คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 680

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 723 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงานที่ครอบคลุมตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลง และความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ทุจริต
จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งขณะที่เข้าทำงานกับโจทก์และตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะมีการโยกย้ายในภายหน้าด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะเลื่อนตำแหน่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ทำความเสียหายแก่โจทก์ และผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 และ 686

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการยื่นฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาชี้ว่าการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดในอนาคตของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 อาจรับผิดไม่เต็มจำนวนหนี้ก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระเงินให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าหากยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดลดลงจำนวนเท่าใดก็ให้นำมาหักจากยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องรับผิดตามคำพิพากษาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ แม้ทรัพย์จำนองมีราคาไม่เพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้
หนี้ตามคำพิพากษาคำนวณถึงวันที่โจทก์ขอยึดที่ดินพิพาททั้งต้นและดอกเบี้ยรวมมากกว่า 10,000,000 บาท แต่ทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงมีราคาตามราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมไม่ถึง 1,000,000 บาท ที่ดินพิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดิน 98,119,440 บาท แม้ปัจจุบันเป็นชื่อจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยที่ 3 รับมรดกมาจากผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม ที่ดินจึงอยู่ในขอบเขตที่อาจถูกบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่การยึดทรัพย์ที่ดินพิพาทสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ยึด หากเพิกถอนการยึดโจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์โดยไม่มีการขายอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมจำนวนมาก เนื่องจากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงยังไม่เสร็จสิ้น ก็ยังไม่ทราบจำนวนหนี้ที่เหลือที่จะบังคับคดีต่อไป และนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ และจากสภาพราคาทรัพย์จำนองเป็นที่เห็นได้ว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทรัพย์จำนองเสร็จก็ต้องกลับมายึดที่ดินพิพาทใหม่ การยึดที่ดินพิพาทไว้แต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำที่ดินพิพาทออกขายนั้นไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-การถอนเงินฝาก: สิทธิถอนเงินฝากเมื่อหนี้ลดลง, การยึดถือสมุดคู่ฝากเป็นหลักประกัน
ความในสัญญาข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกัน ผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าธนาคารจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7 เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ธนาคารลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่ธนาคารประเมิน ซึ่งข้อเท็จจริงยุติว่าหนี้ของผู้กู้ลดลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน และจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบนั้น ย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยเอง จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีประเด็นอันเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอันจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและการถอนเงินฝากตามเงื่อนไขสัญญา การวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติม
จำเลยทราบอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบ และสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสามจึงไม่มีเหตุที่จะรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้
ตามสัญญาค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันผู้กู้ต้องฝากเงินประเภทฝากประจำต่อธนาคารจำเลยเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีเงินฝากในข้อ 6 กับบัญชีเงินฝากในข้อ 7 สำหรับเงินฝากในข้อ 6 ไม่มีข้อความให้โจทก์ถอนคืนได้ ส่วนเงินฝากในข้อ 7 กลับระบุให้โจทก์ถอนคืนได้เมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้จำเลยลดลงไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมิน เมื่อตามสัญญาค้ำประกันได้แยกบัญชีเงินฝากทั้งสองไว้เป็นที่เด่นชัด การฝากและถอนคืนเงินฝากจึงต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในแต่ละบัญชี ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่อาจถอนคืนเงินฝากในข้อ 6 โดยอาศัยเงื่อนไขในเงินฝากข้อ 7
ความในสัญญาค้ำประกันข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกันผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 7 ให้ธนาคารจำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมินดังนั้น เมื่อหนี้ของผู้กู้ลดลงตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นให้ไว้แก่โจทก์มีจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 118 แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นเพียงเอกสารลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 118 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าปรับในสัญญาจ้างแรงงาน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ข้อตกลงที่ลูกจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับให้แก่นายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นข้อตกลงในทางแพ่งโดยทั่วไปซึ่งนายจ้างและลูกจ้างสามารถทำข้อตกลงดังกล่าวได้ และค่าปรับก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเบี้ยปรับคือเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า หากสูงเกินส่วนศาลก็ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายพร้อมค่าปรับจำนวน 5 เท่า ของราคาทรัพย์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เอกสารปลอมในคดีกู้ยืมเงิน: น้ำหนักพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของจำเลย
การที่คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 นั้นต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็น หรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ เมื่อประเด็นแห่งคดีมีว่า สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งจำเลยได้ถามค้านพยานโจทก์ถึงความไม่ถูกต้องของการทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องไว้แล้ว การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลและสำเนาสัญญากู้ยืมเงินก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความประพฤติของโจทก์ในการเขียนสัญญากู้ยืมเงิน อันเป็นการสืบตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ มิใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงถ้อยคำของพยานโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ของตนได้ แม้จะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ในข้อนี้ไว้ก็ตาม กรณีมิใช่การจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์แต่อย่างใด จำเลยไม่จำต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาจ้างซ่อมแซม: หลักประกัน, ค่าปรับ, ค่าควบคุมงาน และการหักกลบ
สัญญาที่โจทก์จ้างจำเลยตรวจซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบุว่า "ในขณะทำสัญญาผู้รับจ้าง (จำเลย) ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันความรับผิดตามสัญญาของธนาคาร ท. ภายในวงเงินร้อยละห้าของเงินค่าจ้างตามสัญญาเป็นเงิน 44,405 บาทมอบให้แก่ผู้ว่าจ้าง (โจทก์) เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา" ดังนั้น เงินตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่จำเลยมอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญา และหากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอย่างน้อยก็คือเงินที่เป็นหลักประกันนั่นเอง เงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอื่นอีก กรณีต้องนำเงินที่ธนาคาร ท. ส่งมาไปหักกับค่าเสียหายนั้นก่อนในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
of 73