พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจำกัด, ศาลคืนค่าขึ้นศาล, ประเด็นค่าเสียหายเกินคำขอไม่ฟัง
แม้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัว และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนการพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท และจำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์ ความรับผิดของนายจ้างผู้ทำละเมิด และการวางค่าขึ้นศาลที่ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) ที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้จะต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย การที่ผู้ตายมีส่วนประมาทในการทำละเมิด ย่อมเป็นเหตุให้ฝ่ายจำเลยต่อสู้คดีเป็นธรรมดา และฝ่ายจำเลยก็ได้ดำเนินคดีไปตามข้อต่อสู้และสิทธิของตน โดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินคดีไปโดยไม่สุจริต ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงสมควรแล้ว
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.12 การยกเว้นทั่วไประบุว่าการประกันภัยตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 และข้อ 2.3 ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจาก 2.12.6 การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใดๆ ฯลฯ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.13 ระบุว่า "ภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัท (จำเลยร่วม) จะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย (จำเลยที่ 2) หรือข้อ 2.12 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัย เพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้นซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้เงินจำนวนที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัทภายใน 7 วัน" ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใดๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ต่อไป ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่เกินวงเงินประกันที่จำกัดความรับผิด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์จะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์พร้อมกับอุทธรณ์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมแยกยื่นอุทธรณ์คนละฉบับกัน แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและทำให้จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นจำเลยร่วม แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ส่วนจำเลยร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุ ความรับผิดจึงแตกต่างกัน เพราะจำเลยที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด ส่วนจำเลยร่วมรับผิดในมูลสัญญา ซึ่งอาจจะไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ไม่เท่ากัน โดยเงื่อนไขและข้อจำกัดความรับผิดตามสัญญาประกันภัยก็ได้ มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาเงินค่าธรรมเนียมทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางหาได้ไม่ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวางไว้ได้ นอกจากนี้หากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าธรรมเนียมที่วางไว้คืนได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2.12 การยกเว้นทั่วไประบุว่าการประกันภัยตามข้อ 2.1 หรือข้อ 2.2 และข้อ 2.3 ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจาก 2.12.6 การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใดๆ ฯลฯ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.13 ระบุว่า "ภายใต้จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัท (จำเลยร่วม) จะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย (จำเลยที่ 2) หรือข้อ 2.12 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 1.2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัย เพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้นซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้เงินจำนวนที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัทภายใน 7 วัน" ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใดๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ต่อไป ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่เกินวงเงินประกันที่จำกัดความรับผิด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์จะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์พร้อมกับอุทธรณ์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมแยกยื่นอุทธรณ์คนละฉบับกัน แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและทำให้จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมีฐานะเป็นจำเลยร่วม แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ส่วนจำเลยร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุ ความรับผิดจึงแตกต่างกัน เพราะจำเลยที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด ส่วนจำเลยร่วมรับผิดในมูลสัญญา ซึ่งอาจจะไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ไม่เท่ากัน โดยเงื่อนไขและข้อจำกัดความรับผิดตามสัญญาประกันภัยก็ได้ มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาเงินค่าธรรมเนียมทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางหาได้ไม่ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวางไว้ได้ นอกจากนี้หากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าธรรมเนียมที่วางไว้คืนได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกแม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการวางค่าฤชาธรรมเนียม
ตามกรมธรรม์ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษว่า จำเลยร่วมจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์ต่อจำเลยที่ 2 เพราะเป็นกรณีซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ต้องใช้เงินจำนวนที่จำเลยร่วมได้จ่ายไปคืนให้แก่จำเลยร่วม ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกินวงเงินประกันที่จำกัดความรับผิดไว้
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดและสัญญาประกันภัย: การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและการแยกความรับผิดของจำเลย
