พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2566 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับประกันภัยค้ำจุนในคดีความรับผิดจากอุบัติเหตุ กรณีผู้ตายมีส่วนประมาท
แม้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าหรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียวตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 หรือประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 และความเสียหายของโจทก์เป็นพับ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้ การอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12093/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก ศาลฎีกาพิจารณาอายุความจากวันที่จัดการมรดกเสร็จสิ้น
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสอง แต่จำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งจะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง การที่จำเลยระบุในคำให้การว่าโจทก์ฟ้องเกินสิบปี จึงขาดอายุความนั้น ถือได้ว่าอายุความที่จำเลยอ้างคือ อายุความมรดกตามมาตรา 1754 จึงไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตามมาตรา 1733 วรรคสอง แม้จำเลยร่วมให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกก็ตาม แต่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ถือไม่ได้ว่าจำเลยยกอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์ไม่ฎีกาข้อนี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10859/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในมูลละเมิดและการจดทะเบียนที่ดิน: การแยกพิจารณาความรับผิดของจำเลยแต่ละราย
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลละเมิด เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 หลอกขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง และฟ้องจำเลยที่ 4 ให้ร่วมรับผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทของ ซ. ให้แก่ บ. โดยประมาทเลินเล่อ มูลเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 4 ต้องรับผิดจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิใช่เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 4 ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้จึงไม่ถือว่าเป็นการทำแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้และบรรยายในคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความว่า ก่อนมีการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยร่วมแล้ว โดยโจทก์ให้ความยินยอมเป็นหนังสือและทำสัญญาเช่าซื้อฉบับใหม่กับจำเลยร่วม อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยร่วม จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ย่อมมีผลเป็นการยกฟ้องจำเลยร่วม จำเลยทั้งสามยังคงอุทธรณ์ว่า จำเลยร่วมเป็นผู้ต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่จำเลยทั้งสาม จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งโจทก์และเป็นอุทธรณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยร่วมด้วยเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยร่วมยังเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยสั่งให้ส่งสำเนาแก่โจทก์ แต่ไม่ได้ส่งสำเนาแก่จำเลยร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 235 และการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียก่อนกับการที่ศาลชั้นต้นไม่นัดจำเลยร่วมมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบ เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย้อนสำนวนกลับไปดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์คดีผู้บริโภค: คดีพิเศษต้องคิดรวมกลุ่ม ไม่แยกรายบุคคล
คดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 10 (7) เป็นการดำเนินคดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตามมาตรา 39 จึงเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษต่างจากคดีแพ่งทั่วไป หลักเกณฑ์ในการพิจารณาทุนทรัพย์ที่ฟ้องคดีว่าจะอยู่ในอำนาจของศาลใด ต้องคำนวณทุนทรัพย์ในลักษณะรวมกลุ่มคดีโดยรวมทุนทรัพย์ของผู้บริโภคทุกราย แม้แต่ละรายไม่เกิน 300,000 บาท แต่ในคดีนี้ เมื่อรวมทุนทรัพย์ในคดีแล้วจำนวน 610,709 บาท จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ที่จะต้องรับฟ้องไว้พิจารณา ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งว่า มูลหนี้ของผู้บริโภคแต่ละรายสามารถแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 และไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 2 อย่างคดีแพ่งทั่วไปเป็นการไม่ชอบ จึงต้องรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดวงเงินอุทธรณ์คดีแชร์, ความเป็นอื่นของโจทก์, และการแก้ไขจำนวนหนี้ที่พิพากษา
จำเลยเป็นหัวหน้าวงแชร์ โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ร่วมเล่นแชร์วงเดียวกันซึ่งมีจำเลยเป็นหัวหน้าวง แต่โจทก์ทั้งหกต่างมิได้มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งหกมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งหกมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์ในการใช้สิทธิอุทธรณ์ย่อมต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด หาใช่พิจารณาจากหนี้ที่โจทก์ทั้งหกเรียกร้องรวมกันไม่ เมื่อจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 และที่ 6 ไม่เกินห้าหมื่นบาท คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ที่ 5 และที่ 6 กับจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จำนอง-การบังคับจำนอง-ดอกเบี้ย-การแก้ไขคำพิพากษา
สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปี และเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 จึงเกินห้าปี ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ และศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. เจ้ามรดกที่มีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทในคดีที่โจทก์หลายคนครอบครองที่ดินแยกส่วน การอุทธรณ์ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของแต่ละคน
โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แต่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดาโจทก์ที่ 1 เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ 1 ต่อมาโจทก์ที่ 1 แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่ 93 ตารางวา ราคาประมาณ 45,000 บาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่ 2 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 2 และส่วนที่ 3 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 3 หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์อุทธรณ์ในคดีครอบครองที่ดินเป็นส่วนๆ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้โจทก์ทั้งสามร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งสามจะถือราคาที่ดินทั้งแปลงเป็นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 50,000 บาท และอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(
โจทก์ทั้งสามฎีกาเฉพาะเพียงขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้พิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม(
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และการโต้เถียงดุลพินิจพยานหลักฐาน
คดีมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการพิพาทด้วยสิทธิในที่ดินตามฟ้อง จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์ทั้งสามจะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งสามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้ยกเลิกหรือระงับหรือเพิกถอนการแจกหรืออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพราะหากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ที่ดินพิพาทสามแปลงรวมเนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา ราคา 229,250 บาท ที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 10 ไร่เศษ และของโจทก์ที่ 3 เนื้อใน 12 ไร่เศษ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามมีน้ำหนักในการรับฟังมากว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว