พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9770/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการได้รับใบสำคัญแสดงการทำงานและดอกเบี้ยเงินประกันการทำงานหลังลาออก
หลังจากการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงด้วยการลาออก จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ขอ โจทก์ชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 585
ที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินประกัน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันลาออกจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ตรงกับเนื้อหาส่วนคำวินิจฉัยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามฟ้อง ทั้งเมื่อโจทก์ลาออกมีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันลาออกดังกล่าว คือต้องคืนเงินประกันการทำงานภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 หากจำเลยที่ 1 ไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายในวันดังกล่าวจะต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง กรณีดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 จ่ายคืนเงินประกันการทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินประกัน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันลาออกจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ตรงกับเนื้อหาส่วนคำวินิจฉัยที่ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามฟ้อง ทั้งเมื่อโจทก์ลาออกมีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันลาออกดังกล่าว คือต้องคืนเงินประกันการทำงานภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 หากจำเลยที่ 1 ไม่คืนเงินประกันการทำงานแก่โจทก์ภายในวันดังกล่าวจะต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 10 วรรคสอง กรณีดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 จ่ายคืนเงินประกันการทำงานพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลความไม่ไว้วางใจจากการอนุมัติสินเชื่อที่ไม่ชอบธรรม และสิทธิในการได้รับหนังสือรับรองการทำงาน
การที่โจทก์อนุมัติสินเชื่อให้แก่นางสาว ร. แล้วโอนเงินมาชำระหนี้ส่วนตัวให้โจทก์ แล้วต่อมาหนี้รายของ นางสาว ร. กลายเป็นหนี้เสียนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยมีเหตุอันควรไม่ไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นผลทำให้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 585 แต่นายจ้างไม่จำต้องระบุข้อความว่าลูกจ้างมิได้กระทำผิดไว้ในหนังสือสำคัญแสดงการทำงาน
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นผลทำให้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 585 แต่นายจ้างไม่จำต้องระบุข้อความว่าลูกจ้างมิได้กระทำผิดไว้ในหนังสือสำคัญแสดงการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจ้างแรงงาน การออกใบสำคัญแสดงการทำงาน และความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากการประวิงการออกใบสำคัญ
โจทก์ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2540 โดยขอลาออกตั้งแต่วันที่ 16เมษายน 2540 เป็นต้นไป การที่โจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติแต่อย่างใด การเลิกสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ในใบลาออกนั้นการจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 16 เมษายน 2540 เมื่อการจ้างสิ้นสุด โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าโจทก์ได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 ในวันที่การจ้างสิ้นสุดลง การที่จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540 ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแต่การกระทำของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่มีสิทธิระบุเหตุผลการเลิกจ้างในใบสำคัญการทำงาน ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อประโยชน์ลูกจ้าง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะให้นายจ้างออกใบสำคัญการทำงานโดยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง บทบัญญัติดังกล่าวหาใช่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะออกใบสำคัญการทำงานด้วยข้อความใด ๆ ตามความประสงค์ของนายจ้างให้ผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่นายจ้างย่อมไม่มีสิทธิระบุข้อความลงในใบสำคัญการทำงานว่าได้เลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดด้วยวิธีใดและสาเหตุใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการได้รับใบสำคัญการทำงานตามกฎหมาย นายจ้างไม่อาจระบุข้อความอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 585 เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะให้นายจ้างออกใบสำคัญการทำงานโดยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง บทบัญญัติดังกล่าวหาใช่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะออกใบสำคัญการทำงานด้วยข้อความใด ๆ ตามความประสงค์ของนายจ้างให้ผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่นายจ้างย่อมไม่มีสิทธิระบุข้อความลงในใบสำคัญการทำงานว่าได้เลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดด้วยวิธีใดและสาเหตุใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272-274/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาจากเหตุที่นายจ้างอ้างในขณะเลิกจ้างเท่านั้น แม้มีเหตุอื่นก็ใช้ไม่ได้
การพิจารณาว่าโจทก์ทั้งสามออกจากงานโดยมีความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากเหตุที่จำเลยที่ 1 นำมาอ้างในขณะที่ให้โจทก์ทั้งสามออกจากงานว่าโจทก์ทั้งสามได้กระทำผิดตามเหตุที่อ้างนั้นหรือไม่ เหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะใช้เป็นเหตุให้ออกจากงาน จึงไม่ต้องนำมาพิจารณา ฉะนั้น เหตุที่ว่าโจทก์ทั้งสามปฏิบัติงานโดยฝ่าฝืนข้อบังคับว่าด้วยระเบียบพนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย อันเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 มิได้อ้างไว้ขณะให้โจทก์ทั้งสามออกจากงานจึงนำมาพิจารณาประกอบการจ่ายเงินบำเหน็จโดยถือว่าเป็นเหตุสืบเนื่องกัน เพื่อให้มีผลว่าโจทก์ทั้งสามออกจากงานโดยมีความผิด และไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยที่ 1 ย่อมมิได้ เพราะถือว่า เหตุดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะยกมาเป็นเหตุในการให้โจทก์ทั้งสามออกจากงานเสียแต่ต้นแล้วจึงไม่อาจนำมาพิจารณาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิได้รับใบสำคัญการทำงาน แม้เป็นงานทดลอง
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างซึ่งจำเลยรับเข้าทดลองทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว ก็ถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงจำเลยต้องออกใบสำคัญการทำงานให้แก่โจทก์