คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาว่าเป็นเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้นมีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที เมื่อจำเลยดำเนินการให้โจทก์ทั้งยี่สิบหกคนออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หาใช่เป็นการออกจากงานโดยผลของกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหรือลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วพ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ เป็นเพียงกำหนดคุณสมบัติของพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518หาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่ เพราะจำเลยอาจเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบของจำเลย การจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ทวงถามจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตามระเบียบของจำเลย เงินบำนาญที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ จัดอยู่ในประเภทเงินทุนเลี้ยงชีพ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติเนื่องจากอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แล้ว โจทก์ทั้งสิบสี่จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยส่วนหนึ่งนั้นเรียกเก็บจากพนักงานเป็นรายเดือนไป จำเลยจัดให้มีขึ้นต่างหากจากค่าชดเชยเพื่อสงเคราะห์พนักงานและทายาท ส่วนเงินบำนาญนั้นเป็นเงินตอบแทนแก่ลูกจ้างที่ทำงานด้วยดีจนถึงวันออกจากงาน ซึ่งจำเลยจ่ายโดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณอันแตกต่างไปจากวิธีการคำนวณค่าชดเชย เงินกองทุนสงเคราะห์และดอกเบี้ยกับเงินบำนาญจึงมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น แม้จะมากกว่าค่าชดเชยก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยมิได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 10 จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเอง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุและการเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 911 ที่บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือเป็นแนวเดียวกัน ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะอายุ 60 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33-34/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ กำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุ 60 ปี บริบูรณ์นั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจำเลยหาได้ถูกผูกพันที่จะต้องจ้าง โจทก์จนกว่าจะมีอายุ 60 ปี บริบูรณ์จำเลยอาจเลิกจ้างเมื่อโจทก์ขาดคุณสมบัติอื่นที่กำหนดไว้หรือโจทก์สมัครใจลาออกจากตำแหน่งก่อน การที่โจทก์รับทราบข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานจำเลยถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนที่บทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและพ้นจากตำแหน่งนั้นการกำหนดคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปเท่านั้น กรณีจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งตามประกาศดังกล่าวได้ให้ความหมายการเลิกจ้างไว้ โดยหมายถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ดังนี้การที่โจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ จึงเป็นการเลิกจ้างแล้ว ส่วนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้บัญญัติให้การเกษียณอายุรวมอยู่ในความหมายคำว่าเลิกจ้าง ก็เนื่องจากเห็นว่าความหมายครอบคลุมถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุอยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสัญชาติไทยของพนักงานรัฐวิสาหกิจและการเลิกจ้าง
การโอนโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิม เพราะเหตุยุบตำแหน่ง หรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อ กัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้ง บุคคลใด เป็นพนักงานของจำเลย ต้อง อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้อง มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 9วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้อง จ้าง โจทก์เพราะความจำเป็นตาม ลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้อง พ้นจากตำแหน่ง ตาม มาตรา 11(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดย คำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจ, คุณสมบัติสัญชาติ, การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, บำเหน็จ
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหารไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2521มาตรา60ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจการบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลยต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มาตรา9(1)ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทยโจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลยและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา9วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลยโจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา11(3)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างและบำเหน็จ, การเลิกจ้างเพราะขาดคุณสมบัติ, การนับอายุงาน
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหม สังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ-คุณสมบัติสัญชาติ-การคำนวณอายุงานและสิทธิประโยชน์
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9(1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา11(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียกรรมสัญญาจ้างงาน, การคืนสภาพเดิม, ค่าเสียหายจากการทำงานที่กระทำไปแล้ว, และการปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยแจ้งปีเกิดตามหลักฐานที่ผิดโดยมีเจตนาปกปิดความจริงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518ทำให้โจทก์ยอมรับโอนจำเลยเข้าเป็นพนักงานของโจทก์ โดยที่ขณะนั้นจำเลยมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ต่อมาโจทก์ทราบความจริงจึงเลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ แม้การที่จะให้จำเลยคืนเงินค่าจ้างและเงินอื่นแก่โจทก์ ไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทำให้โจทก์ไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการงานของจำเลยแล้วก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยดุจกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลย โดยถือว่าค่าจ้างและเงินอื่นตามฟ้องที่จำเลยได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยอีก
of 9