คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1749

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก และการบังคับให้แบ่งทรัพย์สินร่วม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไป แม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิพากษาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้ 1 ส่วน ใน 5 ส่วน การแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วน อันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก 1 ส่วน ใน 5 ส่วน และจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก & ศาลต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์มรดกตามสัดส่วนเมื่อทายาทไม่ยินยอม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช.เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในการเรียกร้องแบ่งมรดก: ห้ามเรียกร้องแทนผู้อื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 และมาตรา 1749 วรรคแรก ให้สิทธิทายาทที่จะฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ตามส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับและหากไม่ได้ฟ้องคดีเองก็มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้าไปรักษาสิทธิของตนได้ด้วยตนเอง แต่ไม่ได้ให้สิทธิทายาทที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องมรดกสืบแทนและการร้องสอดคดีแบ่งมรดกของผู้มีสิทธิรับมรดก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและ ครอบครองทรัพย์มรดกแบ่งทรัพย์ในกองมรดกให้ และคดีอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องผู้มีสิทธิรับมรดกที่มีอยู่ ในกองมรดกก็ มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้ ผู้ร้อง ย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(1) และ ป.พ.พ. มาตรา 1749 ศาลชั้นต้น จะยก คำร้องสอดอ้างว่าทำให้คดีล่าช้าไม่สะดวกแก่การพิจารณา พิพากษาหาได้ไม่ แม้ว่าผู้ร้องจะชำระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระยะเวลาหรือเงื่อนไข ที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงจะมีอำนาจสั่งไม่รับคำร้องสอดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยการสืบแทนและการร้องสอดคดีแบ่งมรดก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและครอบครองทรัพย์มรดกแบ่งทรัพย์ในกองมรดกให้ และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องผู้มีสิทธิรับมรดกที่มีอยู่ในกองมรดกก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องสอดอ้างว่าทำให้คดีล่าช้าไม่สะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่ แม้ว่าผู้ร้องจะชำระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนด ศาลชั้นต้นจึงจะมีอำนาจสั่งไม่รับคำร้องสอดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกเฉพาะส่วน: ศาลพิพากษาตามสัดส่วนทายาท ไม่ถือว่าเป็นการโอนทรัพย์ให้ทายาทอื่น
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินเฉพาะส่วนของตน การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 18 ส่วน โดยคำนวณจากจำนวนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพื่อกำหนดส่วนแบ่งของโจทก์ตามฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยโอนหรือแบ่งทรัพย์พิพาทให้ทายาทอื่นด้วย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและขอบเขตคำขอ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินเฉพาะส่วนของตน การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 18 ส่วน โดยคำนวณจากจำนวนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพื่อกำหนดส่วนแบ่งของโจทก์ตามฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยโอนหรือแบ่งทรัพย์พิพาทให้ทายาทอื่นด้วย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องสืบพยานประเด็นทายาทอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่ หากยังไม่ยุติ ศาลมิอาจงดสืบพยานได้
คดีก่อนโจทก์กับพวกฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกออกจากที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทคดีนี้ ประเด็นในคดีก่อนมีว่า โจทก์กับพวกมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่ แต่คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทจากจำเลย ประเด็นมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งร่วมกับจำเลยหรือไม่เพียงใด ประเด็นวินิจฉัยคดีทั้งสองมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่ง อ้างว่าทายาทอื่นไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกรายนี้แล้วคงเกี่ยวข้องเฉพาะโจทก์จำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกไปแล้ว และส่วนที่เหลือตกได้แก่จำเลยกับทายาทอีกคนหนึ่งดังนี้แสดงว่า นอกจากโจทก์จำเลยแล้ว มีทายาทอื่นยังประสงค์ขอรับส่วนแบ่งที่ดินมรดกด้วยซึ่งถ้าหากเป็นความจริง ส่วนแบ่งในที่ดินมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับย่อมต้องลดลงข้อเท็จจริงยังฟังเป็นยุตไม่ได้ การที่ศาลสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกครึ่งหนึ่งตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากการประสบอันตรายในการทำงานเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้ว ยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างโดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานเพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรงมิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้ว ในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือน การผิดนัดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนจากการประสบอันตราย/เจ็บป่วยเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง ในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้วยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้าง โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน เพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรง มิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้วในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนการผิดนัดของจำเลย ย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน
of 6