พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากล้มละลาย: ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยแม้ขาดคุณสมบัติ
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 และมาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้เพราะขาดคุณสมบัติ แต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง ไปด้วย การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงาน โดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับของจำเลย เงินสงเคราะห์เป็นเงินที่จ่ายเพื่อ ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่ออกจากงาน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันออกจากงานทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระ ให้แก่โจทก์ก็ได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่นั้น จึงต้องเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานที่ล้มละลาย: จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย แม้เป็นการสิ้นสุดสภาพการจ้างโดยผลของกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และ มาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติก็ตาม ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งไปด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงานโดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนด คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง ที่แก้ไขแล้ว เมื่อจำเลยให้โจทก์ พ้น จากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุ อันเป็นการให้ออกจากงานโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามข้อ 47 จึงเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุเป็นการออกจากงานตามกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ ถึงลักษณะงานว่าได้จ้างโจทก์เป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ อันจะถือเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แม้ศาลวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีสิทธิค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่จำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งก็เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง เงินกองทุนสงเคราะห์ จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยและมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ซึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำเหน็จบำนาญมิใช่ค่าชดเชยจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่า โจทก์ไม่ใช่สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิดตามประกาศดังกล่าวข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 3 วรรคสอง บัญญัติว่าบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ จึงไม่ใช่เป็นการออกจากงานตามความในมาตรา 33 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เป็นอันพ้นจากตำแหน่ง แต่เป็นกรณีออกจากงานตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9,11 ที่ว่าพนักงานของ รัฐวิสาหกิจจะต้องมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ หากอายุเกินก็ขาดคุณสมบัติต้องพ้นจากตำแหน่งไปเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้ว ก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานดังนั้น เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุเข้าข่ายการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน สิทธิค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำเหน็จเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการซึ่งต่างจากวิธีคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์กับเงินบำเหน็จจึงไม่ใช่ค่าชดเชย แม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์เรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก จำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนได้ในช่วงใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10จึงอ้างไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเองเมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิลูกจ้าง-อายุงานต่อเนื่อง-เงินสงเคราะห์-การเลิกจ้าง-สิทธิลูกจ้าง
การที่จำเลยดำเนินกิจการจัดให้มีซึ่งเคหะเพื่อให้ประชาชนได้เช่าซื้อหรือซื้อเป็นของตนเอง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจการดังกล่าวโดยมิใช่กิจการที่ให้เปล่า แม้จำเลยจะเป็นหน่วยงานของรัฐ ก็จะถือว่าจำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจยังไม่ได้ การจ้างงานของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันในวงการรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวโดยโจทก์มิได้กระทำความผิดจึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แล้ว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคท้าย แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กำหนด กรณีที่นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกจากสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว ต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการด้วย จำเลยเลิกจ้างโจทก์หลังจากประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ผลของการเลิกจ้างจึงต้องบังคับและเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการดังนั้น ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย โจทก์มาทำงานกับจำเลยเพราะผลของการโอนกิจการ ทรัพย์สินสิทธิ หนี้ และความรับผิดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้แก่จำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 มิใช่โจทก์ลาออกจากหน่วยงานเดิมมาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ก็บัญญัติให้นายจ้างโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกได้เมื่อลูกจ้างยินยอมด้วยการโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง ซึ่งต่างกับกรณีการเลิกจ้าง เมื่อไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันไป การที่โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้ว เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์จากจำเลยตามข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 32 จึงต้องคำนวณโดยนำอายุการทำงานของโจทก์จากธนาคารอาคารสงเคราะห์มารวมกับอายุการทำงานกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจถือเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ซึ่งมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจฯผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานมิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุเป็นเหตุให้เกิดสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้มีเงินสงเคราะห์และบำนาญ
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกัน มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจะต้องดำเนินการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ย จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและมีวัตถุประสงค์ในทางสงเคราะห์พนักงานและทายาท เงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือน ส่วนเงินบำนาญเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และใช้วิธีคำนวณทำนองเดียวกับกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ อันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชยเงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชยแม้มากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยอีก