คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 59

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและผลของการไม่อุทธรณ์คดีจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1(ตัวแทน) จำเลยที่ 2(ตัวการ) ร่วมกันและแทนกันใช้เงินค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปจากโจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นใช้เงินค่าสินค้าแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยส่วนฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ให้ยกเสีย จำเลยที่ 2 เท่านั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามฟ้องอีกหาได้ไม่ต้องถือว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นอันยุติลงตามกระบวนความเพียงแค่ศาลชั้นต้นไปแล้ว โจทก์คงฎีกาได้เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง และการฟ้องร่วมสำหรับความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุมและฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและลูกจ้างในการจัดการจำหน่ายข้าว การละเลยควบคุมทำให้เกิดความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม และฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎรและมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพรแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชนในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้นกระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบหมายให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าวเงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการและใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทยการดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขายเมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกับจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระจำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมาโดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าวเมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดการจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดไปว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะไม่ใช่ทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติการงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในจ่าจังหวัดที่ตนมอบหมายเองเมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและจำหน่ายข้าวตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ เมื่อมอบหมายให้จ่าจังหวัดทำหน้าที่นี้ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหายผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วยจะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติของตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของทนายความ, อายุความ 2 ปี, ลูกหนี้ร่วม, การยกอายุความ, การชำระหนี้
การจ้างว่าความไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องที่หมอความหรือทนายความจะเรียกเอาค่าธรรมเนียมและค่าที่ได้ออกทดรองไป มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (15)
จำเลยให้การเพียงว่า "คดีของโจทก์ขาดอายุความ" ถือว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว ไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกล่าวให้แจ้งชัดในคำให้การว่ากำหนดอายุความให้เริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใด
การเป็นทนายความว่าความให้จำเลยตลอดทั้งสามศาล ตามธรรมดา ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้ว หน้าที่ของทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้ว หน้าที่ของทนายก็จะต้องสิ้นสุดลงในเมื่อคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด และต้องถือว่าตัวความได้รับมอบการที่ทำของทนายความในเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดชั้นฎีกา กำหนดอายุความเรียกร้องสินจ้างของทนายความก็ย่อมเริ่มนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยหลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ แต่จำเลยคนหนึ่งแต่ผู้เดียวเป็นผู้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะนำการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยผู้นั้นมาเป็นมูลฟ้องคดีสำหรับจำเลยอื่นที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน, อายุความทนาย, ลูกหนี้ร่วม, การยกอายุความ
การจ้างว่าความไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องที่หมอความหรือทนายความจะเรียกเอาค่าธรรมเนียมและค่าที่ได้ออกทดรองไป มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
จำเลยให้การเพียงว่า 'คดีของโจทก์ขาดอายุความ' ถือว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกล่าวให้แจ้งชัดในคำให้การว่ากำหนดอายุความให้เริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใด
การเป็นทนายความว่าความให้จำเลยตลอดทั้งสามศาลตามธรรมดา ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการในการบังคับคดีด้วยแล้วหน้าที่ของทนายก็จะต้องสิ้นสุดลงในเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดและต้องถือว่าตัวความได้รับมอบการที่ทำของทนายความในเมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดชั้นฎีกากำหนดอายุความเรียกร้องสินจ้างของทนายความก็ย่อมเริ่มนับแต่วันศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยหลายคนเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ แต่จำเลยคนหนึ่งแต่ผู้เดียวเป็นผู้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะนำการยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยผู้นั้นมาเป็นมูลยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยอื่นที่ไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่ 1 รับผิดแต่จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดี โจทก์ต้องพิสูจน์ความประมาทของจำเลยที่ 1 เอง
ในกรณีที่จำเลยที่ 1, 2 ถูกฟ้องร่วมกันมาเพื่อให้ใช้ค่าเสียหายนั้น ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับว่าได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจริง แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเช่นนี้ โจทก์ต้องนำสืบหักล้างให้ฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ประมาท ทั้งนี้ เพราะคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1กระทำไปนั้นเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่ 1 รับผิดแม้จำเลยที่ 2 คัดค้าน โจทก์ต้องพิสูจน์ความประมาทเพื่อผูกมัดจำเลยที่ 2
ในกรณีที่จำเลยที่ 1,2 ถูกฟ้องร่วมกันมาเพื่อให้ใช้ค่าเสียหายนั้นถึงแม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับว่าได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจริง
แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเช่นนี้ โจทก์ต้องนำสืบหักล้างให้ฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ประมาท ทั้งนี้เพราะคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 กระทำไปนั้นเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมฟ้องจำเลยหลายคนในคดีบุกรุก และการเสียค่าขึ้นศาลเมื่อยังไม่ชัดเจนว่ามีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยแต่ละคนต่างละเมิดสิทธิของโจทก์โดยลำพังตนต่างหากจากกัน โดยจำเลยมิต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อโจทก์ เช่นนี้ โจทก์จะรวมฟ้องจำเลยทุกคนในคดีเดียวกันหาได้ไม่ โจทก์จะต้องแยกฟ้องจำเลยแต่ละคนเป็นรายสำนวนไป
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะรับว่า เมื่อจำเลยฟ้องระหว่างกัน เกี่ยวกับที่รายพิพาทนี้ ในคดีอื่นจำเลยก็ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์กันก็ดี แต่ในชั้นที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ จำเลยอาจไม่โต้แย้งกรรมสิทธิกับโจทก์ก็ได้ คดีเช่นนี้ยังไม่ควรให้โจทก์ตีราคาทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในขณะรับฟ้อง ควรรอฟังจำเลยให้การเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมฟ้องจำเลยหลายคนในคดีบุกรุก และการเสียค่าขึ้นศาลก่อนฟังการให้การ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยแต่ละคนต่างละเมิดสิทธิของโจทก์โดยลำพังตนต่างหากจากกัน โดยจำเลยมิต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อโจทก์เช่นนี้โจทก์จะรวมฟ้องจำเลยทุกคนในคดีเดียวกันหาได้ไม่ โจทก์จะต้องแยกฟ้องจำเลยแต่ละคนเป็นรายสำนวนไป
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะรับว่าเมื่อจำเลยฟ้องระหว่างกันเกี่ยวกับที่รายพิพาทนี้ในคดีอื่นจำเลยจะได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์กันก็ดี แต่ในชั้นที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ จำเลยอาจไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์กับโจทก์ก็ได้ คดีเช่นนี้ยังไม่ควรให้โจทก์ตีราคาทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในขณะรับฟ้อง ควรรอฟังจำเลยให้การเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: อำนาจฟ้องร่วม และผลผูกพันต่อเจ้าหนี้แต่ละราย
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยโดยอาศัยหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้โจทก์ในฉบับเดียวรวมกัน มิได้แยกการชำระหนี้ไว้ต่างหากจากกัน ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ว่าจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ทุกคนรวม 6,664 บาท แม้มูลหนี้ เดิมของโจทก์แต่ละคนจะเป็นหนี้คนละราย คนละจำนวน ไม่ใช่เจ้าหนี้ร่วมก็ดี แต่โดยที่ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถือได้ว่า จำเลยได้ยอมรับว่า ได้เป็นหนี้โจทก์แต่ละคนแล้ว โจทก์ทุกคนจึงมีอำนาจเข้าชื่อร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสำนวนเดียวกันได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ รวม 22 คน เป็นกรณีที่เกิดจากการที่โจทก์บางคนได้ร้องทุกข์กล่าวหาในคดีอาญาว่า จำเลยฉ้อโกง แม้โจทก์ที่ไปร้องทุกข์นั้นจะไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนอื่นให้ทำสัญญายอมนั้น ก็ตาม ในการดำเนินคดีแพ่งตามสัญญายอมนั้น โจทก์ไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์ในคดีอาญานั้นเลย เมื่อจำเลยทำหนังสือสัญญายอมไว้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามรายชื่อรวม 22 คน จำเลยก็ต้องรับผิดต่อบุคคลแล้วนั้น ตามสัญญานั้น แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญายอมดังกล่าว เจ้าหนี้บางคนเช่นว่านั้น ก็มีอำนาจฟ้องความตามสัญญานั้นได้ ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าหนี้ทั้ง 22 คน จะต้องมอบฉันทะให้ผู้หนึ่งผู้ใด ทำสัญญายอมดังกล่าว กับจำเลยด้วยหรือไม่
of 23