พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,570 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากัน เพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า งานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12/2541 ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งเก้าได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลา และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์อีก
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตามกฎหมายแรงงาน
โจทก์และจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากันเพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า งานที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12(2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลาหรือไม่และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์โดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์โดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้
งานที่โจทก์ทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้าแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา เมื่อเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามิใช่ค่าล่วงเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจึงไม่เป็นไปตามคำท้าและไม่ชอบด้วยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
งานที่โจทก์ทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้าแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา เมื่อเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามิใช่ค่าล่วงเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจึงไม่เป็นไปตามคำท้าและไม่ชอบด้วยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่เป็นหนังสือ & การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำตามแบบอย่างใดบ้าง ผู้รับจำนองเพียงแต่มีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันควร ก็ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยบทมาตราดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจก็ไม่เป็นโมฆะ นอกจากนี้เมื่อโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ส. ได้กระทำการไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ลูกหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด จึงเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และที่วรรคสองระบุให้การเปลี่ยนเงินนี้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินนั้น หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในวันออกใบแจ้งหนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57 บาท โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดส่วนบุคคลและการคิดดอกเบี้ย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการพ.ศ. 2530 ข้อ 13 และข้อ 21 เป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอมีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินและได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดหนังสือสัญญากู้เงิน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อหักทอนบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันหักบัญชี
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์แบบไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรืออัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามวิธีและประเพณีของธนาคาร มี ช. ทำสัญญาจำนำสิทธิการรับฝากเงินที่ฝากไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ดังกล่าว ปรากฏว่าหลังวันที่ 30 เมษายน จำเลยขอเพิ่มวงเงินจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม วันที่ 2 กันยายน จำเลยจึงแจ้งให้โจทก์นำเงินฝากและดอกเบี้ยของ ช. ที่ประกันหนี้ไว้มาชำระหนี้แก่โจทก์ แสดงว่า หลังวันที่ 30 เมษายน จำเลยยังประสงค์จะกู้เบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไป จึงมิได้แจ้งให้โจทก์นำเงินฝากของ ช. มาหักทอนบัญชี แต่เพิ่งแจ้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน ทั้งที่จำเลยเคยเป็นพนักงานสินเชื่อของธนาคารมาก่อนย่อมต้องทราบดีถึงการคิดดอกเบี้ยของธนาคารตามสัญญาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ 2 กันยายนซึ่งเป็นวันหักทอนบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 2 กันยายน ดังนั้น การที่โจทก์มิได้นำเงินฝากของ ช. มาหักทอนบัญชีเสียก่อนที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงจึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายใช้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ แต่หลังจากที่สัญญาเลิกกันแล้วสิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดที่เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าดอกเบี้ยภายหลังสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงถือเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้และเมื่อโจทก์มิได้แสดงอัตราดอกเบี้ยที่คิดแก่จำเลยหลังสัญญาสิ้นสุดให้ชัดเจนจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่สูงกว่าได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายใช้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ แต่หลังจากที่สัญญาเลิกกันแล้วสิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดที่เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าดอกเบี้ยภายหลังสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงถือเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้และเมื่อโจทก์มิได้แสดงอัตราดอกเบี้ยที่คิดแก่จำเลยหลังสัญญาสิ้นสุดให้ชัดเจนจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่สูงกว่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา และดอกเบี้ยปรับ
จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ต่อมาโจทก์โอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ช. มาชำระหนี้ของจำเลยเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่เมื่อหักทอนบัญชีกันแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดอันเป็นสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ หลังจากบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว สิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่งจำเลยต้องชำระหนี้เงินที่เบิกเกินบัญชีอยู่แก่โจทก์การที่จำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากการเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยผู้ผิดสัญญาที่หากสูงเกินส่วนศาลอาจปรับลดลงได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ หลังจากบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว สิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่งจำเลยต้องชำระหนี้เงินที่เบิกเกินบัญชีอยู่แก่โจทก์การที่จำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากการเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยผู้ผิดสัญญาที่หากสูงเกินส่วนศาลอาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน โดยคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง
สัญญากู้เงินระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลยระบุว่า ในระยะ 3 ปีแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงร้อยละ 7.86 ต่อปีเท่านั้น ต่อจาก 3 ปี นั้นแล้ว จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมายแต่ถ้าจำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินและไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยก่อน ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยกู้เงินโจทก์ได้เพียง 3 เดือนเศษก็ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ต่อมาอีก 5 เดือน โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ หาใช่เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามปกติโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญากู้เงินไม่จึงเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งเมื่อศาลได้คำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์แล้วสามารถลดลงเป็นร้อยละ 15ต่อปีได้กรณีมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลแต่อย่างใด
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน การชำระหนี้ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในคำพิพากษา
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร พร้อมคำขอบังคับจำเลยเพียงเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้อง เพื่อที่จะให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จำนวนเท่าไร ชำระให้โจทก์แล้วเท่าไรเหลือหนี้อีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วยนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วทั้งการที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172หรือไม่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาแต่อย่างใด
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทน, การชำระหนี้เกิน, อายุความสัญญาตัวแทน, และการคืนเงินที่รับเกิน
จำเลยทำสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทน นายหน้า ในการซื้อขายหลักทรัพย์ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นความผูกพันในฐานะตัวการกับตัวแทนซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 การที่จำเลยสั่งให้โจทก์ขายหุ้นเพียง 10,000 หุ้น แต่โจทก์ขายหุ้นไป 20,000 หุ้น และส่งมอบเงินที่ขายได้ทั้งหมดให้แก่จำเลยซึ่งมียอดเงินที่จำเลยรับไว้เกินจำนวน 2 แสนบาทเศษนั้น เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะตัวแทนจำเลยชำระเงินให้จำเลยเกินจำนวนที่จำเลยสั่งให้ขายหุ้น จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่เกินมาพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปให้แก่โจทก์