พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, สัญญาทรัสต์รีซีท, อัตราดอกเบี้ย, ข้อพิพาททางการค้า
ลายมือชื่อผู้แทนจำเลยที่ 2 ในช่องผู้ค้ำประกันคือลายมือชื่ออันแท้จริงของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 2 ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียน จึงเชื่อได้ว่าผู้ที่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 2 ลงในช่องผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันคือ จำเลยที่ 6 มีผลเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ประทับตราสำคัญดังกล่าวเอง ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตราสำคัญที่นำมาประทับดังกล่าวมิใช่ตราสำคัญที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 5 จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อปัดความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้
การที่จำเลยที่ 1 ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ และให้โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 โดยชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อนนั้น เป็นการให้บริการสินเชื่อประเภทหนึ่งของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เข้าเป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นผู้ดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือรับทำการงานต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่ จึงไม่อาจนำเอาอายุความ 2 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในคดีได้ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารสิทธิจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาซึ่งต่อเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความโดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ได้ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีทมิได้กำหนดจำนวนดอกเบี้ยไว้แน่นอนตายตัว ดอกเบี้ยในข้อ 4 นี้ ย่อมหมายถึงดอกเบี้ยลอยตัวในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวในข้อ 7 กลับระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายความว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จสิ้นโดยต้องย้อนไปใช้อัตราตามที่ระบุในข้อ 4 ของสัญญา คืออัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่ใช้กับลูกค้าที่ยังไม่ผิดนัดผิดสัญญาเท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ และให้โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 โดยชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อนนั้น เป็นการให้บริการสินเชื่อประเภทหนึ่งของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์เข้าเป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นผู้ดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือรับทำการงานต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่ จึงไม่อาจนำเอาอายุความ 2 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในคดีได้ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต จึงได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารสิทธิจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ในภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้าไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาซึ่งต่อเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต สำหรับหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความโดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ได้ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีทมิได้กำหนดจำนวนดอกเบี้ยไว้แน่นอนตายตัว ดอกเบี้ยในข้อ 4 นี้ ย่อมหมายถึงดอกเบี้ยลอยตัวในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าที่มิได้ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวในข้อ 7 กลับระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ค้างชำระในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมหมายความว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จสิ้นโดยต้องย้อนไปใช้อัตราตามที่ระบุในข้อ 4 ของสัญญา คืออัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดที่ใช้กับลูกค้าที่ยังไม่ผิดนัดผิดสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้าง: การริบเงินเป็นเบี้ยปรับค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
สัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุว่า ในขณะทำสัญญานี้ ผู้รับจ้างได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคาร น. จำนวนเงิน 167,324 บาท มามอบให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันนี้ผู้ว่าจ้างจะคืนให้เมื่อผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว และข้อ 16 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาผู้ว่าจ้างมีสิทธิริบหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันระบุว่า ธนาคารยอมผูกพันชำระเงินให้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้ว่าจ้างจำนวนไม่เกิน 167,324 บาท ในกรณีที่ผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่จำเลยมอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญา และหากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอย่างน้อยก็คือเงินที่เป็นหลักประกันเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารจึงเป็นเงินประกันค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญา ทั้งตามหนังสือค้ำประกันก็จำกัดวงเงินสูงสุดไว้ มิใช่ว่าธนาคารจะต้องผูกพันชำระเงินเต็มจำนวนตามหนังสือค้ำประกันเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับความเสียหายหรือจำนวนค่าปรับรวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ว่ามีเพียงใด จำนวนเงินที่ริบจึงไม่แน่นอนตายตัว การริบเงินดังกล่าวจึงมิใช่การริบในลักษณะที่เป็นมัดจำแต่เป็นการริบในลักษณะที่เป็นเบี้ยปรับ โดยเฉพาะสัญญาข้อ 17 ก็ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับค่าปรับหรือค่าเสียหายเอาจากหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ดังนั้น แม้เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารจะเป็นการประกันรวมไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์บอกเลิกสัญญาหรือสัญญาสิ้นสุดลงด้วยดังที่โจทก์ฎีกาก็ตามก็ต้องถือว่าเป็นการประกันในลักษณะที่เป็นเบี้ยปรับอันเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่นเดียวกับค่าปรับรายวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสำเร็จรูป: การตีความเจตนาของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิด
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์ทำให้ไว้แก่จำเลย ข้อ (1) ระบุว่า "ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันหนี้สินทุกชนิดบรรดาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ได้เป็นหนี้ต่อธนาคารอยู่แล้วก่อนวันทำสัญญานี้ และหรือเป็นหนี้อยู่ในขณะทำสัญญานี้และรวมทั้งหนี้สินที่ลูกหนี้จะได้เป็นหนี้ต่อธนาคารหลังจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไป..." สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบฟอร์มของสัญญาสำเร็จรูปที่จำเลยทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหนังสือค้ำประกันได้ทุกประเภท ข้อความในสัญญามีลักษณะเขียนครอบคลุมให้ลูกหนี้ต้องรับผิดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งอาจไม่ตรงกับเจตนาของคู่สัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาเพียงค้ำประกันหนี้ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ขอให้จำเลยออกหนังสือค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างหรือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่ค้ำประกันหนี้สินอย่างอื่นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มีต่อจำเลย การที่จำเลยนำเงินฝากประจำของโจทก์ไปหักชำระหนี้เงินกู้และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เดิม, เบี้ยปรับลดได้, ความรับผิดผู้ค้ำประกัน, อายุความ 10 ปี
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนออกประมูลขายได้เงินน้อยกว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าว จำนวน 284,007 บาท โดยีการลดค่าเสียหายเหลือเพียง 170,000 บาท และกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องผ่อนชำระและระยะเวลาชำระเสร็จรวมทั้งกำหนดอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่แตกต่างกับข้อตกลงและจำนวนค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลให้หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อระงับไปและก่อให้เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าหากชำระไม่ผิดนัดในยอดเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลืออีกต่อไป หากผิดสัญญาตกลงยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนเงิน284,007 บาท และยินยอมเสียดอกเบี้ยในยอดเงินจำนวนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญานั้น ข้อตกลงให้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน 284,007 บาท ในส่วนที่เกิน 170,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้
แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าว จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน ความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นความรับผิดในหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามสัญญาและตามกฎหมายสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจึงไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
หนี้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 อันเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วย โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29 กันยายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าหากชำระไม่ผิดนัดในยอดเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลืออีกต่อไป หากผิดสัญญาตกลงยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนเงิน284,007 บาท และยินยอมเสียดอกเบี้ยในยอดเงินจำนวนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญานั้น ข้อตกลงให้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน 284,007 บาท ในส่วนที่เกิน 170,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้
แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าว จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน ความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นความรับผิดในหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามสัญญาและตามกฎหมายสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจึงไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
หนี้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 อันเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วย โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29 กันยายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8143/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์โดยมีคำสั่งว่า "รับอุทธรณ์ของโจทก์สำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์" และในวันเดียวกันโจทก์แถลงขอให้ส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ข้ามเขตศาลโดยแนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์จำนวน 300 บาท เป็นค่าส่งหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งคำสั่งให้ทนายโจทก์ทราบว่าอัตราค่าส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ยังขาดค่าพาหนะอีก 100 บาท ให้นำเงินค่าพาหนะมาวางเพิ่ม โจทก์มีหน้าที่ต้องนำค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่ง ดังนั้น นอกจากโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งแล้ว โจทก์ยังมีหน้าที่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วย ซึ่งในคดีนี้เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ข้ามเขตศาลและโจทก์ไม่ไปจัดการนำส่ง จึงต้องเสียเงินค่าพาหนะในการนำส่งให้เจ้าหน้าที่ศาลให้ครบถ้วน การที่โจทก์ไม่นำเงินค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ซึ่งนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าโจทก์ไม่ได้วางเงินค่าพาหนะเพิ่มและศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งรายงานเจ้าหน้าที่ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นเวลา 2 เดือนเศษ และเมื่อนับถึงวันที่นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปีเศษ โจทก์ก็ยังมิได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 72,947.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาค้ำประกันระบุว่ายอมรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการก็หมายความเพียงว่ากรณีทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ นั้น ป.พ.พ. มาตรา 691 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกันประเภทนี้ว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690" คือไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดถือไว้เป็นประกันมาชำระหนี้ก่อน เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 132,947.44 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 72,947.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาค้ำประกันระบุว่ายอมรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการก็หมายความเพียงว่ากรณีทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ นั้น ป.