แม้ว่าในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) กำหนดให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้ต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทในการทำละเมิด ย่อมเป็นเหตุให้ฝ่ายจำเลยต่อสู้คดีและฝ่ายจำเลยก็ได้ดำเนินคดีไปตามข้อต่อสู้และสิทธิของตน โดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินคดีไปโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงสมควรแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) กำหนดให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้ต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทในการทำละเมิด ย่อมเป็นเหตุให้ฝ่ายจำเลยต่อสู้คดีและฝ่ายจำเลยก็ได้ดำเนินคดีไปตามข้อต่อสู้และสิทธิของตน โดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินคดีไปโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงสมควรแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยโจทก์ร่วม: สิทธิในการรวมฟ้องคดีเมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 109 ฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตและมีการไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนลาออกหมดแล้วซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออก และไม่ได้กระทำผิดระเบียบจนกระทั่งมีการแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนกับจำเลยทั้งหก โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าจึงทราบว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าตามทุนทรัพย์ที่ได้ชำระหรือชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าได้ชำระแก่จำเลยทั้งหก ถือได้ว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกมาในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยโจทก์หลายคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุแห่งคดีเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์แต่ละคนมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนได้ลาออกหมดซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออกและไม่ได้กระทำผิดระเบียบ การที่จำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาที่ให้ไว้ข้างต้นและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เป็นคู่ความร่วมในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีชำระหนี้แบ่งแยกได้ และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขนถ่ายสินค้ากระดาษของโจทก์และจำเลยที่ 3 จากเรืออริสโตเติลลงเรือฉลอมโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ากระดาษของโจทก์บางส่วนถูกสับเปลี่ยนและส่งมอบไปให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ได้รับสินค้ากระดาษของจำเลยที่ 3 มาแทน เมื่อหักกลบกันแล้ว จำเลยที่ 3 รับสินค้าของโจทก์เกินไป คิดเป็นเงิน 1,724,364 บาท ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเจ้าของเรือ ผู้รับจ้างขนส่ง และนายจ้างหรือตัวการ จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้ากระดาษของโจทก์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบสินค้ากระดาษของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ร่วมกันชำระราคาสินค้าที่จำเลยที่ 3 รับเกินไปแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด ให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ฐานผิดสัญญาประกันภัย และให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ฐานรับมอบทรัพย์ของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันได้ หาใช่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะได้หยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สับเปลี่ยนสินค้า - มูลเหตุละเมิด - อายุความ - การแบ่งแยกการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่า ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขนถ่ายสินค้ากระดาษของโจทก์และของจำเลยที่ 3 จากเรือ อ. ลงเรือ ฉ. โดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ากระดาษของโจทก์บางส่วนถูกสับเปลี่ยนและส่งมอบไปให้แก่จำเลยที่ 3 โดยโจทก์ได้รับสินค้าของจำเลยที่ 3 มาแทน เมื่อหักกลบแล้วจำเลยที่ 3 รับสินค้ากระดาษของโจทก์เกินไปจำนวนหนึ่ง ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ในฐานะเจ้าของเรือ ผู้รับจ้างขนส่ง และนายจ้างหรือตัวการ จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้ากระดาษของโจทก์ และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับมอบสินค้ากระดาษของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ร่วมกันชำระราคาสินค้าที่จำเลยที่ 3 รับเกินไปแก่โจทก์ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับผิดโจทก์ฐานละเมิด ให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์ฐานผิดสัญญาประกันภัย และให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ฐานรับมอบทรัพย์ของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 มูลค่าแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ที่แบ่งแยกออกจากกันได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 แต่ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องดังกล่าวไว้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะหยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 แต่ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องดังกล่าวไว้ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ 3 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อคดีของจำเลยที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะหยิบยกประโยชน์แห่งอายุความให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอายุความและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร คำนึงรายได้บิดา ฐานะผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี การกำหนดรวมกันไม่ถูกต้อง
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรผู้เยาว์แต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีร่วมกันของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่เสียหายจากจำเลยที่ไม่ชำระเงินตามสัญญา
โจทก์แต่ละคนต่างเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ เมื่อโจทก์แต่ละคนอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 เก็บเงินจากสมาชิกไปแล้วไม่นำเงินไปชำระแก่ผู้รับประโยชน์ของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายอันเป็นการผิดสัญญา ขอให้คืนเงินที่สมาชิกถึงแก่ความตายไปแล้วและสมาชิกที่มีชีวิตอยู่ได้ชำระไปแล้วแก่โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกแต่ละคน ถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้