คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ นำเงินที่ชำระแล้วหักจากต้นเงินได้
แม้ตามสำเนาหนังสือสัญญาจำนองรวมแปดโฉนด ข้อ 5 ระบุให้สัญญาฉบับนี้เป็นหลักฐานการกู้เงิน ข้อ 6 ระบุว่า ไม่มีดอกเบี้ย กำหนดชำระคืนภายในหนึ่งปี และตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 1 ระบุว่า หากผู้กู้ผิดสัญญากู้โดยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่ผู้ให้กู้ภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนจำนอง ผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนองแก่ผู้ให้กู้ นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น อันเป็นการระบุว่าการกู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งไม่เกินกว่าที่ ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดไว้ก็ตาม แต่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลและพยานวัตถุฟังได้ว่า ในการทำสัญญาจำนองตกลงกันว่าจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย แต่ความจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันทำสัญญาจำนองอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 204,300 บาท แต่พยานขอลดหย่อนเหลือเดือนละ 200,000 บาท โดยโจทก์ให้จำเลยแบ่งชำระเงิน 2 ยอด ยอดแรกชำระ 150,000 บาท อีกยอดชำระ 50,000 บาท โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้เฉพาะยอดเงิน 150,000 บาท เพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นการผิดกฎหมาย ซึ่งต้นเงิน 13,620,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องเสียดอกเบี้ยเดือนละ 170,250 บาท จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่าที่รวบรวมใบเสร็จรับเงินได้ 12 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,150,000 บาท เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะอันเป็นผลทำให้หนี้ตามสัญญาบางส่วนไม่สมบูรณ์ อันเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย การรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้บางส่วนที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบจำนวนเงินกู้ที่ไม่ตรงกับสัญญากู้ยืม ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร แต่เป็นการโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของหนี้
ที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 7,000,000 บาท แต่ถูกโจทก์และ น. ฉ้อฉลให้ทำสัญญากู้ยืมเงิน 16,000,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากเอกสาร การค้ำประกัน และผลกระทบต่อความรับผิดในสัญญากู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชอบตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากโจทก์ แต่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินมอบให้โจทก์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ เพื่อให้ผ่อนผันการจับกุม ย. ตามหมายจับของศาล และเพื่อค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ หรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย หาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบไม่
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางขึ้นอ้างไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นนิติกรรมอำพรางการค้ำประกัน แต่การค้ำประกันตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็หมายถึงการค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ และก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งในเบื้องต้นแล้วว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นการนอกประเด็นหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญาเช่าด้วยพยานบุคคล: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าการสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบสัญญาเช่าไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน แม้ว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยให้การว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่า หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินนั้นไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อแรกว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าที่ดินพิพาทโจทก์หรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวนี้นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินดังกล่าวว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยผู้เช่าย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วรับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าที่ดินพิพาท ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม 10,000 บาทรวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้ จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยคดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาความจริงเพื่อความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14เป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานย่อมขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องการปลอมแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วยจำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้วเดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดินแต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วยศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่าวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วและนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีกดังนี้คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่าขายบ้านพิพาทด้วยก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเองจำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตามจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเรื่องการซื้อขายบ้านที่เพิ่มเติมในสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วย จำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้ว เดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดิน แต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วย ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่า วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้ว และนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีก ดังนี้ คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่า ขายบ้านพิพาทด้วย ก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเอง จำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลย จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตาม จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7974/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่สมบูรณ์และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องค่ามัดจำที่ดิน ศาลฎีกาอนุญาตให้สืบพยานได้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินและไม่เคยรับเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์เป็นค่ามัดจำที่โจทก์ซื้อที่ดินของจำเลยแต่ตกลงกันทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้เพราะหากจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ได้ยอมให้โจทก์บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อเรียกค่ามัดจำคืนจำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าทำประโยชน์แล้วแต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินที่เหลือตามกำหนดจำเลยจึงบอกเลิกการขายที่ดินและริบเงินมัดจำโจทก์จะนำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่สมบูรณ์จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลเข้านำสืบตามข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้าย
of 4