พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีบุกรุกที่ดินและข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์ รวมถึงการรับช่วงสิทธิจากผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกัน มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครอง แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ 3,000 บาท คดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีบัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องอายุความ 2 ปี เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อและเรียกเก็บค่าบริการ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรโดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถนนเงินอัตโนมัติได้ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิม จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้การที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันเมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วตามที่จำเลยที่2ฎีกาแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาท, การแบ่งค่าเสียหาย, ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา, ความประมาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ค่าเสื่อมราคา และค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ ค่าเสื่อมราคาและค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาว. ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน – การโต้แย้งข้อเท็จจริง – ค่าสินไหมทดแทน – ละเมิด
โจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3กับพวกร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดให้แก่โจทก์แต่ละคน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ตาม แต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ทั้งสามในส่วนของค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสาม ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกับพวกรับผิดชำระแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง ส่วนค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีศพกับค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับพวกรับผิดรายการละ 20,000 บาท ตามลำดับโดยศาลอุทธรณ์ฟังว่า ความเสียหายเป็นผลมาจากการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง โดยอ้างการตายของผู้ตายมิได้เกิดจากการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสามมิได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ฎีกาของจำเลยที่ 2และที่ 3 จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขึ้นมานั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการคำนวณทุนทรัพย์คดี: การพิจารณาแยกส่วนการครอบครองที่ดินของจำเลยแต่ละคน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฎว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่ คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่ง ป.วิ.พ.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา และการได้สิทธิครอบครองโดยอายุความในคดีแย่งการครอบครองที่ดิน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฏว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม.โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครองโจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์ฎีกาจากที่ดินแต่ละแปลง และฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อระบุตำแหน่งที่ชัดเจน
จำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน การที่จะพิจารณาว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องถือตามราคาทรัพย์ที่พิพาทที่จำเลยแต่ละคนยึดถือครอบครอง เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทราคาไร่ละ 30,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ละรายย่อมไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยการซื้อจากจ่าสิบตำรวจอ.จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องได้เช่าที่พิพาทจากนายท.บิดาจ่าสิบตำรวจอ. แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายส่วนหนึ่งที่จำเลยแต่ละคนเช่นอยู่ว่ามีเนื้อที่คนละเท่าใดก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องระบุจุดที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่อย่างชัดเจนแล้ว โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยแต่ละคน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าคดีเพื่อบังคับใช้สิทธิฎีกา ต้องพิจารณาจากส่วนครอบครองของจำเลยแต่ละราย หากราคาน้อยกว่า 200,000 บาท ถือต้องห้ามฎีกา
จำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน การที่จะพิจารณาว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องถือตามราคาทรัพย์ที่พิพาทที่จำเลยแต่ละคนยึดถือครอบครอง เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทราคาไร่ละ 30,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ละรายย่อมไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยการซื้อจากจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องได้เช่าที่พิพาทจากนาย ท. บิดาจ่าสิบ-ตำรวจ อ. แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายส่วนที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่ว่ามีเนื้อที่คนละเท่าใดก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องระบุจุดที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่อย่างชัดเจนแล้ว โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้อง พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยแต่ละคน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยการซื้อจากจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องได้เช่าที่พิพาทจากนาย ท. บิดาจ่าสิบ-ตำรวจ อ. แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายส่วนที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่ว่ามีเนื้อที่คนละเท่าใดก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องระบุจุดที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่อย่างชัดเจนแล้ว โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้อง พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยแต่ละคน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม การรับผิดตามสัญญา และการนำพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้เงินทุนการศึกษาและค่าปรับโดยในการทำสัญญารับทุนของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้เยาว์มีจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรม ของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการทำสัญญาและจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ด้วย กับมี อ.ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 โดยรับชดใช้เงินที่ต้องชดใช้แทนจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้นโดยมิต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ต่อมา อ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่3เป็นทายาทของอ.ดังนี้ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่ต้องรับผิดร่วมกันตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ถือว่าจำเลยทั้งสามแทนซึ่งกันและกัน บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งกระทำโดยจำเลยคนหนึ่งถือว่าได้กระทำโดยจำเลยคนอื่น ๆ ด้วย การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับทุนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)