พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างครอบคลุมถึงเงินทดรองค่าวัสดุ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์แล้วเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน 10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใดมีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้าซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสาร อันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องมีสิทธิเลิกสัญญาตามกฎหมายหรือข้อตกลง ไม่สามารถบอกเลิกได้ตามอำเภอใจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใดการที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2และมิได้โต้แย้งคัดค้านหามีผลเป็นการเลิกสัญญาดังกล่าวไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ หากเป็นเพียงหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เอกสารฉบับพิพาทเป็นเพียงบันทึกที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชดใช้ จำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้แทนจนครบ โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อมิใช่เป็นหนังสือ สัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็น ตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนด ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากรมาตรา 103,104 และ 118 แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน: การใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่มีอากรแสตมป์
เอกสารฉบับพิพาทเป็นเพียงบันทึกที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชดใช้ จำเลยที่ 2ยินยอมชดใช้แทนจนครบ โดยจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อมิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผลกระทบต่อสัญญาค้ำประกัน: การยกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออก และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการจำเลยที่ 1ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพันตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกันหลังเปลี่ยนแปลงกรรมการและทำสัญญาใหม่ ย่อมทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออกและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าว ไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ จำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิม ลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพัน ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้น สัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันดับยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้วจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับได้, ศาลรับฟังเอกสารเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสาร ฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็น ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสาร หมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อ ในเอกสารหมาย จ.11 แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับ เอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐาน อันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการ ฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟัง เอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการคิดดอกเบี้ยหลังหมดอายุ
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณีที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีรายการเดินสะพัด และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญากับระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือน และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่ออีกคราวละ 6 เดือนตลอดไป หลังจากครบกำหนดสัญญา 12 เดือนแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้วได้มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนเงินฝากประจำจากบัญชีของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาหักทอนบัญชี เพื่อชำระหนี้ แต่ก็ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันให้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันครบกำหนด ตามสัญญา แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความในสัญญาระบุว่าเมื่อถึงกำหนด 12 เดือนและไม่มีการต่ออายุการเบิก เงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวนั้น ย่อมมีความหมายถึงกรณี ที่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีเท่านั้น หาใช่สัญญาเบิก เงินเกินบัญชีได้มีการต่ออายุสัญญาต่อไปจนกระทั่งโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงวันสิ้นสุดของสัญญาเท่านั้น