พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้เปลี่ยนตำแหน่งงานและเพิ่มความเสี่ยง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ -จ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่ แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ - จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่ระบุวงเงินรวมดอกเบี้ย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ระบุว่าเนื่องในการที่โจทก์ยอมรับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่าลูกหนี้กู้ยืมเงินหรือก่อหนี้สินประเภทต่าง ๆ เช่น ขาดลดเช็ค ฯลฯ จำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวมาของลูกหนี้ ภายในวงเงิน 2,500,000 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆในสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระหนี้นั้น ไม่ว่าหนี้เครดิตสินเชื่อหรือความรับผิดนั้นจะมีอยู่แล้วในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้าทั้งนี้จนกว่าเจ้าหนี้ (โจทก์) จะได้รับชำระหนี้หรือได้รับชดใช้โดยสินเชิง ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2มิได้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,500,000บาท แต่รวมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้ำประกัน: ค้ำทั้งหมดรวมดอกเบี้ย ไม่จำกัดวงเงิน
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ ระบุว่าเนื่องในการที่โจทก์ยอมให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่าลูกหนี้กู้ยืมเงินหรือก่อหนี้สินประเภทต่าง ๆ เช่น ขายลดเช็ค ฯลฯ จำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันชำระหนี้ดังกล่าวมาของลูกหนี้ ภายในวงเงิน 2,500,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระหนี้นั้น ไม่ว่าหนี้เครดิตสินเชื่อหรือความรับผิดชอบนั้นจะมีอยู่แล้วในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้า ทั้งนี้จนกว่าเจ้าหนี้ (โจทก์) จะได้รับชำระหนี้หรือได้รับชดใช้โดยสิ้นเชิง ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2 มิได้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,500,000 บาท แต่รวมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันไม่เปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้ตกลงชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้าง คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง และไม่ทำให้จำเลยที่ 1 กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันแยกจากลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้มีข้อตกลงชำระเงินแทนทันที
จำเลยที่3มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้างคงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้นแม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่าจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้างและไม่ทำให้จำเลยที่1กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่1และที่2รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาและหนังสือมอบอำนาจ: การปิดอากรแสตมป์และการใช้เป็นพยานหลักฐาน
สัญญาประกันเพื่อปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีหลักประการตามมาตรา112แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิใช่เป็นสัญญาค้ำประกันซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680และมิใช่ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรว่าต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา104ไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา118แห่งประมวลรัษฎากรจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ หนังสือมอบอำนาจซึ่งจำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2ไปประกันตัวผู้ต้องหามีข้อความว่าจำเลยที่1ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกันตัวจ.ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่1จนเสร็จการและจำเลยที่1ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบอำนาจได้ทำไปตามที่มอบอำนาจนี้ภายในวงเงินไม่เกินราคาที่ดินโฉนดข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจไปประกันตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่1จนเสร็จการจึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(ก) คำว่า"กระทำ"ในบทนิยามมาตรา103แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อใช้เกี่ยวกับตราสารหมายความว่าการลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การที่จำเลยที่2ผู้รับมอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อตามที่พนักงานสอบสวนนัดให้ส่งตัวผู้ต้องหาหลายครั้งที่ด้านหลังสัญญาประกันจึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่1มอบอำนาจให้จำเลยที่2กระทำการมากกว่าครั้งเดียวแต่เป็นกรณีที่จำเลยที่2ต้องปฎิบัติตามเงื่อนเวลาที่พนักงานสอบสวนกำหนดให้ผู้ประกันต้องปฎิบัติตามในการส่งตัวผู้ต้องหาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้มีข้อตกลงถอนฟ้องอาญาเพิ่มเติม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
จำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์650,000บาทโดยมีจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์โดยมีใจความสำคัญว่าผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยที่1แก่โจทก์ถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ดังนี้จำเลยที่2จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ส่วนข้อตกลงอื่นๆที่ระบุว่าเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้จนครบแล้วเจ้าหนี้จะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาให้แก่ลูกหนี้ต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและไม่ใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระหนี้แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ 650,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์โดยมีใจความสำคัญว่า ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ส่วนข้อตกลงอื่น ๆ ที่ระบุว่าเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้จนครบแล้ว เจ้าหนี้จะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาให้แก่ลูกหนี้ต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและไม่ใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระหนี้แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้างและสัญญาค้ำประกัน: การตีความสัญญาและขอบเขตความรับผิด
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน 14,700,000 บาท โดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใด การก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 22 มีนาคม 2531 ในสัญญาตกลงว่า ถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 10,000 บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ 200 บาท โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใด ประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอม โจทก์ก็จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับและค่าควบคุมงานจากการก่อสร้างล่าช้า สัญญาค้ำประกันไม่ใช่หลักประกันหนี้
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน14,700,000บาทโดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใดการก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่22มีนาคม2531ในสัญญาดังกล่าวถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันละ10,000บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ200บาทโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใดประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ฉะนั้นแม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอมโจทก์จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป