พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสัญญากู้ยืมที่มีการค้ำประกันเมื่อลูกหนี้โยกย้ายไปบริษัทในเครือ
ตามสัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ข้าพเจ้า (จำเลย) ขอทำสัญญาค้ำประกัน ว.ไว้ต่อบริษัท น. มีข้อความดังต่อไปนี้ ข้อ 5 " ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับคำสั่งให้โยกย้ายไปปฏิบัติงานในบริษัทอื่น ซึ่งต่างนิติบุคคลกับบริษัท น.แต่เป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม ที.ซี.ซี.ไม่ว่าจะตั้งสำนักงานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของบริษัทในเครือของบริษัทกลุ่ม ที.ซี.ซี." หมายความว่าจำเลยยอมผูกพันตนชำระหนี้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ อันเกิดจากการกระทำของ ว.ในขณะปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของบริษัท น.หรือบริษัทในกลุ่ม ที.ซี.ซี.
เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ ว.ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัท น. แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่ม ที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่ม ที.ซี.ซี. ดังนั้นเมื่อ ว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ ว.ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัท น. แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่ม ที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่ม ที.ซี.ซี. ดังนั้นเมื่อ ว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาค้ำประกันทุนรัฐบาลต่างประเทศ – ความเสียหายระหว่างปฏิบัติราชการ
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากประเทศมาเลเซีย เป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนรัฐบาลมาเลเซียเพื่อการศึกษา: ความรับผิดสัญญาและการค้ำประกัน
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่1ได้รับโอนตรงจากประเทศมาเลเซียเป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบมิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่1ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรมทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง กรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุนความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่1ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่3จะต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์: หลักฐานการฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 680
บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายระบุว่ามีคู่กรณี2ฝ่ายฝ่ายแรกคือโจทก์ทั้งสองฝ่ายหลังคือ ท. คู่กรณีได้ตกลงกันว่าฝ่ายหลังจะชดใช้ค่าเสียหายคืนให้ฝ่ายแรกตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้หากฝ่ายหลังผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวระบุต่อไปว่าคู่กรณีตกลงกันเป็นที่เข้าใจแล้วโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ ท. ในข้อหาฉ้อโกงอีกต่อไปพร้อมกับลงชื่อโจทก์ทั้งสอง ท. จำเลยทั้งสองและพนักงานสอบสวนดังนี้จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้ค้ำประกันอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเมื่อ ท. ผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสอง บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญในอันที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองเท่านั้นมิใช่ตราสารตามประมวลรัษฎากรมาตรา118จึง ไม่ต้องปิด อากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน ต้องมีข้อความยอมชำระหนี้แทน
เอกสารที่จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันต้องมีข้อความที่ให้ความหมายว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วบุคคลภายนอกนั้นจะยอมชำระหนี้แทนแต่เอกสารพิพาทมีข้อความว่า"ข้าพเจ้านางสาวอ. (จำเลยที่2)นางสาวด. (จำเลยที่3)ขอรับรองว่าจะนำโฉนดที่ดิน(ระบุเลขโฉนด)มอบให้ม. ในวันที่13มีนาคม2531เพื่อเป็นหลักทรัพย์ซึ่งน. (จำเลยที่1)ได้บกพร่องต่อทางราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีตามความเป็นจริงที่น. ได้กระทำเท่านั้น"เมื่อเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความที่ให้ความหมายว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แล้วจำเลยที่2และที่3จะชำระแทนจึงไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่2และที่3ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันต้องมีเจตนาชำระหนี้แทนลูกหนี้ หากไม่มีข้อความดังกล่าว ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกัน
เอกสารที่จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันต้องมีข้อความที่ให้ความหมายว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วบุคคลภายนอกนั้นจะยอมชำระหนี้แทนแต่เอกสารพิพาทมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านางสาว อ.(จำเลยที่ 2) นางสาว ด.(จำเลยที่ 3) ขอรับรองว่าจะนำโฉนดที่ดิน (ระบุเลขโฉนด) มอบให้ ม.ในวันที่13 มีนาคม 2531 เพื่อเป็นหลักทรัพย์ซึ่ง น.(จำเลยที่ 1) ได้บกพร่องต่อทางราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ตามความเป็นจริงที่ น.ได้กระทำเท่านั้น" เมื่อเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความที่ให้ความหมายว่าถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทน จึงไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ความสุจริตในการสู้คดี, และการใช้ดุลพินิจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเนื่องจากเครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้องจึงต้องคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าใหม่โดยใช้ค่าตัวประกอบภาระไฟฟ้าในช่วงที่ใช้กระแสไฟฟ้าตามความเป็นจริงคำนวณได้เท่ากับ 0.7369 แล้วใช้ค่าตัวประกอบนี้เป็นฐานในการหาหน่วยกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไปแต่ละเดือนคำฟ้องส่วนนี้แม้จะใช้ศัพท์ทางเทคนิคแต่เป็นการบรรยายวิธีคำนวณตามหลักวิชาการไม่ถือว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่1หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าแล้วจำเลยที่ 3 ยอมชำระแทนทันทีไม่มีข้อโต้แย้งถึงแม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับใดแต่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันเองย่อมจะตรวจสอบสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับและให้การต่อสู้คดีได้อยู่แล้วคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาครบถ้วนแล้วไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับฉบับที่ 1 ค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 260,000 บาทมีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2530 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 ฉบับที่ 2 ขยายเวลาอีก 1 ปีไปจนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 และฉบับที่ 3 วงเงินไม่เกิน 400,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2532 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 แม้หนังสือสัญญาสองฉบับหลังจะสิ้นสุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532พร้อมกันแต่ออกจากธนาคารเดียวกันข้อความฉบับที่ 3 ระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าแทนในจำนวนไม่เกิน 400,000 บาทอันเป็นการจำกัดวงเงินที่ต้องรับผิดไว้ไม่มีข้อความตกลงยอมรับผิดในวงเงินเพิ่มขึ้นจากฉบับอื่นอีกจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 400,000 บาท เท่านั้น โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภคโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าบกพร่องไปมิใช่ฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากละเมิดจึงฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงเมื่อโจทก์ชนะคดีบางข้อและแพ้คดีบางข้อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับแก่ทุกฝ่ายจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้: แม้การทำสัญญาจะไม่มีอำนาจ แต่หากตัวการรับชำระหนี้ ย่อมผูกพันตามสัญญา
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2 ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพันลูกหนี้ที่ 1ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้ที่ตัวแทนทำโดยปราศจากอำนาจ และผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้ง คัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือ รับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้ สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพัน ลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้ นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ลูกหนี้ ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหน้าที่การงาน ตำแหน่งใหม่เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับจ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ-จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป