พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมห้ามโอนทรัพย์สินแต่ไม่กำหนดผู้รับผลประโยชน์แทน ข้อห้ามโอนเป็นอันใช้ไม่ได้ ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิขายได้
จำเลยที่ 2 เป็นบุตร ส. เจ้ามรดก กับ ย. ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ต่อมาเจ้ามรดกอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์มีบุตรด้วยกันอีก 3 คน เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 468 ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นของเจ้ามรดกส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 ซึ่งอยู่ติดต่อกันเป็นของ น. ต่อมาวันที่ 13 สิงหาคม 2524 น. จดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ย. ภายหลังจาก ย. ถึงแก่ความตาย เจ้ามรดกจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าว สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 468 และบ้านเลขที่ 113 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว เจ้ามรดกจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2 ต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2545 เจ้ามรดกทำพินัยกรรมโดยมีเจตนาระบุเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในพินัยกรรมว่า ที่ดินและบ้านเลขที่ 113 มอบให้จำเลยที่ 2 ครอบครองเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลาน เหลน น้อง ๆ มีสิทธิมาพักเสมือนมีพ่ออยู่ (ห้ามขายมรดกชิ้นนี้) ส่วนทรัพย์อื่น ๆ ยกให้โจทก์ จำเลยที่ 2 และบุตรของเจ้ามรดกซึ่งเกิดกับโจทก์อีก 3 คน และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นน้องชายเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 ให้จำเลยที่ 2 ตามข้อกำหนดในพินัยกรรม เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 468 พร้อมบ้านเลขที่ 113 และที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 ให้แก่จำเลยที่ 3 การที่เจ้ามรดกทำหนังสือสัญญาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 468 และสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 113 แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2529 ก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 468 พร้อมบ้านเลขที่ 113 นับแต่ได้รับการยกให้ เจ้ามรดกจึงไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวนับแต่ยกให้จำเลยที่ 2 เจ้ามรดกจึงไม่มีสิทธินำที่ดินโฉนดเลขที่ 468 พร้อมบ้านเลขที่ 113 ซึ่งเป็นของผู้อื่นไปทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดได้อีก ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ระบุว่า ยกบ้านเลขที่ 113 ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่แล้วจึงไม่อาจบังคับได้ ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 แม้ตามพินัยกรรมจะมีข้อกำหนดห้ามจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมโอนทรัพย์สินนั้น แต่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดนอกจากผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมที่จะให้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นต่อไปอย่างเด็ดขาด กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1700 วรรคสาม ที่ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 ให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมีสิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7890 และบ้านเลขที่ 113 ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยืนยันรับรองเอกสารไม่มีผลเพิกถอนพินัยกรรม
การเพิกถอนพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนโดยผู้ทำพินัยกรรมนั้น กฎหมายกำหนดวิธีการไว้ 4 กรณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694 ถึง 1697 คือ ทำพินัยกรรมฉบับหลังขึ้นมาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน การทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ การโอนหรือทำลายทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความสมัครใจ และการทำพินัยกรรมฉบับหลังมีข้อความขัดกันกับพินัยกรรมฉบับก่อน การที่ผู้ตายทำหนังสือยืนยันรับรองเอกสารแม้จะมีเจตนาเพื่อเพิกถอนหรือไม่รับรองพินัยกรรมที่ทำไว้แล้ว แต่เมื่อหนังสือยืนยันรับรองนั้นไม่มีลักษณะเป็นพินัยกรรมแล้ว ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมที่ทำไว้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจัดการมรดก, การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม, ผลของการโอนมรดกก่อนเสียชีวิต
แม้คำฟ้องโจทก์ในช่องจำเลยจะมิได้ระบุว่า จำเลยมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ในคำฟ้องก็ได้บรรยายโดยรายละเอียดว่า เมื่อจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้จัดการโอนมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองตามพินัยกรรม แต่กลับโอนเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวในชั้นสืบพยานโจทก์ทั้งสองก็นำสืบว่า ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี นับแต่จัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสองหาใช่คดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536ยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยโอนที่ดินมรดกมาเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว แม้จะถือว่าวันดังกล่าวจัดการมรดกเสร็จสิ้นก็ตาม คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่4779 โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3ดังนั้น ที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน60 ตารางวา ป.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่ายกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วนโจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วน แต่ก่อน ป.ตาย ป.ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่งกรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม.เป็นอันเพอกถอนไป คงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดินน้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรมคิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งานมิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดินเหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่4779 โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3ดังนั้น ที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน60 ตารางวา ป.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่ายกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วนโจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วน แต่ก่อน ป.ตาย ป.ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่งกรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม.เป็นอันเพอกถอนไป คงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดินน้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรมคิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งานมิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดินเหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจัดการมรดก: ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันจัดการมรดกสิ้นสุด
แม้คำฟ้องโจทก์ในช่องจำเลยจะมิได้ระบุว่า จำเลย มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายโดย รายละเอียดว่า เมื่อจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยมิได้จัดการโอนมรดก ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามพินัยกรรม แต่กลับโอนเป็นของจำเลย แต่ผู้เดียวในชั้นสืบพยานโจทก์ทั้งสองก็นำสืบว่า ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดี เกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี นับแต่จัดการมรดก สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่คดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปีไม่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ จำเลยโอนที่ดินมรดกมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว แม้จะถือว่าวันดังกล่าวจัดการมรดกเสร็จสิ้นก็ตาม คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับที่ดิน และบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 แต่สิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่ 4779 โจทก์ที่ 1มีสิทธิได้รับลดลงกึ่งหนึ่งเท่านั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 ดังนั้นที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง หมาย จล.3 จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยย่อม ไม่มีสิทธิฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ตามพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองหมาย จล.3 ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2252 เดิมมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ป. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายการเมือง ขอยกให้จำเลย 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ส่วนที่เหลือยกให้โจทก์ทั้งสองคนละเท่า ๆ กัน หมายความว่า ยกให้โจทก์คนละ 2 ไร่ 2 งาน เมื่อคำนวณเป็นสัดส่วนแล้วจำเลยจะได้ที่ดิน 59 ส่วน โจทก์จะได้ที่ดินคนละ 25 ส่วนแต่ก่อน ป. ตาย ป. ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้แก่ ม.กึ่งหนึ่ง กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งที่ยกให้ ม. เป็นอันเพิกถอนไปคงเหลือที่ดินจำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตามเจตนารมณ์ของผู้ทำพินัยกรรมโดยการแบ่งตามสัดส่วนคือจำเลยได้ 59 ส่วน โจทก์ทั้งสองได้คนละ 25 ส่วน ของที่เหลือ หรือได้รับที่ดิน น้อยลงคนละกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ระบุในพินัยกรรม คิดแล้วจำเลยได้ที่ดิน 2 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวาโจทก์ได้ที่ดินคนละ 1 ไร่ 1 งาน มิใช่แบ่งให้จำเลยได้ที่ดินครบ 5 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ก่อน เมื่อมีที่ดิน เหลือจึงตกเป็นของโจทก์ทั้งสองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินภายหลังทำพินัยกรรมยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1696 และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะได้มาในอนาคต ยังคงเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรม แม้จำหน่ายทรัพย์สินเดิมไปแล้ว
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรม และสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
การโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย เมื่อ ฟ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206 ให้แก่ น. กับโจทก์ที่ 8 แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น. โดยเสน่หาแต่หลังจากนั้น ฟ. ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ. จึงถือไม่ได้ว่า ฟ. ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้ทรัพย์สินบางส่วนถูกโอน – สิทธิผู้รับพินัยกรรมยังคงมีในส่วนที่เหลือ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้โจทก์30ไร่และให้จำเลย9ไร่เศษแต่ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไปโดยสมบูรณ์คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพียง8ไร่เศษนั้นเป็นกรณีที่ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้นพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่หาได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่2แต่อย่างใดไม่และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัยอันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมโจทก์ยังคงมีสิทธิตามพินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมและทรัพย์มรดก: ผลกระทบจากการโอนทรัพย์สินก่อนมรณะและการบังคับใช้พินัยกรรมตามส่วนที่เหลือ
ส. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่โจทก์ 30 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 1จำนวน 9 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวา ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไป คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกอยู่ 8 ไร่ 2 งาน 40.5 ตารางวา กรณีเป็นเรื่องที่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจของผู้ทำพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696ส่วนพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่ไม่ได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัย อันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ ของผู้ทำพินัยกรรมตามมาตรา 1684 โจทก์ยังคงมีสิทธิตาม พินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่จำนวน 8 ไร่ 2 งาน40.5 ตารางวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดก พินัยกรรม และการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองที่ดิน
ม.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อมา ม. ยกที่ดินตามน.ส.3ซึ่งรวมที่ดินพิพาทอยู่ด้วยให้แก่ ป. จึงถือว่า ม.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นอันเพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1696วรรคหนึ่ง การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382จะมีได้เฉพาะที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเท่านั้นที่ดินพิพาทเพิ่งออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่30กรกฎาคม2530การที่โจทก์ครอบครองก่อนหน้านี้แม้จะเกิน10ปีก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ เมื่อ นับระยะเวลาตั้งแต่วันออกโฉนดที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องโจทก์ครอบครองยังไม่ครบ10ปีโจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382