พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร่วมกันในคดีละเมิด และการบรรยายฟ้องค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ที่ 4 ขับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างชนรถยนต์บรรทุกที่โจทก์ที่ 4 ขับ เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 1 เสียหายโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 ซึ่งนั่งอยู่ในรถที่โจทก์ที่ 4 ขับกับโจทก์ที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจากมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงฟ้องร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 มูลหนี้เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ทั้งสี่ในคราวเดียวกัน แต่ความเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ละคนย่อมต้องแล้วแต่ผลแห่งละเมิดที่โจทก์แต่ละคนได้รับจากมูลละเมิดนั้น ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิจะได้ค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเท่าใดการที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 บรรยายฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดรวมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการบรรยายคำขอบังคับไม่แจ้งชัด คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร่วมกันในคดีละเมิด และความชัดเจนของคำฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจากมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงฟ้องคดีร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แม้มูลหนี้เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ในคราวเดียวกันแต่ความเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ละคนย่อมต้องแล้วแต่ผลแห่งละเมิดที่โจทก์แต่ละคนได้รับจากมูลละเมิดนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหาย โจทก์จึงมิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ดังนั้นโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิจะได้ค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเท่าใดการที่โจทก์บรรยายฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดรวมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการบรรยายคำขอบังคับไม่แจ้งชัดคำฟ้องของโจทก์จึงเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และผลของการยกอายุความของผู้ค้ำประกันต่อผู้กู้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายหรือไม่จำเลยไม่ทราบไม่รับรอง คำว่าไม่ทราบหรือไม่รับรองนั้นเป็นคำกลาง ๆ ไม่เป็นทั้งคำรับและคำปฏิเสธ กล่าวคือ โจทก์อาจจะเป็นนิติบุคคลจริงตามฟ้องก็ได้ แต่จำเลยทั้งสองไม่ทราบจึงไม่รับรอง คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ทั้งมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าการกระทำของจำเลยร่วมเป็นการทำแทนซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2ยกอายุความเรื่องดอกเบี้ยขึ้นต่อสู้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดส่วนตัวในการเวนคืนที่ดิน หากดำเนินการตามหน้าที่ในนามจำเลยที่ 1 และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยค่าทดแทน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กระทำการกำหนดค่าทดแทนที่ดินในนามจำเลยที่ 1โดยไม่ปรากฏว่ากระทำไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขนส่งทางทะเล: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบทางสัญญา
บริษัท บ.จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ.จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2 ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเล เมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัด และมีของแข็งภายนอกเรือมากระแทกเรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้ แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยหชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยหชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยทำให้เรืออับปาง ผู้รับขนส่งไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
บริษัท บ. จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ. จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเลเมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัดและมีของแข็งภายนอกเรือมา กระแทก เรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตามป.พ.พ. มาตรา 8 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินคำให้การ: จำเลยต้องปฏิเสธข้อกล่าวหาในคำให้การก่อนจึงจะนำสืบได้
จำเลยที่ 4 มิได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้จำเลยที่ 4 ให้การว่าห้าง จำเลยที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้อันโจทก์จะอ้างกับห้างจำเลยที่ 1ก็ไม่ชัดแจ้งว่าได้ให้การปฏิเสธเกี่ยวกับลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ทำให้ไม่มีประเด็นเรื่องนี้ การที่จำเลยที่ 4นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจฟ้องในคดีมรดก
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีมรดก และขอบเขตการพิพากษาตามคำขอ
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนทุนทรัพย์พิพาทเกิน 5 หมื่น: ข้อจำกัดการฎีกาในคดีละเมิดและการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องฐาน ละเมิดขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนรวมกันเป็นเงิน 58,095.50 บาท แต่ จำนวนเงินที่โจทก์ที่ 1 ในฐานะ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องคือ 23,659.50บาท ซึ่ง เป็นเงินที่โจทก์ที่ 1 รับช่วงสิทธิมาจากโจทก์ที่ 2 ส่วนโจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนอื่นที่โจทก์ที่เรียกร้องไม่ได้เป็นจำนวน 34,400 บาท ดังนี้ หนี้ที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้ ที่โจทก์ทั้งสองแต่ ละคนฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีโจทก์จึงต้องห้าม ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.