พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,570 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาประกันตัว, การลดค่าปรับ, ค่าฤชาธรรมเนียม, และดอกเบี้ยผิดนัด – ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นเงิน540,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลดค่าปรับตามสัญญาให้ปรับจำเลยเป็นเงิน200,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ขอลดค่าปรับลงอีกโดยอุทธรณ์ว่าค่าปรับไม่ควรเกินสัญญาละ 50,000 บาท รวมสองสัญญาควรเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์ขอให้งดหรือยกเว้นค่าปรับแก่จำเลย ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกเว้นค่าปรับจึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10889/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรโดยเสน่หา ไม่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พระราชกฤษฎีกามิใช่กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เป็นเพียงกฎหมายที่ออกโดยองค์กรฝ่ายบริหารซึ่งอาศัยอำนาจแห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้น บทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาจึงไม่ใช่เป็นบทบัญญัติของกฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 และ 264 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่ต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ตามที่คู่ความร้องขอ
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ให้ถือว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายในทางค้าหรือหากำไร ตามที่มาตรา 91/2 (6) ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 91/2 (6)
พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) ซึ่งออกตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่? แสดงว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มามิได้เป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์ได้ที่ดินมาแล้วโอนที่ดินดังกล่าวให้โดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนไปภายในวันเดียวกัน แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืน ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าว จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย มีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ข้อ 1 (2) และข้อ 1 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 และฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่ต้องคืนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิรับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนค่าภาษีที่ได้รับคืน.
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไร แต่ได้บัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ได้ตราขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ให้ถือว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะใดบ้างที่ถือเป็นการขายในทางค้าหรือหากำไร ตามที่มาตรา 91/2 (6) ให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 91/2 (6)
พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) ซึ่งออกตามความในมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่? แสดงว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มามิได้เป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวจึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์ได้ที่ดินมาแล้วโอนที่ดินดังกล่าวให้โดยเสน่หาแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนไปภายในวันเดียวกัน แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืน ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าว จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย มีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ. 2526) ข้อ 1 (2) และข้อ 1 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 และฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่ต้องคืนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิรับดอกเบี้ยจากเงินค่าภาษีอากรที่ได้รับคืนในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนค่าภาษีที่ได้รับคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10881/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้หลังอายุความขาดแล้ว ไม่ทำให้หนี้เดิมฟื้นคืน แต่เป็นหลักฐานก่อสิทธิเรียกร้องใหม่ อายุความ 2 ปี
จำเลยทำหนังสือให้แก่โจทก์เพื่อรับรองว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าจ้างก่อสร้างค้างชำระแก่โจทก์อยู่ โดยทำหนังสือขึ้นหลังจากมูลหนี้ค่าจ้างก่อสร้างขาดอายุความไปแล้ว จึงไม่ใช่หนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) แต่มีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพความรับผิดที่จำเลยกระทำเป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ อันก่อสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นอื่น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และเห็นว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนนั้นได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
จำเลยได้ยกเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นอื่น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ และเห็นว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนนั้นได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
จำเลยได้ยกเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114-8868/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการจ้างตามปกติวิสัยและผลของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายโบนัสโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์ทั้งหมดและจำเลยมีการตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างทุกปีตลอดมาจนเป็นปกติวิสัยโดยไม่ได้ยึดถือหรือคำนวณจากผลประกอบการหรือกำไรสุทธิเป็นเกณฑ์ แต่ยึดอายุงานและความขยันหมั่นเพียรไม่ขาด สาย ป่วย ลา เกินกำหนด เป็นสำคัญ จึงถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างที่ตกลงกันโดยปริยายซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทั้งหมดดังกล่าวและจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะออกประกาศ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใดให้ขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เมื่อจำเลยออกประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2544 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งหมดมากกว่าสภาพการจ้างเดิม ประกาศของจำเลยฉบับดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแก่โจทก์รายใดจึงขึ้นอยู่กับโจทก์รายนั้น ๆ ให้ความยินยอมรับเอาเงินโบนัสตามประกาศของจำเลยเป็นสำคัญ
เงินโบนัสประจำปีมีประเพณีปฏิบัติกำหนดจ่ายภายในวันสิ้นปี จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้น โจทก์รายที่ยังไม่ได้รับเงินโบนัส และโจทก์รายที่ได้รับเงินโบนัสประจำปีไปแล้วบางส่วน เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัด แม้ได้ความว่าจำเลยได้ปิดประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบอันอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการขอชำระหนี้ก็ตาม แต่ตามประกาศนั้นกำหนดเงินโบนัสที่จะจ่ายน้อยกว่าสิทธิที่โจทก์แต่ละรายจะพึงมีสิทธิได้รับตามข้อตกลงในส่วนที่เป็นสภาพการจ้าง การที่โจทก์เหล่านั้นปฏิเสธจึงมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับเงินโบนัสประจำปีพิพาท เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีตามวันที่กำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
