คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 59

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบส่งผลต่อการพิพากษาคดีร่วมกัน การย้อนสำนวนเพื่อรับฟังพยานหลักฐานจำเลย
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหนี้ร่วมที่ผิดระเบียบ หากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของตน
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งล้มละลายที่ไม่ชอบ และการรับรองการทราบคำสั่งภายหลัง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอนจึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ การส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันที่ 26 มีนาคม 2534 ให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาล จึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันดังกล่าว แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 รับว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิม โดยให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบหรือได้ฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 จึงชอบแล้วไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ การอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป หากเป็นการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังเป็นการไม่ชอบก็มีผลเฉพาะคู่ความรายนั้น ๆ ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,336,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยและโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งสามให้ชำระหนี้แล้ว 2 ครั้งซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ทั้งจำเลยทั้งสามร่วมกันแถลงยอมรับในวันสืบพยานจำเลยว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพฤติการณ์ที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง ไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป หากถึงวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาจำเลยทั้งสามไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ก็ให้ศาลพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป และเมื่อถึงวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา จำเลยทั้งสามมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้น ดังนี้ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับสภาพหนี้: ผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้แต่ละราย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้โจทก์เป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสอง จึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) การที่ก่อนครบกำหนดอายุความ 2 ปี จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอผัดผ่อนค่าสินค้าย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172(เดิม) และต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ แต่หลังจากอายุความ 2 ปี ที่เริ่มนับใหม่ได้ครบบริบูรณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือว่าจะนำเงินค่าสินค้าที่ค้างชำระให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนและลงลายมือชื่อเพียงผู้เดียว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ลบล้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในอันที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192(เดิม) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 2 ปีนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความและข้อต่อสู้เรื่องอายุความของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่จัดหาสัตวแพทย์ตรวจเนื้อสุกรชำแหละ หากละเลยถือเป็นการละเมิด โจทก์มีส่วนละเลยไม่บรรเทาความเสียหาย
โจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนโจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมกันมาเป็นคดีเดียวกัน แต่โจทก์ทั้งสามต่างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้โดยลำพังตนเอง แม้จะฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียวกันเพื่อความสะดวกแต่การพิจารณาถึงสิทธิในการฎีกาต้องพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง การฟ้องคดีรวมกันหรือแยกกันย่อมไม่มีผลทำให้สิทธิในการฎีกาเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปรากฏว่าค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 แต่ละคนเรียกร้องมาไม่เกินห้าหมื่นบาทการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฎีกา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จัดให้มีโรงฆ่าสัตว์ และต้องดูแลควบคุมให้การดำเนินการเป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ออกอาชญาบัตรให้แก่โจทก์เพื่อฆ่าสุกรในโรงฆ่าสัตว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องจัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละก่อนนำออกไปจำหน่ายแก่ประชาชนในระหว่างเวลา 0.01 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาการที่สัตวแพทย์เพิ่งมาตรวจเนื้อสุกรชำแหละ และตีประทับตราให้นำเนื้อสุกรชำแหละออกจากโรงฆ่าสัตว์ได้ในเวลาประมาณ 10 นาฬิกาจนเป็นเหตุให้เนื้อสุกรชำแหละของโจทก์เน่าเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้จัดหาสัตวแพทย์มาตรวจเนื้อสุกรชำแหละภายในเวลาที่จะต้องตรวจตามหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการละเลย ประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การที่โจทก์มีส่วนละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายโดยไม่นำเนื้อสุกรชำแหละที่ผ่านการตรวจจากสัตวแพทย์ และตีประทับตราแล้วออกจำหน่าย ทั้งที่อยู่ในช่วงเวลาที่จะสามารถจำหน่ายได้บ้างอันจะเป็นการบรรเทาความเสียหายให้ลดน้อยลงได้ ศาลเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่อุทธรณ์ฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในคำให้การ ถือเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกานอกเหนือคำให้การ
ปัญหาข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกา แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ในปัญหาข้อดังกล่าวไว้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของตน จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกาด้วยเพราะเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกานอกเหนือคำให้การของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2263/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีละเมิด: จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องเกิน 50,000 บาท จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้ร่วมกันเรียกร้องให้จำเลยรับผิดอย่างเจ้าหนี้ร่วม แต่แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้น แม้จะอาศัยมูลละเมิดเดียวกัน คดีสำหรับโจทก์คนใดจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์คนนั้นเรียกร้อง โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 เรียกร้องให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้แก่ตนเป็นจำนวนคนละไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีสำหรับโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบุกรุกที่ดินร่วมกัน แม้ที่ดินต่างแปลง ก็มีสิทธิฟ้องร่วมได้ หากมีส่วนได้เสียร่วมกัน
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกัน เพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นแล้ว แม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์คนละฉบับและเป็นที่ดินต่างแปลงกัน ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น กรณีดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีจึงชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลประโยชน์ร่วมกันในการฟ้องคดีบุกรุกที่ดิน แม้ที่ดินต่างแปลงกัน ก็ฟ้องร่วมกันได้
ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 หมายความว่า ต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้น โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกันเพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตน โจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นแล้ว แม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.)คนละฉบับ และเป็นที่ดินต่างแปลงกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น กรณีดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของเจ้าของที่ดินต่างแปลงที่ถูกบุกรุกต่อเนื่องกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ามีส่วนได้เสียร่วมกัน
จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกันเพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตนโจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีแม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)คนละฉบับ และเป็นที่ดินต่างแปลงกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดี ชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันในคดีเดียวกันได้
of 23