พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างล่วงหน้าเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเต็มจำนวนหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายคืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นแทนในวงเงิน 500,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้าคืนเท่านั้น มิใช่เรื่องค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างแต่คิดคำนวณเนื้องานที่ทำไปแล้วเป็นเงิน 683,077 บาท ดังนั้น เมื่อผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไปคำนวณเป็นเงินเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวจึงพ้นจากความรับผิด
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องตีความเคร่งครัด การลงลายมือชื่อรับรองความเข้าใจเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่ฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด เมื่อข้อความในสัญญากู้ยืมเงินทั้งฉบับไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จะใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 ผู้กู้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่สัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกัน เจตนาสำคัญกว่าตัวอักษร และให้ประโยชน์แก่ผู้ต้องเสีย
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงิน และ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์)ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวนี้มีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น มิใช่ต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอกต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5151/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาค้ำประกันและจำนอง: ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้ของลูกหนี้อีกทอดหนึ่ง
ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 และในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามมาตรา 11
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงินและ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าภายใน วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ใจความว่าจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน ไม่เกิน1,500,000 บาท ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าหมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น คู่สัญญาไม่น่าจะคาดหมายว่าจะต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า เนื่องในการที่ธนาคารโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าลูกหนี้ทำการกู้เงินหรือเบิกเงินเกินบัญชี ขายลดตั๋วเงินและ/หรือรายการอื่นใดอันก่อให้เกิดหนี้สินพันธะระหว่างจำเลยกับธนาคารทหารไทย จำกัด (โจทก์) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้หรือจะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าภายใน วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันที่จำเลยที่ 5 จำนองแก่โจทก์ใจความว่าจำเลยที่ 5 จำนองที่ดินเป็นประกันเงินซึ่งจำเลยเป็นหนี้โจทก์ก่อนเวลานี้หรือในเวลานี้ หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน ไม่เกิน1,500,000 บาท ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยที่ 5ยอมรับผิดในหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่จะพึงเกิดขึ้นในภายหน้าหมายถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ของโจทก์โดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น คู่สัญญาไม่น่าจะคาดหมายว่าจะต้องรับผิดในหนี้สินที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ไปค้ำประกันหนี้บุคคลภายนอก คือ จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อีกต่อหนึ่งในภายหน้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต่อศาล: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยแพ้คดีและบทบัญญัติค้ำประกันทั่วไปมิอาจปรับใช้
ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นผู้ยื่นฎีกา แต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกันก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า อ. ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ร้องยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ และสิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาล ย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยไว้ต่อศาลซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐเพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษา มิใช่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องค้ำประกันมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า อ. ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ร้องยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ และสิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาล ย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยไว้ต่อศาลซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐเพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษา มิใช่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องค้ำประกันมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต่อศาล: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ และการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกาแต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกัน ก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "? ข้าพเจ้า นายอมร เนติพิพัฒน์ ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้?" ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แม้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะของผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไป ก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่
สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน ดังนั้น การออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาล มิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ในเรื่องค้ำประกัน ที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้อง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "? ข้าพเจ้า นายอมร เนติพิพัฒน์ ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้?" ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แม้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะของผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไป ก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่
สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน ดังนั้น การออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาล มิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ในเรื่องค้ำประกัน ที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้อง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิการเช่าเป็นประกันหนี้ การขายทอดตลาด และการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบ
ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ 1 ขอมอบสิทธิการเช่าดังกล่าวให้ไว้แก่ผู้ให้กู้หรือโจทก์เป็นจำนำ และระบุไว้ชัดแจ้งว่า ในกรณีที่ผู้กู้หรือจำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระเงินตามกำหนดโจทก์มีสิทธิเอาทรัพย์ที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ ดังนี้แม้ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าว สิทธิตามสัญญาเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 101 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำสัญญาจึงไม่อาจจำนำได้ก็ตาม แต่ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้งว่าตกลงให้สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้และหากผู้กู้ผิดนัดโจทก์ต้องนำสิทธิการเช่าดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือให้ไว้แก่เทศบาลเมืองขอนแก่นว่ายินยอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ก็เป็นเพียงหนังสือยืนยันว่าจำเลยที่ 1 จะโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์หรือบุคคลอื่นเมื่อขายทอดตลาดสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้วเท่านั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าของจำเลยที่ 1 มาเป็นของโจทก์แล้วทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองขอนแก่นโดยไม่ได้ขายทอดตลาด ทั้งโจทก์ตีราคาสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไว้ล่วงหน้าโดยไม่ปรากฏราคาท้องตลาด จึงเป็นการเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมแก่จำเลยที่ 1 การรับโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความสมบูรณ์แม้คู่สัญญาไม่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมกัน
สัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายกำหนดแบบไว้
การที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารหนังสือสัญญาค้ำประกันพิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาหาทำให้จำเลยพ้นจากความผูกพันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวที่มีอยู่กับโจทก์
การที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารหนังสือสัญญาค้ำประกันพิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาหาทำให้จำเลยพ้นจากความผูกพันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวที่มีอยู่กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้คู่สัญญาไม่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมกัน และเอกสารมีชื่อบริษัทอื่นปรากฏ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองบัญญัติเพียงว่า "อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่" การที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารหนังสือสัญญาค้ำประกันพิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นจากความผูกพันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวที่มีอยู่กับโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการรับมอบสินค้า และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าชักช้า
ตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 (ผู้ขนส่ง)โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายจากการนี้ ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขาย โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้า ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือผู้ขายได้ดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ที่ 1 จึงถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งซึ่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขาย โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้า ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือผู้ขายได้ดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ที่ 1 จึงถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งซึ่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30