คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 59

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นนอกเหนือจากคำให้การเดิม แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม และคดีโจทก์ขาดอายุความดังเช่นจำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ เพราะนอกเหนือจากคำให้การของตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่อุทธรณ์ประเด็นนอกเหนือจากที่ให้การในชั้นศาลย่อมไม่มีสิทธิได้รับการวินิจฉัยในประเด็นนั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม และคดีโจทก์ขาดอายุความดังเช่นจำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ เพราะนอกเหนือจากคำให้การของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดอาญา: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเดียวกัน
จำเลยลงพิมพ์บทความหมิ่นประมาทโจทก์และ ป. ในครั้งเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อ ป. ได้ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมนี้จนมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
จำเลยลงพิมพ์บทความหมิ่นประมาทโจทก์และ ป. ในครั้งเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว เมื่อ ป. ได้ฟ้องจำเลยในความผิดกรรมนี้จนมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้จะไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนผังทำเหมือง
จำเลยใช้ดุลพินิจ สั่งการและปฏิบัติไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นคดีเดียวกัน แต่ความเสียหายของโจทก์แต่ละคนที่ได้รับต่างกันและเป็นคนละจำนวน เป็นสิทธิเรียกร้องที่สามารถแยกต่างหากจากกันได้ โจทก์ทั้งสองต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนค่าเสียหายซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาและดุลพินิจทางปกครองในการอนุมัติเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมือง
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นข้าราชการตำแหน่งทรัพยากรธรณีจังหวัด รับเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมืองจากโจทก์แล้วมิได้นำเสนออธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเพื่อพิจารณาอนุญาตโดยตรง หากแต่เสนอเรื่องราวดังกล่าวไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความเห็นก่อน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลหน่วยงานนี้สั่งการไว้ โดยคำสั่งดังกล่าวปฏิบัติตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดและคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมอบหมายให้ปฏิบัติราชการตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ข้อ (1) (2) อีกทั้งไม่มีระเบียบทางราชการกำหนดวิธีการปฏิบัติเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการ
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติราชการตามระเบียบแบบแผน และดุลพินิจตามกฎหมายแร่ การไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนผังทำเหมือง
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นข้าราชการตำแหน่งทรัพยากรธรณีจังหวัดรับเรื่องราวขอเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการทำเหมืองจากโจทก์แล้วมิได้นำเสนออธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเพื่อพิจารณาอนุญาตโดยตรง หากแต่เสนอเรื่องราวดังกล่าวไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความเห็นก่อน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลหน่วยงานนี้สั่งการไว้ โดยคำสั่งดังกล่าวปฏิบัติตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดและคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมอบหมายให้ปฏิบัติราชการตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218ข้อ (1)(2) อีกทั้งไม่มีระเบียบทางราชการกำหนดวิธีการปฏิบัติเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการ
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 มิได้บังคับว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 ต้องอนุญาตให้ผู้ถือประทานบัตรเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเหมืองเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งต่อทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้แจ้งต่อโจทก์ว่าการทำเหมืองแร่ให้ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นการปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้นโยบายไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและไม่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 57 หรือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรวมคดีที่ขาดผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเพื่อให้ฟ้องใหม่
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส.ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 บริษัท ค.และห้าง ส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วย เห็นได้ชัดว่า ส.กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันผูกพันกันเฉพาะชื่อผู้ทำการแทนคือ ส.เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์หลายคนฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตกต่างจากกันไป โจทก์ทั้งห้าจึงหามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียวไม่
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องรวมคดีไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลจำหน่ายคดีได้ แม้โจทก์อ้างตัวแทนเดียวกัน
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส. ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 บริษัท ค.และห้าง ส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าส. กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ผูกพันกันเฉพาะชื่อ ผู้ทำการแทนคือ ส. เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์ดังกล่าวฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตก ต่างจากกัน โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียว การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามป.วิ.พ. มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาล เมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องรวมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้ เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรวมคดีที่โจทก์ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเพื่อให้ฟ้องใหม่ได้
โจทก์ทั้งห้าฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเดียวกันโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งห้ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เพราะ ส.ผู้ตายเป็นผู้กระทำการแทนนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3บริษัท ค.และห้างส.ลูกหนี้ของโจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าส.กระทำการในนามของนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันผูกพันกันเฉพาะชื่อผู้ทำการแทนคือ ส.เท่านั้น หาทำให้กิจการของนิติบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าผูกพันกันด้วยไม่ โจทก์หลายคนฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยบางรายแต่ละข้อหาและมูลคดีส่วนใหญ่แตกต่างจากกันไป โจทก์ทั้งห้าจึงหามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีพอที่จะฟ้องร่วมกันมาเป็นคดีเดียวไม่
การที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีมิใช่มีเพียงที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 เท่านั้น แต่เป็นอำนาจทั่วไปของศาลเมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องร่วมกัน ศาลก็ย่อมที่จะจำหน่ายคดีเสียได้เพื่อให้โจทก์นำไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์.
of 23