เงินโบนัสประจำปีมีประเพณีปฏิบัติกำหนดจ่ายภายในวันสิ้นปี จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้น โจทก์รายที่ยังไม่ได้รับเงินโบนัส และโจทก์รายที่ได้รับเงินโบนัสประจำปีไปแล้วบางส่วน เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัด แม้ได้ความว่าจำเลยได้ปิดประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบอันอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการขอชำระหนี้ก็ตาม แต่ตามประกาศนั้นกำหนดเงินโบนัสที่จะจ่ายน้อยกว่าสิทธิที่โจทก์แต่ละรายจะพึงมีสิทธิได้รับตามข้อตกลงในส่วนที่เป็นสภาพการจ้าง การที่โจทก์เหล่านั้นปฏิเสธจึงมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับเงินโบนัสประจำปีพิพาท เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีตามวันที่กำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7916/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, การลดเบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการปรับปรุงเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
การที่ธนาคารโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทให้โจทก์เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนอัตราใดอัตราหนึ่งในระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้า หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนในวันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีท เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อทำให้โจทก์ไม่ต้องรับภาระในความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเท่านั้น หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายในต่างประเทศตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวนั้นได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าหรือแม้จะมิได้นำสินค้าออกขายก็ดี จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายแก่โจทก์ ตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ระบุตัวเลขอัตราดอกเบี้ย) นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ข้อความตามสัญญาข้อ 4 นี้ มีลักษณะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ระบุในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท และให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาดังกล่าว ย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็มีสัญญาข้อ 7 ระบุถึงการชำระดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดไว้อีกข้อหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 เป็นข้อสัญญาที่ระบุถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ในการเรียกดอกเบี้ยนี้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดที่ต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 14 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี และส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีนั้น และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนด เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้น โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดสูงสุดได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดหรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุอัตราดอกเบี้ยในขณะทำสัญญาทรัสต์รีซีทเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาตามที่ระบุไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์ดังกล่าว สัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีการระบุอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิทธิแก่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาผิดนัดเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ อันเป็นการทำสัญญาฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด และเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คดีนี้นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตประกอบกับสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว โจทก์ยังฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไป อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปตามประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ ดังนั้น แม้ข้อตกลงตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จะตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยมาข้างต้น แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ และที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้สินในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยที่ 1 ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดไว้สำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาในแต่ละช่วงเวลา แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมจึงถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าหรือแม้จะมิได้นำสินค้าออกขายก็ดี จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายแก่โจทก์ ตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ระบุตัวเลขอัตราดอกเบี้ย) นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ข้อความตามสัญญาข้อ 4 นี้ มีลักษณะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ระบุในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท และให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาดังกล่าว ย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็มีสัญญาข้อ 7 ระบุถึงการชำระดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดไว้อีกข้อหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 เป็นข้อสัญญาที่ระบุถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ในการเรียกดอกเบี้ยนี้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดที่ต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 14 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี และส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีนั้น และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนด เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้น โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดสูงสุดได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดหรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุอัตราดอกเบี้ยในขณะทำสัญญาทรัสต์รีซีทเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาตามที่ระบุไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์ดังกล่าว สัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีการระบุอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิทธิแก่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาผิดนัดเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ อันเป็นการทำสัญญาฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด และเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คดีนี้นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตประกอบกับสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว โจทก์ยังฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไป อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปตามประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ ดังนั้น แม้ข้อตกลงตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จะตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยมาข้างต้น แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ และที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้สินในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยที่ 1 ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดไว้สำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาในแต่ละช่วงเวลา แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมจึงถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ย: ศาลฎีกาวินิจฉัยโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงและประกาศ
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีข้อตกลงว่า เป็นการเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัด ถ้าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายตามเช็ค ตามปกติโจทก์จะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันจ่ายไป จำเลยยอมรับผูกพันตนที่จ่ายเงินส่วนที่เกินคืนโจทก์เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ การคิดดอกเบี้ยเงินส่วนที่เกินบัญชีดังกล่าวมีข้อตกลงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เรียกเก็บได้ ซึ่งขณะทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราตามประกาศของธนาคาร โจทก์ได้ออกประกาศของโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ประเภทต่าง ๆ และออกประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง โดยในกรณีของจำเลย เมื่อพิจารณาจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย บันทึกการคิดอัตราดอกเบี้ย และประกาศของโจทก์แล้วเห็นได้ว่า โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเดียวกับลูกค้าประเภทเบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินและลูกค้าประเภทเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่มีวงเงิน ซึ่งโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวโดยอาศัยข้อตกลงในการขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์จึงทำได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลสั่งดอกเบี้ยตามกฎหมายเมื่อดอกเบี้ยในสัญญาสูงเกินกฎหมาย
ในการที่ธนาคารพาณิชย์ประกอบการธนาคารพาณิชย์นั้นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยเฉพาะในการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาตรา 14 (2) บัญญัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้และหากธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ดังกล่าว ย่อมมีความผิดทางอาญาที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ตามมาตรา 44 และปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 (2) ดังกล่าว คือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ดังนั้นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ข้อ 3 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ สรุปได้ว่าธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้า และอัตราสูงสุดที่จะเรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามที่ประกาศไว้ดังกล่าวแล้วเว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขจึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราที่ธนาคารพาณิชย์นั้นได้ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้นหากลูกค้ามิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ได้ และการฝ่าฝืนนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำความผิดทางอาญาดังกล่าวแล้ว การเรียกดอกเบี้ยเช่นว่านั้นยังเป็นการขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันมีผลให้การกำหนดเรียกดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดซึ่งเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี และเมื่อนำสืบก็ปรากฏว่ามีการคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีท ร้อยละ 19 ต่อปีเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 ดังกล่าวแล้วดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงิน ป.พ.พ. มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดซึ่งเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี และเมื่อนำสืบก็ปรากฏว่ามีการคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีท ร้อยละ 19 ต่อปีเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 ดังกล่าวแล้วดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงิน ป.พ.พ. มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, เงินทดแทนสปส., ดอกเบี้ย, และการคำนวณหนี้ผิดนัด
เงินที่โจทก์ได้รับจากสำนักงานประกันสังคมเป็นค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 18 ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม ได้จำเลยไม่อาจเอาค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับดังกล่าวมาขอลดหย่อนค่าขาดไร้อุปการะได้
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาขายฝาก, ลาภมิควรได้, การคืนเงิน, ดอกเบี้ยผิดนัด, เพิกถอนทะเบียน
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดิน น.ส.3 ตกเป็นโมฆะ การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับกล่าวคือ ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งก็ต้องคืนเต็มจำนวนนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ เพราะเป็นหนี้เงิน แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนเงินที่รับไว้และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วตั้งแต่เมื่อใด โจทก์ทั้งสองคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ได้นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยถือว่าเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและตัวการจากการผิดสัญญาขนส่งสินค้าและการชำระหนี้เงินต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งไม่ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อที่ท่าเรือปลายทางจึงชำระเงิน 100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ให้แก่บริษัท ย. เจ้าหนี้ของจำเลยทั้งสองแทนจำเลยทั้งสองแล้วรับสินค้าไป ทั้งที่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 หลายประการ ถึงแม้ในภายหลังโจทก์ที่ 1 จะได้ใช้เงินคืนให้โจทก์ที่ 2 แต่โจทก์ที่ 2 ก็ยังได้รับความเสียหายในส่วนอื่นอีกอันเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเหตุให้ถูกบริษัท ย. ยึดหน่วงสินค้าไว้ จึงเป็นเรื่องที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งระหว่างโจทก์ที่ 2กับจำเลยทั้งสอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายส่วนอื่นได้
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง
จำเลยที่ 2 อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยไม่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในประเทศไทย จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบำเหน็จเป็นทางค้าปกติรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนและจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งแทนจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อสินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำพังตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824
จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยโจทก์ที่ 2 ต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัท ย. แทนจำเลยที่ 2 ในวันที่ 13 ธันวาคม2540 จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นับแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2540อันเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 ได้ชำระเงินไป จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศจึงตรงตามคำฟ้องแต่ที่กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์ นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และในเรื่องหนี้เงินต่างประเทศนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินไทยได้ และในวรรคสองบัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินดังนี้ จำนวนเงินบาทที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์จะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในเวลาที่มีการชำระหนี้แก่โจทก์จริง