พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ และขอบเขตการรับผิดต่อโจทก์แต่ละราย
จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันพิพาท ซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ มูลความแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่มิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง อีกทั้งคดีนี้มีโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ส่วนการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันนั้นก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกเท่านั้น จึงมิได้เป็นเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลความแห่งคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้หรือไม่แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 คงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวกรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 ได้กระทำการแทนโจทก์อื่นด้วย โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วยอีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้โดยจำเลยในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อการนำสืบพยานของโจทก์
คดีมีการชี้สองสถาน เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 (เดิม) จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบ เว้นแต่เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ (เดิม)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละจำเลย การอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และ 3
การขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ศาลจะอนุญาตหรือไม่ก็ต้องพิจารณาเหตุผลเฉพาะรายตามที่ได้ยื่นคำร้องนั้น ๆ ไม่มีผลถึงคู่ความรายอื่น สิทธิในการอุทธรณ์ก็เป็นเรื่อง เฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เฉพาะของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอนุญาต เป็นการอนุญาตให้เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะถือสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์มาพร้อมอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี2534ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่3กันยายนปีเดียวกันการที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14วรรคหนึ่งอนุมาตรา1เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา193/24อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้วแม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่3กันยายน2534นั้นเองจึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา193/15วรรคสองเมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่29มิถุนายน2537ซึ่งเป็นวันฟ้องพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา448วรรคหนึ่งและเนื่องจากจำเลยที่2ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ตามมาตรา193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่1จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่2ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งอนุมาตรา 1 เท่านั้น หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา 1 เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน 2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน, การแปลงหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และจำเลยที่ 4 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันให้โจทก์ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งให้ถือว่าได้ทำโดยคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 โดยกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกไว้ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วย จึงไม่มีกำหนดอายุความที่จะนำมาพิจารณาได้อีก
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันหลังการถอนฟ้องผู้กู้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันมูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่นๆด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่1ศาลชั้นต้นอนุญาตและจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความแล้วผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่1ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก การตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงไม่ระงับเมื่อจำเลยที่1ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้วจำเลยที่4ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนฟ้องต่อผู้ค้ำประกัน: การยกอายุความของผู้กู้ถูกลบล้างเมื่อถอนฟ้อง ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องผู้กู้มีผลลบล้างกระบวนการสู้คดีเรื่องอายุความ ทำให้สิทธิเรียกร้องยังคงมีอยู่และผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตาม แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด