คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลอมแต่มีผลผูกพันบางส่วน: ศาลใช้สัญญาเดิมก่อนแก้ไขเป็นหลัก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 2,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงจำเลยกู้เพียง 1,000 บาท ได้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์ซึ่งได้ลงจำนวนเงินไว้แล้ว แต่ไม่กรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ได้มีการแก้ไขจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม ดังนี้ แม้เอกสารสัญญากู้ได้ถูกแก้และเป็นเอกสารปลอม แต่ก่อนมีการแก้เอกสารนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000 บาท ตามสัญญาที่ทำไว้เดิมก่อนมีการแก้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกา 761/2509 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นตามตกลงทำให้หนี้ระงับสิ้นไป
คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เอามารวมเป็นต้นเงินกู้ในสัญญา. ดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งหมด มิใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกิน (อ้างฎีกาที่478/2488).
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน 14,000 บาท. จำเลยให้การว่ากู้และรับเงินเพียง 10,000 บาท. ส่วนอีก 4,000 บาทเอาดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 8 เดือน มารวมเข้าเป็นเงินต้นด้วย. เป็นคำให้การที่ต่อสู้ถึงหนี้ตามสัญญากู้ 4,000 บาท ว่าไม่สมบูรณ์.
การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์. คู่ความมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างได้.
การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรของเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้กับบุตรมีสิทธิจะได้รับ. แล้วเอามาหักชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้. มิใช่เป็นกรณีเจ้าหนี้ตั้งตัวแทนรับชำระหนี้. แต่เป็นการตกลงที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321.หนี้นั้นย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่น หนี้ระงับสิ้น
คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เอามารวมเป็นต้นเงินกู้ในสัญญา ดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งหมด มิใช่เป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกิน (อ้างฎีกาที่ 478/2488)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน 14,000 บาท จำเลยให้การว่ากู้และรับเงินเพียง 10,000 บาท ส่วนอีก 4,000 บาทเอาดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อเดือน จำนวน 8 เดือน มารวมเข้าเป็นเงินต้นด้วย เป็นคำให้การที่ต่อสู้ถึงหนี้ตามสัญญากู้ 4,000 บาท ว่าไม่สมบูรณ์
การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์ คู่ความมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างได้
การที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้โดยวิธีที่ลูกหนี้มอบฉันทะให้บุตรของเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้กับบุตรมีสิทธิจะได้รับ แล้วเอามาหักชำระหนี้เงินกู้แทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ มิใช่เป็นกรณีเจ้าหนี้ตั้งตัวแทนรับชำระหนี้ แต่เป็นการตกลงที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 หนี้นั้นย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขจำนวนเงินในหลักฐานกู้ยืม ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ แม้จะเพิ่มจำนวนเงินภายหลัง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่งต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้นทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิมคือ จำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขัดแย้ง – เจตนาไม่ชัดเจน – ศาลต้องสืบพยาน
เมื่อข้อความในสัญญาฉบับเดียวกันขัดแย้งกันเอง และไม่ชัดเจนพอที่จะพิจารณาถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ศาลจะให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียโดยพิจารณาแต่เพียงตัวสัญญาเท่านั้นย่อมไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลต้องสืบพยานต่อไปตามข้อต่อสู้ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จากข้อตกลงที่ไม่ชัดเจนและการกรอกข้อความเกินจริง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้ ความจริงโจทก์ให้เงินจำเลยไปหากำไรทางดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ ให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในช่องผู้ค้ำประกันด้านหลังโดยยังไม่ได้กรอกข้อความและวันเดือนปีหรือลงจำนวนเงินในสัญญากู้นั้นเลย โจทก์สมคบกับพยานและผู้เขียนกรอกข้อความและจำนวนเงินปลอมขึ้นดังนี้ การที่จำเลยสืบตามข้อต่อสู้นี้ไม่ถือว่าจำเลยนำสืบเจตนาเป็นอย่างอื่น แต่เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุแห่งสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันนั้นว่าไม่สมบูรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
การที่โจทก์มากรอกข้อความลงในสัญญากู้และค้ำประกันในจำนวนเงินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้และค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิมด้วยการกู้ยืมเงินและมอบรถยนต์เป็นประกัน โดยจำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขายได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขายรถยนต์ปอนเตี๊ยกจึงเรียกเงินมัดจำคืนจำเลยต่อสู้ว่ากู้เงินโจทก์ 15,000บาทเอารถฮิลแมนประกันแล้วกู้อีก 10,000 บาทเอารถปอนเตี๊ยกประกันต่อมาจำเลยชำระคืน 15,000 บาทโจทก์คืนรถปอนเตี๊ยกให้แล้วโจทก์ยึดรถฮิลแมนของจำเลยโอนเป็นของโจทก์ โจทก์ยังจะต้องคืนเงินให้จำเลยอีก5,000 บาทข้อต่อสู้ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ดังนี้ จำเลยจะนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญาซื้อขายท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญาซื้อขาย - จำเลยมิได้ต่อสู้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย จึงไม่อาจนำสืบเปลี่ยนแปลงสัญญาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขายรถยนต์ปอนเตี๊ยกจึงเรียกเงินมัดจำคืน จำเลยต่อสู้ว่ากู้เงินโจทก์ 15,000 บาท เอารถฮิลแมนประกันแล้วกู้อีก 10 ,000 บาทเอารถปอนเตี๊ยกประกัน ต่อมาจำเลยชำระคืน 15,000 บาท โจทก์คืนรถปอนเตี๊ยกให้ แล้วโจทก์ยึดรถฮิลแมนของจำเลยโอนเป็นของโจทก์ โจทก์ยังจะต้องคืนเงินให้จำเลยอีก 5,000 บาท ข้อต่สู้ของจำเลยมิได้กล่าวอ้างตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ดังนี้ จำเลยจะนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญาซื้อขายท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบังคับสัญญา, การผิดสัญญา, และกลฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการซื้อขายตามสัญญาซื้อขายที่ดิน ถ้าศาลบังคับให้ตามฟ้อง ก็จะมีผลให้โจทก์ได้ที่ดินราคา 3,000 บาทตามสัญญาซื้อขายนั้น คดีเช่นนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ 3,000 บาท
เมื่อจำเลยยอมลงนามในสัญญาซื้อขายไปทั้งๆ ที่ทราบความจริงว่าโจทก์มิได้เขียนข้อกำหนดลงไว้ในสัญญา ว่าโจทก์ผู้ซื้อที่ดินจะต้องปลูกสร้างอาคารเพื่ออยู่อาศัย เช่นนี้ จำเลยจะนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเกี่ยวกับข้อกำหนดเช่นว่านั้นไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยรับเงินค่าซื้อขายที่ดินจากโจทก์ไว้เสร็จสิ้นแล้ว ไม่ยอมไปจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินให้โจทก์ และโจทก์เตือนให้ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จำเลยกลับบอกเลิกสัญญาโดยพลการเพื่อจะได้ไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ เช่นนี้ จำเลยเป็นฝ่ายกระทำการไม่ชอบ โจทก์ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้ต่อกันได้
of 4