คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 59

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินกระทบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจปฏิเสธการจดทะเบียนได้
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตามประมวลที่ดินมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่228/2530ข้อ12(2)ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัดแต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส. ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่425/2531นั้นข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก.เท่านั้นดังนั้นหากส. ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดีและปรากฎว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ส. ส. ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ซึ่งจะทำให้ส. ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นคู่ความในคดีเดียวกันต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกัน หรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์โดยผู้ร้องต่างกรรมสิทธิ์ ศาลไม่อนุญาตรับคำร้องหากไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
โจทก์นำยึดที่ดิน 1 แปลงของจำเลยที่ 1 และบ้าน 1 หลังของจำเลยที่ 2 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์รวมมาในคำร้องฉบับเดียวกันโดยผู้ร้องที่ 1 ร้องขอให้ปล่อยที่ดินแห่งหนึ่ง ส่วนผู้ร้องที่ 2 ร้องขอให้ปล่อยบ้านอีกแห่งหนึ่งผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันไม่ใช่ข้อที่จะแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นคู่ความในคดีปล่อยทรัพย์: ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ แม้เหตุเกิดวันเดียวกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่1ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นส่วนผู้ร้องที่2ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวการที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ในคดีเดียวกัน: ผู้ร้องแต่ละคนต้องมีผลประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59
โจทก์นำยึดที่ดิน1แปลงของจำเลยที่1และบ้าน1หลังของจำเลยที่2ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขัดทรัพย์รวมมาในคำร้องฉบับเดียวกันโดยผู้ร้องที่1ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ดินอ้างว่าเป็นเจ้าของส่วนผู้ร้องที่2ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์บ้านอ้างว่าเป็นเจ้าของดังนี้ผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์การที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่ผู้ร้องทั้งสองย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม - การบรรยายรายละเอียดข้อหาและบัญชีผู้ฝากสำคัญต่อการต่อสู้คดี
โจทก์บรรยายฟ้องข้อแรกว่าเมื่อพ. นำใบถอนเงินมาขอถอนเงินแทนผู้ฝากจำเลยที่1ที่2และที่2ได้ลงนามอนุมัติให้ถอนเงินหลายครั้งหลายหนในเอกสารใบถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงินหรือผู้มอบฉันทะแล้วแต่กรณีในใบถอนเงินว่าเหมือนหรือคล้ายกับตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากในบัตรคู่บัญชีหรือไม่หากมีการตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่เหมือนหรือไม่คล้ายกันก็ยังอนุมัติให้ถอนเงินและอีกข้อบรรยายว่าจำเลยที่4ถึงที่9ละเลยการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่บรรยายไว้ในข้อแรกทุกประการหลายครั้งหลายหนโดยไม่ได้บรรยายว่าใบถอนเงินที่จำเลยทั้งจำเลยทั้งเก้าตรวจสอบแล้วเห็นว่าลายมือชื่อไม่เหมือนก็ยังอนุมัติให้ถอนเงินนั้นเป็นเงินในบัญชีของผู้ฝากรายใดถอนเงินไปจำนวนเท่าใดเมื่อวันเดือนปีใดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งโจทก์ไม่ได้แนบบัญชีผู้ฝากเงินดังกล่าวมาท้ายฟ้องเพื่อที่จะให้จำเลยเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ย่อมขาดสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172เป็นฟ้องเคลือบคลุมและเมื่อโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่3ที4ที่6และที่8รับผิดต่อโจทก์ร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยอื่นอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้แล้วแม้จำเลยที่3ที่4ที่6และที่8ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นให้การต่อสู้ไว้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในประเด็นดังกล่าวไปถึงจำเลยที่3ที่4ที่6และที่8ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม – สภาพแห่งข้อหาไม่ชัดเจน – การลงนามอนุมัติถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อ – สาระสำคัญของฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องข้อแรกว่า เมื่อ พ.นำใบถอนเงินมาขอถอนเงินแทนผู้ฝาก จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ลงนามอนุมัติให้ถอนเงินหลายครั้งหลายหนในเอกสารใบถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงินหรือผู้มอบฉันทะแล้วแต่กรณีในใบถอนเงินว่าเหมือนหรือคล้ายกับตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากในบัตรคู่บัญชีหรือไม่ หากมีการตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่เหมือนหรือไม่คล้ายกันก็ยังอนุมัติให้ถอนเงิน และอีกข้อบรรยายว่า จำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ละเลยการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่บรรยายไว้ในข้อแรกทุกประการหลายครั้งหลายหน โดยไม่ได้บรรยายว่าใบถอนเงินที่จำเลยทั้งเก้าอนุมัติให้ถอนเงินโดยไม่ตรวจสอบ และใบถอนเงินที่จำเลยทั้งเก้าตรวจสอบแล้วเห็นว่าลายมือชื่อไม่เหมือนก็ยังอนุมัติให้ถอนเงินนั้นเป็นเงินในบัญชีของผู้ฝากรายใด ถอนเงินไปจำนวนเท่าใด เมื่อวันเดือนปีใดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งโจทก์ไม่ได้แนบบัญชีผู้ฝากเงินดังกล่าวมาท้ายฟ้อง เพื่อที่จะให้จำเลยเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์ย่อมขาดสาระสำคัญตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 เป็นฟ้องเคลือบคลุม และเมื่อโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยอื่นอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้แล้ว แม้จำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นให้การต่อสู้ไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องในประเด็นดังกล่าวไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 8 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของเจ้าของที่ดินหลายแปลง: ประเด็นวิธีพิจารณาความแพ่งที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างและที่ดินคนละแปลง แต่ร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เป็นวิธีการดำเนินคดี ไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิใช่ปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีบุกรุกและคดีมีทุนทรัพย์แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันบุกรุกทำให้เสียหาย หากนำไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 24,000 บาทจำเลยทั้งเจ็ดให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต่างแยกการครอบครอง ดังนั้นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ในขณะยื่นฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 รวมกันมา ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 5 จะยื่นคำให้การรวมกันมาในคำให้การเดียวกันก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งพิพาทกับโจทก์แยกต่างหากจากกัน เพราะฉะนั้นค่าขึ้นศาลสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องคิดแยกต่างหากจากกันด้วย เมื่อที่ดินพิพาทในส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 พิพาทกับโจทก์มีราคา 111,199.25 บาท และ52,037.58 บาท ตามลำดับ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีบุกรุกที่ดินและข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์ รวมถึงการรับช่วงสิทธิจากผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกัน มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครอง แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ 3,000 บาท คดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
of 23