คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1749

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังขายทอดตลาด: ผู้อ้างสิทธิใหม่ต้องฟ้องคดีใหม่ ไม่สามารถแทรกแซงคดีเดิมได้
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย. และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ. ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว. ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง. และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิม.ไม่.ยินยอม. หาได้ไม่. เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว.
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไร.หรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกหลังบังคับคดี: บุคคลภายนอกไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาถึงที่สุดได้
ทรัพย์ซึ่งคู่ความในฐานะทายาทพิพาทกันอ้างว่าเป็นมรดกของผู้ตาย และคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันในระหว่างคู่ความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในชั้นบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ บุคคลภายนอกจะร้องขอเข้ามาในคดีอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอยู่ครึ่งหนึ่ง และขอรับเงินส่วนแบ่งจากการขายทอดตลาดโดยคู่ความเดิมไม่ยินยอม หาได้ไม่ เพราะเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นตั้งประเด็นขึ้นใหม่พิพาทกับคู่ความเดิมเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
หากบุคคลภายนอกมีสิทธิในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดอย่างไรหรือถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายประการใด ก็ชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระ และสิทธิของภริยาผู้รับมรดกแทนที่
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระภิกษุ และสิทธิการครอบครองมรดกของทายาทที่ไม่ได้ร่วมครอบครอง
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คนบุตรของ จ. ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ. ข. ตายหลัง จ. ข. มรดกของ จ. ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดก ของ ก. นั่นเองโจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปี แล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดกคงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมาโจทก์ ทั้ง3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่าๆกันจึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะทายาทที่ฟ้อง: ศาลแบ่งตามสิทธิที่โจทก์ควรได้ ไม่ใช่การกันส่วนไว้
ทายาทมี 3 คน แต่ทายาทที่มาฟ้องขอแบ่งมรดกมี 2 คนเท่านั้น ดังนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 3 เท่านั้น เพราะเป็นการแบ่งให้ตามสิทธิที่โจทก์แต่ละคนคนควรจะได้ หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1749 ไม่ อ้างฎีกาที่ 821/2491.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะทายาทที่ฟ้องร้อง: สิทธิส่วนแบ่งตามจำนวนทายาทที่เข้าร่วม
ทายาทมี 3 คน แต่ทายาทที่มาฟ้องขอแบ่งมรดกมี 2 คนเท่านั้นดังนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 3 เท่านั้นเพราะเป็นการแบ่งให้ตามสิทธิที่โจทก์แต่ละคนควรจะได้ หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 ไม่ อ้างฎีกาที่ 821/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกไม่ระงับแม้ไม่ร้องสอดคดีก่อน และสิทธิทายาทอื่นย่อมมีผล
การที่โจทก์ไม่ร้องสอดขอแบ่งมรดกเข้ามาในคดีก่อนซึ่งจำเลยเป็นคู่ความเกี่ยวกับมรดกรายเดียวกันอยู่นั้น ไม่เป็นเหตุตัดสิทธิโจทก์จะฟ้องขอแบ่งมรดกนั้นในคดีหลังภายในอายุความ
เมื่อปรากฎว่ายังมีทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเช่นเดียวกับโจทก์อยู่อีกคนหนึ่ง การที่ทายาทผู้นั้นนิ่งเฉยอยู่ จะถือว่าทายาทผู้นั้นสละมรดกหาได้ไม่ และจะแบ่งโดยเอาส่วนของทายาทผู้นั้นไปให้แก่โจทก์ไม่ได้ โจทก์คงได้ส่วนแบ่งแต่เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
(อ้างฎีกาที่ 391/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกไม่ระงับ แม้มิได้ร้องสอดคดีก่อน และทายาทอื่นยังไม่สละสิทธิ
การที่โจทก์ไม่ร้องสอดขอแบ่งมรดกเข้ามาในคดีก่อนซึ่งจำเลยเป็นคู่ความเกี่ยวกับมรดกรายเดียวกันอยู่นั้นไม่เป็นเหตุตัดสิทธิโจทก์จะฟ้องขอแบ่งมรดกนั้นในคดีหลังภายในอายุความ
เมื่อปรากฏว่ายังมีทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเช่นเดียวกับโจทก์อยู่อีกคนหนึ่งการที่ทายาทผู้นั้นนิ่งเฉยอยู่จะถือว่าทายาทผู้นั้นสละมรดกหาได้ไม่และจะแบ่งโดยเอาส่วนของทายาทผู้นั้นไปให้แก่โจทก์ไม่ได้โจทก์คงได้ส่วนแบ่งแต่เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น(อ้างฎีกาที่391/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทร้องสอดคดีมรดกต้องยื่นในศาลชั้นต้นเท่านั้น
ทายาทที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีขอแบ่งส่วนมรดกนั้น จะต้องร้องเข้ามาเสียตั้งแต่คดีอยู่ในศาลชั้นต้น จะมาร้องชั้นศาลอุทธรณ์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีมรดกต้องกระทำในศาลชั้นต้น
ทายาทที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีขอแบ่งส่วนมรดกนั้นจะต้องร้องเข้ามาเสียตั้งแต่คดีอยู่ในศาลชั้นต้นจะมาร้องชั้นศาลอุทธรณ์ไม่ได้
of 6