พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมทำนิติกรรม: ความยินยอมล่วงหน้าตลอดไปได้หรือไม่?
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะราย จะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้ ทั้งโดยสภาพผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปก็ได้
หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมให้ จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงิน กู้เบิกเงินเกินบัญชี ค้ำประกัน ฯลฯ หรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาให้ความยินยอมในการที่ จ.ทำนิติกรรมที่ระบุในหนังสือให้ความยินยอมและนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ตลอดไปดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่ จ.ทำกับโจทก์เพื่อค้ำประกันหนี้ของ ว.ที่มีต่อโจทก์ ย่อมมีผลใช้บังคับโดยชอบ
หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมให้ จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงิน กู้เบิกเงินเกินบัญชี ค้ำประกัน ฯลฯ หรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาให้ความยินยอมในการที่ จ.ทำนิติกรรมที่ระบุในหนังสือให้ความยินยอมและนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ตลอดไปดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่ จ.ทำกับโจทก์เพื่อค้ำประกันหนี้ของ ว.ที่มีต่อโจทก์ ย่อมมีผลใช้บังคับโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องตั๋วสัญญาใช้เงินและขอบเขตความรับผิดของผู้สลักหลัง/ผู้รับรอง
โจทก์ฟ้องว่า บริษัท อ. ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ มีส. และจำเลยเป็นผู้อาวัลตั๋ว แล้วบริษัท อ. ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวขายให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งระบุว่า บริษัท อ. จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อครบกำหนดวันใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และมีข้อความต่อมาว่า ส.และจำเลยได้ทราบข้อตกลงที่บริษัท อ. นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายแก่โจทก์ดังกล่าวข้างต้นทุกประการ ยินยอมรับอาวัล อนึ่งถ้าธนาคารโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระเงินให้แก่บริษัท อ. ถือว่า ส. และจำเลยยินยอมตกลงผ่อนเวลานั้นด้วย ข้อความดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกัน หนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเพียงคำรับรองว่าจำเลยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น มิได้เป็นผู้ค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 ประกอบมาตรา 1001
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้ทำหลังสัญญากู้ และผู้ค้ำประกันทราบถึงหนี้แล้ว
การค้ำประกันหรือการที่บุคคลภายนอกซึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น สามารถทำได้ทั้งเพื่อการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ก่อนแล้วและหนี้ในอนาคต โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ค้ำประกันได้รู้เห็นด้วยหรือไม่ในขณะที่ลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้น ถ้าหนี้นั้นเป็นหนี้อันสมบูรณ์ผู้ค้ำประกันย่อมต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้จริง แม้จะไม่ได้ทำพร้อมกันกับสัญญากู้ก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการทำสัญญาค้ำประกันจะต้องทำพร้อมกับสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีการกู้ยืมเงินและรับเงินกันไปแล้วจริงจึงเป็นหนี้อันสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้ทำหลังสัญญากู้ และหนี้เป็นหนี้สมบูรณ์
การค้ำประกันหรือการที่บุคคลภายนอกซึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น สามารถทำได้ทั้งเพื่อการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ก่อนแล้วและหนี้ในอนาคต โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ค้ำประกันได้รู้เห็นด้วยหรือไม่ในขณะที่ลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้น ถ้าหนี้นั้นเป็นหนี้อันสมบูรณ์ผู้ค้ำประกันย่อมต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้จริง แม้จะไม่ได้ทำพร้อมกันกับสัญญากู้ก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการทำสัญญาค้ำประกันจะต้องทำพร้อมกับสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีการกู้ยืมเงินและรับเงินกันไปแล้วจริงจึงเป็นหนี้อันสมบูรณ์
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้จริง แม้จะไม่ได้ทำพร้อมกันกับสัญญากู้ก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการทำสัญญาค้ำประกันจะต้องทำพร้อมกับสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีการกู้ยืมเงินและรับเงินกันไปแล้วจริงจึงเป็นหนี้อันสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินพิรุธ พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้งกันเอง ศาลไม่รับฟังว่ามีการกู้ยืมจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันถึงกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้คืนโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระพร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยที่ 1ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน จำเลยที่ 1มิได้ยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ให้การเพียงว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ปัญหาว่าสัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น คดีแพ่งที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะได้ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้หรือไม่ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 80,000 บาท ตามสัญญากู้เงินตามฟ้องหรือไม่นั้นเมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธหลายประการไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 80,000 บาทและทำสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319-1320/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันต้องเกิดจากการชำระหนี้แทนจำเลยให้เจ้าหนี้ มิใช่การผูกพันตนเป็นลูกหนี้ใหม่
สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693แต่การชำระหนี้โดยวิธีการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของ ธ.เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ ธ. เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่าง ธ.กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ธ. ยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้เช่นเดิมเมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยให้แก่ ธ. ไปแล้วหรือไม่เป็นจำนวนเท่าใดโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือขอออก L/C ไม่ใช่การค้ำประกัน แต่เป็นการยอมชำระหนี้โดยตรง จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่1ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศจำเลยที่3มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่3ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้หนังสือของจำเลยที่3ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่3ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้นั้นจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคแรก เมื่อจำเลยที่3มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่1และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่3ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่1จนจำเลยที่1ได้รับสินค้าไปแล้วเป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่1และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่3จำเลยที่3ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1จำเลยที่3จะยกเหตุว่าผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่1และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ2คนตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่ จำเลยที่3มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้จำเลยที่3จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ12ต่อปีจำเลยที่3มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่นต้องถือว่าจำเลยที่3ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองออกเลตเตอร์ออฟเครดิต: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับรองเมื่อมีการชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศ จำเลยที่ 3 มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์-ออฟเครดิตแก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ หนังสือของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่ 3 ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้นั้น จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคแรก
เมื่อจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่ 3 ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 จนจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าไปแล้ว เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จะยกเหตุว่า ผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่ 1 และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ 2 คน ตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี จำเลยที่ 3 มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่ 3 ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 จนจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าไปแล้ว เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จะยกเหตุว่า ผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่ 1 และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ 2 คน ตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี จำเลยที่ 3 มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันความเสียหายจากการทำงาน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นตามกฎหมาย แม้ไม่มีข้อความระบุ
เอกสารที่ทำขึ้นใช้ถ้อยคำแสดงว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันและข้อความต่อมาก็ระบุในรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ลงชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าว ขอรับรองการเข้ามาทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ยักยอกหรือทุจริตเงินของโจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทันที ดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดจากการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ทำหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือให้ไว้แก่โจทก์ แม้จะไม่มีข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพราะเมื่อจำเลยที่ 2 ยินยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันแล้ว ความรับผิดจะมีขึ้นตอนไหนเพียงใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายไม่จำต้องระบุถึงความรับผิดดังกล่าวซ้ำอีกถึงได้ใช้คำว่า "ผู้ค้ำประกัน" อันเป็นถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 11ว่าด้วยค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1