบรับนั้นเสีย ดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการพิสูจน์การชำระหนี้ด้วยพยานบุคคล
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้ แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกินใบรับนั้นเสียดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาท เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตราและคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654,655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาทนั้น ยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่สมบูรณ์ แต่ต้นเงินยังใช้บังคับคดีได้ สัญญาไม่ตกเป็นโมฆะ
ยอดเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งแยกได้ว่าเป็นต้นเงินที่แท้จริงจำนวนหนึ่ง และดอกเบี้ยล่วงหน้าซึ่งเรียกเกินอัตราผิดกฎหมายจำนวนหนึ่งนั้น หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นหนี้ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้ต้นเงินยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ และในส่วนที่สมบูรณ์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้ (อ้างฎีกาที่ 1238/2502)
of 23