พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดและสัญญาประกันภัยแยกกันได้ โดยพิจารณาจากฐานความรับผิดของจำเลยแต่ละคน
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหาย โจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิด และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแตกต่างกันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตามมาตรา882 วรรคแรก อายุความฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ 1 ปี จึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 เป็นการฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยแยกจากความรับผิดนายจ้าง ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในสัญญาประกันภัย
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่2รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหายโจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดและให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่1และที่2จึงแตกต่างกันจำเลยที่1จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดซึ่งมีอายุความ1ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกส่วนจำเลยที่2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา882วรรคแรกอายุความฟ้องจำเลยที่1และที่2สามารถแยกออกจากกันได้เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้นฉะนั้นการฟ้องร้องให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ1ปีจึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่1ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่2รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่24ตุลาคม2536โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่27ตุลาคม2537เป็นการฟ้องภายในเวลา2ปีนับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยและความรับผิดของนายจ้างผู้ทำละเมิดแยกกันได้
รถยนต์เก๋งที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนพุ่งชนได้รับความเสียหาย โจทก์ได้เสียเงินซ่อมแซมรถยนต์เก๋งไปแล้วจึงขอรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันมาฟ้องจำเลยที่ 1ให้รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดและให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนดังนั้นการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงแตกต่างกันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันวินาศภัยมีอายุความ2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตามมาตรา 882 วรรคแรก อายุความฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 บัญญัติให้เรื่องอายุความเป็นคุณหรือเป็นโทษเฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ฉะนั้น การฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างของผู้ทำละเมิดขาดอายุความ1 ปี จึงย่อมเป็นคุณเฉพาะแต่จำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยซึ่งมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีนี้ความรับผิดตามสัญญาประกันวินาศภัยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537เป็นการฟ้องภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยการฟ้องร้องจำเลยที่ 2จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีร่วมกันหลายจำเลย, การแก้ไขคำฟ้อง, และการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนา จำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนา คดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ เดิมมารดาโจทก์ให้ ส.เช่าทำนา ต่อมา ส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไป แต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของ ส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิ ส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่า ที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมา จำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่ 7 และ11 จากมารดาโจทก์ ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้ว ต่อมา ส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่ออก ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไป ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 7และ 11 ตั้งแต่ต้น เหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 11 ด้วย ก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไป ฉะนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่ 11 จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 วรรคสอง และอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา 21(2) และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา 181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์ จำเลยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องได้ เอกสารมหาชนมีน้ำหนักในการพิจารณา
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนาคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เดิมมารดาโจทก์ให้ส.เช่าทำนาต่อมาส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใดๆขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมาจำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59 โจทก์บรรยายฟ้องว่าส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่7และ11จากมารดาโจทก์ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้วต่อมาส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ออกขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่7และ11ตั้งแต่ต้นเหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่11ด้วยก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไปฉะนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่11จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180วรรคสองและอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา21(2)และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และมาตรา183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าร่วมกัน การผิดสัญญาเช่าช่วง และความรับผิดของผู้เช่าร่วม
จำเลยทั้งห้าเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เมื่อปี 2508บิดามารดาของจำเลยทั้งห้าได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินของโจทก์ แล้วยกให้แก่โจทก์โดยมีสิทธิเช่าอยู่ได้นาน 15 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วบิดามารดาของจำเลยทั้งห้าก็ยังคงเช่าอยู่ต่อมาจนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรม จำเลยทั้งห้าเป็นผู้เช่าต่อโดยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าโดยตรงกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าได้สิทธิการเช่าในอาคารพิพาทต่อจากบิดามารดาซึ่งได้เช่าอาคารพิพาททั้งหลังจากโจทก์ มิได้แบ่งแยกว่าจำเลยคนใดเช่าส่วนใดของอาคารพิพาท ดังนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ตามฟ้อง จำเลยทั้งห้าจึงต้องมีหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาเช่านั้นร่วมกันต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 5 นำอาคารพิพาทบางส่วนไปให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นการผิดสัญญาเช่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นคดีนี้ได้ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่จัดการวัสดุราชการ: ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตความร่วมมือในการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืม เก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้น และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่าย การเก็บรักษาวัสดุแบบพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการ แม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชี ดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชี เมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอ ไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหาย แต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการ ไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่น การละเลยของจำเลยที่ 1และที่ 2 จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่ 2 ประจำห้องคลังวัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดห้องคลังวัสดุ และไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืม จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและผลของการให้การยอมชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่1และที่2มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่1มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืมเก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้นและจำเลยที่2มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่1การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่ายการเก็บรักษาวัสดุแบบพิพม์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการแม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชีดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชีเมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอนโดยจำเลยที่1และที่2ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหายแต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่นการละเลยของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายส่วนจำเลยที่3และที่4เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่2ประจำห้องครัววัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่1ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่2ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดคลังวัสดุและไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืมจำเลยที่3และที่4มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่2เท่านั้นจำเลยที่3และที่4จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย จำเลยที่3และที่4ให้การว่ายอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์คำให้การของจำเลยที่3และที่4จึงหมายความว่ายอมร่วมกับจำเลยที่1และที่2ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่1และที่2ต้องรับผิดเท่านั้นมิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เมื่อจำเลยที่1และที่2ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่3และที่4ด้วยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่3และที่4รับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่ตัวการจะมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนกระทำไปต้องเป็นกรณีที่ตัวแทนได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน แต่จำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 7 ตัวแทนกระทำการโดยทุจริตต่อหน้าที่โดยการปลอมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีอากรขาเข้า และใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมอันเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าวของตัวแทน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินกระทบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจปฏิเสธการจดทะเบียนได้
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตามประมวลที่ดินมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่228/2530ข้อ12(2)ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัดแต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส. ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่425/2531นั้นข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก.เท่านั้นดังนั้นหากส. ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดีและปรากฎว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ส. ส. ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ซึ่งจะทำให้ส. ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้