คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 59

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ศาลฎีกาชี้มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อายุความที่จำเลยผู้รับโอนยกขึ้นมีผลถึงจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองและขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองซึ่งผู้ร้บจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การแต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ขึ้นต่อสู้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่าผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น หาใช่บังคับจำนองได้แต่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระไม่เกิน 5 ปี ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองติดไป-อายุความดอกเบี้ย: ผลกระทบต่อผู้กู้และผู้รับโอนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง และขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รับผิดในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินโดยจำนองติดไปซึ่งผู้รับจำนองยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองโดยการบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 735 มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อจำเลยที่ 2 ยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 745 บัญญัติว่า "ผู้รับจำนองจะบังคับจำนอง แม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้" ซึ่งหมายความว่า ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น ดังนั้น แม้หนี้ประธานยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ก็คงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ค้างชำระได้ไม่เกินห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค - การลงวันที่เช็คโดยผู้ทรงเช็คหลังรับโอน และการยินยอมโดยผู้สั่งจ่าย
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ค่าจ้างให้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปชำระหนี้ค่าจ้างดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดในมูลหนี้ที่แตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุรากฐานแห่งหนี้ที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการกระทำอันเดียวกัน คือจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์และค้างชำระหนี้ค่าจ้างอันเดียวกันจำเลยทั้งสามจึงมีส่วนได้เสียร่วมกันตามกฎหมาย อันถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายและโจทก์เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับภายหลังโจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับมาแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่สมควรเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้นั้นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับโดยชอบตามกฎหมายย่อมลงวันที่ใดก็ได้ เมื่อตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับปรากฏว่า โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเป็นวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และตามใบคืนเช็คปรากฏว่า ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันสั่งจ่ายคือวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช็ค, การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย, และขอบเขตอำนาจศาล
จำเลยที่ 1 ยกข้อต่อสู้เรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ แม้จำเลยที่ 3 ให้การไม่ชัดแจ้งทำให้คำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญดังเช่นที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ก็ตาม แต่คดีนี้มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ป.วิ.พ. มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน กระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ย่อมถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่นๆ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดให้แก่บริษัท ง. ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 1 ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คเสร็จสิ้นแล้ว เช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่น แต่พยานจำเลยที่ 1 คงมีเพียง พ. ทนายจำเลยที่ 1 ปากเดียวเบิกความว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. หลังจากมีการเดินบัญชีตามสัญญาขายลดเช็คแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้นำสืบปฏิเสธว่าเช็คธนาคาร ธ. เป็นเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ประเภทอื่นดังที่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัท ง. กับจำเลยที่ 1 มีหนี้ประเภทอื่นที่ต้องชำระต่อกันอีก ดังนั้น แม้หากจะฟังข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ว่า เช็คธนาคาร ธ. ไม่ใช่เช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลด แต่เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายภายหลังเพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัท ง. ก็ตาม ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ธ. เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค และหนี้เงินต้นจำนวน 185,908.46 บาท ที่ค้างชำระอยู่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 เป็นหนี้ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คตามที่โจทก์ฟ้องนั่นเองซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กรณีไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ซึ่งเป็นกำหนดอายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คมาบังคับแก่คดีดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างมาในฎีกาได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าคำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นย่อมเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าเมื่อคู่ความมีคำโต้แย้งอย่างไรแล้วศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยทุกกรณีไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การมีใจความสำคัญเพียงว่า พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ ทำให้ขายสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำโดยที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินยังคงเป็นหนี้เท่าเดิม เป็นการจำกัดและลิดรอนสิทธิของประชาชนไม่ให้เป็นไปโดยอิสระตามกลไกตลาด ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน คำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตราใดที่ให้อำนาจหน้าที่ของรัฐสั่งปิดกิจการและขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินได้ โดยไม่มีเหตุสมควรและกำหนดราคาขายได้ตามอำเภอใจ และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จึงไม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นกรณีที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งคำโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ การขยายเวลา และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นสิทธิของคู่ความแต่ละคนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งเมื่อได้กระทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้นไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย แม้โจทก์ทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันให้มีอำนาจอุทธรณ์และทนายโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ส. บิดาโจทก์ทั้งสองได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่มัสยิดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม ต่อมาได้มีการก่อสร้างมัสยิดลงบนที่ดินดังกล่าวรวมทั้งบางส่วนได้ทำเป็นสุสานฝังศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม การอุทิศที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นการอุทิศเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้านผู้นับถือศาสนาอิสลามหรืออิสลามนิกชนโดยทั่วไป มิได้จำกัดแต่เพียงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันนับแต่เวลาที่อุทิศแล้ว แม้โจทก์ทั้งสองจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวรวมทั้งที่ดินพิพาทให้จำเลยเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการโอนคดี: การแบ่งแยกคดีที่มีทุนทรัพย์ต่างกันและการครอบครองที่ดินแยกส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท นาย ล. ได้ขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบ และมีคำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 13401 ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ที่มีชื่อ นาย ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว โดยเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 2 มีราคาไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) แม้โจทก์ทั้งสองจะยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ได้ความตามแผนที่พิพาทเอกสารท้ายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทแยกกันเป็นส่วนสัด การครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย โจทก์ทั้งสองจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงชอบที่โจทก์ทั้งสองจะยื่นฟ้องจำเลยมาคนละสำนวน การที่โจทก์ทั้งสองรวมฟ้องมาในสำนวนเดียวกันและศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์แต่ละคนมีมากกว่าที่จะยื่นฟ้องแยกกันมาเป็นแต่ละสำนวน
เมื่อคดีในสำนวนของโจทก์ที่ 2 มีทุนทรัพย์ 140,000 บาท อยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ไปยังศาลแขวงสุรินทร์ ทั้งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย หาได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องโอนคดีไปทั้งคดีดังที่ศาลแขวงสุรินทร์วินิจฉัยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนคดีเฉพาะส่วนของโจทก์ที่ 2 ไปยังศาลแขวงสุรินทร์ และศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้รับโอนคดีดังกล่าวไว้พิจารณาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดีและให้ส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุรินทร์เพื่อพิจารณาพิพากษาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้าม – ผลประโยชน์ร่วมกัน – การคำนวณทุนทรัพย์ – ศาลสั่งรับอุทธรณ์โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบสองร่วมเล่นแชร์วงพิพาท โจทก์ทั้งสิบสองได้ส่งเงินค่างวดให้แก่จำเลยครบตามข้อตกลงรวม 24 เดือน ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 จำเลยได้ขอให้โจทก์ทั้งสิบสองและลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลหยุดส่งเงิน โดยจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินพร้อมดอกแชร์จากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปก่อนแล้วมาชำระให้โจทก์ทั้งสิบสองจนครบ โดยจำเลยแบ่งลูกแชร์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มของโจทก์ 12 คน จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้เดือนละ 18,627.50 บาท เป็นเวลา 26 เดือน ส่วนอีก 25,800 บาท โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและรับผิดชอบเงินจำนวนดังกล่าวเอง โดยให้กลุ่มของโจทก์ทั้งสิบสองจัดการแบ่งเงินแต่ละเดือนกันเอง จำเลยได้นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วส่งให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองถึงเดือนมกราคม 2541 เพียง 13 เดือนเท่านั้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้เรียกเก็บเงินค่างวดจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท โจทก์ทั้งสิบสองทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่เรียกร้อง ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ชำระเงินค่าแชร์ให้โจทก์ทั้งสิบสองครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้นำสืบซ้ำ หากจำเลยยอมรับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบในข้อนี้อีก แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นนายจ้างหรือใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้าง แต่เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ไปแล้ว คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การรับรู้ละเมิดผ่านผู้แทน & ผลผูกพันกับโจทก์
ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ.2529 ข้อ 9 ได้มอบหมายการปฏิบัติราชการให้ผู้อำนวยการกองได้แก่ ผู้อำนวยการกอง กองก่อสร้างและบูรณะของกรุงเทพมหานครโจทก์ เป็นผู้มีอำนาจในการเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดแก่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย การที่ผู้อำนวยการกองดังกล่าว เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด จึงเป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์มิใช่ในฐานะเป็นส่วนราชการของโจทก์เพียงอย่างเดียว และการที่พันตำรวจโท ธ. มีหนังสือแจ้งคดีให้ผู้อำนวยการกองทราบว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โดยผู้อำนวยการกองลงชื่อรับทราบและมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 มีผลผูกพันโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าที่สุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มกราคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เพราะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 จึงถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามฟ้อง โจทก์ฎีกา แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามมาตรา 245 (1), 247
of 23