พ.พ. มาตรา 691 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกันประเภทนี้ว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690" คือไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดถือไว้เป็นประกันมาชำระหนี้ก่อน เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 132,947.44 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การตีความขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต้องเคร่งครัดตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความให้ผู้ค้ำประกันรับผิดจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะตีความไปในทางขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เกินเลยไปกว่าข้อความที่ปรากฏชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ภ. วันใดย่อมหมายถึงจำเลยยอมค้ำประกันการทำงานของ ภ. นับแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันนั้นเป็นต้นไป มิใช่หมายความถึงยอมค้ำประกันหนี้ที่ ภ. เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้วก่อนหน้าวันที่จำเลยตกลงยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนหน้าวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกันก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นแล้วก่อนวันทำสัญญา แต่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจากหนังสือค้ำประกันที่มีเงื่อนไข แม้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้อง
ตามคำขอของ ส. ที่ขอให้ธนาคารเจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกัน 20 ฉบับ มีข้อความเช่นเดียวกันว่า ธนาคารเจ้าหนี้ได้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อบุคคลภายนอกเพื่อเป็นประกันหนี้ของ ส. กำหนดเวลาค้ำประกัน 1 ปี ตั้งแต่วันออกหนังสือสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับเป็นต้นไป และปรากฏว่ามีหนังสือสัญญาค้ำประกัน 2 ฉบับ รวม 800,000 บาท เท่านั้นที่มีการเวนคืนหนังสือค้ำประกันแล้ว ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก 18 ฉบับ รวม 13,444,800 บาท ไม่ได้มีการยกเลิกสัญญาหรือเวนคืนหนังสือสัญญาค้ำประกัน ธนาคารเจ้าหนี้จึงยังคงผูกพันต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจำนวน 18 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคหนึ่ง แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารเจ้าหนี้ชำระหนี้แทน ส. ทั้งลูกหนี้ที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาไว้กับธนาคารเจ้าหนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า หากธนาคารเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แทน ส. ไป ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ภายในวงเงินไม่เกิน 15,000,000 บาท ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำไว้กับธนาคารเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ธนาคารเจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2543 มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินปลอม การกู้เงินจริงไม่ตรงตามจำนวนที่ระบุในสัญญา ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลัง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวและแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 ฎีกายกเหตุดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, ดอกเบี้ยผิดสัญญา, และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์จริง เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่ได้ปิดแสตมป์หรือเสียอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 5 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้แล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งร่วมกับจำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งตามสัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และในสัญญาข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้ จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์เท่านั้น มิใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้แล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งร่วมกับจำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
ในการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีทโจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งตามสัญญาทรัสต์รีซีทในข้อ 4 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ เกี่ยวกับหนี้ทรัสต์รีซีท และในสัญญาข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4 เมื่อตามสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดได้เพียงตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวข้างต้นเป็นกรณีระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 นี้ จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของโจทก็ตาม ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ฉะนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศของโจทก์เท่านั้น มิใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ข้อ 3 (4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทรัสต์รีซีทต่อเนื่องจาก L/C ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หนี้เดิมไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
การที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าขนส่งมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อนได้ทันที จำเลยที่ 1 จึงขอทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ด้วยการขอรับสินค้าไปก่อนแล้วจะชำระราคาภายในวันที่กำหนดไว้ ซึ่งสินค้าตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวก็คือสินค้าที่ขอให้โจทก์ชำระเงินแทนตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั่นเอง สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทำความตกลงกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต อันถือว่าสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่ทำต่อเนื่องจากคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นเรื่องที่คู่สัญญามีเจตนาจะก่อหนี้ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในมูลหนี้เดิมแต่อย่างใด คงเป็นมูลหนี้ในประเภทและจำนวนเดียวกัน มูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงไม่ระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ค่าซื้อสินค้าที่โจทก์ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและต่อมาทำสัญญาทรัสต์รีซีทไว้ ในฐานะที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต