คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9797/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: เขตปฏิรูปที่ดินไม่ตัดสิทธิผู้มีกรรมสิทธิ์เดิม
การประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 แม้ทำให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ แต่ไม่เป็นการถอนสภาพที่ดินที่มีผู้ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ใช้บังคับ ดังนั้น แม้จะมีการประกาศเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบริเวณที่ดินพิพาท แต่เมื่อจำเลยที่ 1 อ้างว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 คือ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงฟังไม่ได้ว่ามีการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีข้อจำกัดการโอนสิทธิ: สิทธิครอบครองยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การซื้อขายและการครอบครองเพื่อตนเองไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ที่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ.2515) ข้อ 6 ที่บังคับใช้ในกรณีนี้ในระยะเวลาที่ห้ามโอนนั้นถือได้ว่ารัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นเมื่อบิดาโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ แม้จะรับฟังว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย ก็ไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนมีประมวลกฎหมายที่ดิน สิทธิของผู้เช่า และการฟ้องละเมิด
แม้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 จะบัญญัติว่าที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลใดให้ถือว่าเป็นของรัฐแต่มาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติว่าภายใต้บังคับ มาตรา 6 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้ คุ้มครองถึงผู้รับโอนด้วย บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2485 ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ บิดาโจทก์จึง มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ในฐานะบุตรผู้รับโอนทางมรดก ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทตลอดมาก็ เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในที่พิพาท ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นการกระทำที่ โจทก์ประสงค์จะสละการครอบครอง
การที่บุคคลจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินรายใด อาจเกิด ขึ้นโดยบุคคลนั้นเข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หรือโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้ตามมาตรา 1368. กรณีที่จะมอบให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ให้หรือมอบให้ครอบครองแทน มาตรา 1368 มิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทโจทก์ก็ยังเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่โดยจำเลยเป็นผู้ยึดถือไว้ให้ จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่พิพาทขึ้นใช้ต่อสู้กับโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา 1381 หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี. ครบกำหนดตามสัญญาเช่า แล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้ จำเลยทราบแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็น การละเมิดต่อสิทธิของโจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า ดังนี้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการกล่าวอ้างว่า การที่ จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาภายหลังที่ครบกำหนดสัญญาเช่าและ โจทก์ได้บอกกล่าวแล้วเป็นการอยู่ต่อมาโดยไม่มีสิทธิ เป็นการละเมิดซึ่งพอจะเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่าฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน สิทธิของผู้เช่า และการฟ้องละเมิด
แม้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 จะบัญญัติว่าที่ดิน ซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลใดให้ถือว่าเป็นของรัฐแต่มาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็บัญญัติว่าภายใต้บังคับ มาตรา 6 บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้ คุ้มครองถึงผู้รับโอนด้วย บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2485 ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ บิดาโจทก์จึง มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมสิทธิครอบครองที่พิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ในฐานะบุตรผู้รับโอนทางมรดก ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทตลอดมาก็ เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในที่พิพาท ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นการกระทำที่ โจทก์ประสงค์จะสละการครอบครอง
การที่บุคคลจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินรายใด อาจเกิด ขึ้นโดยบุคคลนั้นเข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หรือโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้ตามมาตรา 1368. กรณีที่จะมอบให้ผู้อื่นยึดถือไว้ ให้หรือมอบให้ครอบครองแทน มาตรา 1368 มิได้กำหนดแบบไว้ แต่อย่างใดการที่โจทก์ให้จำเลยเช่าที่พิพาทโจทก์ก็ยังเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่โดยจำเลยเป็นผู้ยึดถือไว้ให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าจะอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ที่พิพาทขึ้นใช้ต่อสู้กับโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม มาตรา 1381 หาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี. ครบกำหนดตามสัญญาเช่า แล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้ จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย การกระทำของจำเลยเป็น การละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ภายหลัง ที่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า ดังนี้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการกล่าวอ้างว่า การที่ จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาภายหลังที่ครบกำหนดสัญญาเช่าและ โจทก์ได้บอกกล่าวแล้วเป็นการอยู่ต่อมาโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดซึ่งพอจะเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่ภายหลังที่ครบกำหนด ตามสัญญาเช่า ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้ขาดตัดสินนอกประเด็น: ศาลมิควรวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้
คำให้การของจำเลยต่อสู้เพียงว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่พิพาท คดีจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ว่าโจทก์ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าจนหมดสิทธิในที่พิพาท และที่พิพาทได้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ฉะนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่พิพาทหรือปล่อยให้ที่พิพาทรกร้างว่างเปล่า จนตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลชั้นต้นยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการชี้ขาดตัดสินนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้ขาดตัดสินนอกประเด็นคดีที่ดิน: ประเด็นเจ้าของที่ดินสำคัญกว่าการทอดทิ้ง
คำให้การของจำเลยต่อสู้เพียงว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่พิพาท คดีจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ว่าโจทก์ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าจนหมดสิทธิในที่พิพาทและที่พิพาทได้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ฉะนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ในที่พิพาทหรือปล่อยให้ที่พิพาทรกร้างว่างเปล่าจนตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่เป็นประเด็นในคดี ศาลชั้นต้นยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการชี้ขาดตัดสินนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสาธารณะ: การครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ, สิทธิรัฐเหนือกว่า, การบังคับคดี
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ. แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด.
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน. ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้.
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด. ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน.
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา.
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้. แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่.
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา. หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสาธารณะ: การครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ การครอบครอง และสิทธิในการบังคับคดี: ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิ แม้ชนะคดีกับราษฎร
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน. ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด. ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-195/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการอ้างข้อเท็จจริงใหม่ขัดกับคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องใหม่
คดีที่ศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับและให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถางเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษากล่าวคือ ยังคงครอบครองป่าที่ศาลสั่งให้ออกอยู่ โจทก์จึงมีคำขอต่อศาลให้บังคับคดีศาลย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นบังคับคดีแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โดยไม่จำเป็นจะต้องให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในทางแพ่งขึ้นมาใหม่ จำเลยจะอ้างว่าตนได้ครอบครองที่ป่ามาช้านานจนกลายเป็นที่นาดังนี้ถือว่า เป็นการอ้างข้อเท็จจริงมาใหม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในทางพิจารณาหากจะฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมา ก็เท่ากับให้ดำเนินคดีกับจำเลยใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190โดยห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
of 5