พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10098/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลยกคำพิพากษาเดิมที่ออกภายหลังการยื่นฎีกา และพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 และนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นใหม่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา และต่อมาจำเลยได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยเลือกที่จะใช้สิทธิฎีกาเพื่อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นต้องงดการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คือ การทำคำพิพากษาศาลชั้นต้นฉบับใหม่เพื่อรอให้คู่ความดำเนินการใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยฎีกาว่า โจทก์อ้างส่งรายงานกระบวนพิจารณาคดีของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ตามท้ายอุทธรณ์โดยมิได้นำสืบในศาลชั้นต้น และส่งสำเนาให้จำเลย ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ชอบนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทำคำฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคมิใช่คำฟ้องคดีแพ่งสามัญ ถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลแพ่งต้องมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องนั้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุศาลแพ่งไม่รับฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคมิใช่เพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง เห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นกรณีศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 โดยรับฟังคำเบิกความของ ส. ซึ่งเบิกความว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยศาลอุทธรณ์เพียงนำเอาสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ท้ายอุทธรณ์มาประกอบเพื่อยืนยันว่าคำเบิกความของ ส. ซึ่งเบิกความว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยศาลอุทธรณ์เพียงนำเอาสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ท้ายอุทธรณ์มาประกอบเพื่อยืนยันว่ามีน้ำหนักเนื่องจากเบิกความสอดคล้องกับเอกสารดังกล่าว ศาลอุทธรณ์มิได้นำเอกสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานดังที่จำเลยฎีกา
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อมาว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดค่าสินไหมทดแทน บทกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันเกิดวินาศภัย โจทก์จึงต้องยื่นฟ้องคดีภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความสองปี แต่อายุความครบกำหนดในระหว่างการส่งคำฟ้องให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อศาลแพ่งอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 8 พร้อมกับคำสั่งไม่รับฟ้องให้จำหน่ายคดีในวันที่ 22 กันยายน 2551 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 22 ตุลาคม 2551 ยังไม่เกินหกสิบวัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความนั้นชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า โจทก์อ้างส่งรายงานกระบวนพิจารณาคดีของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ตามท้ายอุทธรณ์โดยมิได้นำสืบในศาลชั้นต้น และส่งสำเนาให้จำเลย ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ชอบนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทำคำฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคมิใช่คำฟ้องคดีแพ่งสามัญ ถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลแพ่งต้องมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องนั้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุศาลแพ่งไม่รับฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคมิใช่เพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง เห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นกรณีศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 โดยรับฟังคำเบิกความของ ส. ซึ่งเบิกความว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยศาลอุทธรณ์เพียงนำเอาสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ท้ายอุทธรณ์มาประกอบเพื่อยืนยันว่าคำเบิกความของ ส. ซึ่งเบิกความว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยศาลอุทธรณ์เพียงนำเอาสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ท้ายอุทธรณ์มาประกอบเพื่อยืนยันว่ามีน้ำหนักเนื่องจากเบิกความสอดคล้องกับเอกสารดังกล่าว ศาลอุทธรณ์มิได้นำเอกสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานดังที่จำเลยฎีกา
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อมาว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดค่าสินไหมทดแทน บทกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันเกิดวินาศภัย โจทก์จึงต้องยื่นฟ้องคดีภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความสองปี แต่อายุความครบกำหนดในระหว่างการส่งคำฟ้องให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อศาลแพ่งอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 8 พร้อมกับคำสั่งไม่รับฟ้องให้จำหน่ายคดีในวันที่ 22 กันยายน 2551 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 22 ตุลาคม 2551 ยังไม่เกินหกสิบวัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ และกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: กรณีพนักงานสอบสวนในเขตอำนาจศาล
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่งเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใดศาลหนึ่งก็ได้ ส่วนกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคห้านั้น ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวและคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วพนักงานอัยการมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสามด้วยแต่ถ้าในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนมีศาลเยาวชนและครอบครัวอยู่ในเขตอำนาจแล้วแม้จะมีศาลเยาวชนและครอบครัวอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นได้ด้วยตามมาตรา 58 ก็ตามกรณีจะนำบทบัญญัติในมาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับหาได้ไม่และหากพนักงานอัยการมีเหตุ จำเป็นไม่สามารถฟ้องจำเลยต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับถูกแล้ว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวใดศาลหนึ่งได้ตามมาตรา 51 วรรคสองและวรรคสาม คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลปากคลองรังสิต อำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้จับกุมจำเลย ดังนั้น พนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธร ตำบลปากคลองรังสิต จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยจึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 51 วรรคห้า มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุมโดยมิได้ขอผัดฟ้องหรือมิได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายอายุความเมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องคดีเนื่องจากไม่มีอำนาจศาล
คำสั่งของศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ไม่รับฟ้องของโจทก์เนื่องจากจำเลยทั้งสองมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล มีความหมายเช่นเดียวกับการที่ศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฟ้องคดีนี้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความสิ้นสุดลงในวันเดียวกันกับที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการสั่งไม่รับฟ้อง อายุความจึงต้องขยายออกไปหกเดือนภายหลังคำสั่งนั้นถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อยังไม่ครบกำหนดหกเดือนของอายุความที่ขยายออกไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลและการปฏิเสธหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นอกจากเป็นเจ้าพนักงานศาลแล้วยังมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินและฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้รวมทั้งกระทำการต่าง ๆ ในนามลูกหนี้อีกฐานะหนึ่งจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องเพื่อให้ผู้ร้องไปยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วันนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้แต่ประการใด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 119 นั้น เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องเพื่อนำไปยื่นตามขั้นตอนที่ถูกต้องศาลก็เพียงแต่ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนคำร้องได้เท่านั้นไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไปกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งต่างกับกรณีการฟ้องคดีต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสาม มาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องในคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา และการฟ้องคดีใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจ
โจทก์รู้ถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527 และได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดรายนี้ต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2528 ภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง จึงเป็นกรณีอายุความฟ้องร้องดังกล่าวได้สิ้นไปในระหว่างพิจารณาของศาลแพ่ง ต้องขยายอายุความนั้นออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษาของศาลแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 จึงไม่ขาดอายุความ